พาเที่ยวล่องใต้เมืองไทย แนะนำ 6 สถานที่น่าไปเมืองปัตตานี น่าเที่ยว น่าไป น่าลอง

เมื่อพูดถึง 3 จังหวัดชายแดนใต้ คงไม่มีคนไทยคยไหนไม่รู้จักจังหวัดทั้ง 3 นี้ แต่หารู้ไหมว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคไต้ นั้น เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ของคนใต้ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อพูดถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คงไม่มีคนไทยคยไหนไม่รู้จัก และอาจมีหลายคนที่ไม่กล้าที่จะลงเยี่ยมเยือนจังหวัดทั้ง 3 นี้ แต่หารู้ไหมว่า ที่ปัตตานรมี สถานที่น่าไปเมืองปัตตานี น่าไปซึ่งเปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ของคนใต้  วันนี้เราจึงจะพาลงใต้ไปชม 6 สถานที่น่าไปเมืองปัตตานี เมืองเก่าอย่างปัตตานีกัน ที่ปัตตานีจะมีที่ไหนน่าไปบ้างตามไปดูกันเลย

 

ปัตตานี เป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่งได้สั่งสมความรุ่งเรืองมายาวนาน คือจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เพียบพร้อมด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เช่น มัสยิดกรือเซะ สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และพื้นที่ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งผืนป่า สายน้ำ และท้องทะเล

จังหวัดปัตตานี แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอหนองจิก อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอยะรัง อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน

 

1. เมืองโบราณยะรัง ชุมชนสมัยแรกเริ่ม ประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย

เมืองโบราณยะรัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เปิดประตูกาลเวลา กลับไปสู่ชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย และเชื่อว่าที่นี่คือที่ตั้งอาณาจักรโบราณ "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่มีหลักฐานปรากฏในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ ทั้งนี้ ลักษณะของเมืองโบราณยะรัง สันนิษฐานว่า มีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร และเป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง โดยขยายตัวเชื่อมต่อกันซึ่งประกอบไปด้วย เมืองโบราณบ้านวัด มีศูนย์กลางเป็นลานจัตุรัสกลางเมือง ล้อมรอบด้วยคูน้ำ และมีซากเนินดินโบราณสถาน กระจายอยู่โดยรอบกว่า 25 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือ ในบริเวณพื้นที่บ้านจาเละ เมืองโบราณบ้านจาเละ มีศูนย์กลางอยู่ที่สระน้ำ ที่โอบล้อมด้วยคูเมืองรูปสี่เหลี่ยม ถัดจากกลุ่มโบราณสถานบ้านวัดขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร เมืองโบราณบ้านปราแว เป็นเมืองคูน้ำคันดินขนาดเล็กที่มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ามีป้อมดินทั้ง 4 มุมเมือง และมีคลองส่งน้ำต่อเชื่อมกับคูเมืองโบราณบ้านจาเละสี่มุมเมืองด้านทิศเหนือทั้ง 2 ด้าน นอกจากร่องรอยของคูน้ำ คันดินคูเมืองโบราณทั้ง 3 แห่งแล้ว ภายในกลุ่มเมืองโบราณนี้ ยังพบซากโบราณสถานเนินดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 แห่งหากสนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : เที่ยวทะเลยังไง ให้ไม่ถึงทะเล รวมรีสอร์ท และ โรงแรมที่มีสวนน้ำ ของตัวเอง

 

2. วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)

วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)

ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมือง 31 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปี ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 สายปัตตานี-โคกโพธิ์ ผ่านสามแยกนาเกตุ ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ผ่านชุมชนเทศบาลนาประดู่และศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) ไปจนถึงทางแยก เพื่อเข้าสู่วัดช้างให้อีก 700 เมตร หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและท่านมีเมตตาธรรมเป็นอย่างสูง เล่ากันว่า ครั้งที่ท่านเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางเกิดพายุ จนกระทั่งอาหารและน้ำดื่มตกลงทะเล ลูกเรือรู้สึกกระหายน้ำมาก หลวงปู่ทวดจึงได้แสดงเมตตาหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำในบริเวณนั้นได้กลายเป็นน้ำจืดและดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อของท่านก็เป็นที่รู้จักทั่วไป ต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซีย แล้วได้นำศพกลับมาที่วัดช้างให้ และมีการจัดงานสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดเป็นประจำทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. วัดมุจลินทวาปีวิหาร

วัดมุจลินทวาปีวิหาร

ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ริมเส้นทางหลวงสายปัตตานี-โคกโพธิ์ ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองจิก

วัดเก่าแก่ที่สร้างเมื่อครั้งที่พระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจิกจากที่เก่า มาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ พ.ศ. 2388 และวัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดตุยง นั่นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองหนองจิก ได้โปรดเกล้าฯ บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ แล้วทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดมุจลินทวาปีวิหาร" ปัจจุบันวัดนี้จัดเป็นอารามหลวงที่ได้รับการบูรณะพระอุโบสถให้ดูสวยงามอยู่เสมอ โดยจุดเด่นของวัดคือวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส 3 องค์ โดยเฉพาะพระราชพุทธรังษีหรือหลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 นั้น เป็นที่เลื่องลือถึงคุณความดีของท่าน จนมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมาสักการะบูชาอยู่ไม่ขาดสาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 10 ทะเลระยอง หาดระยอง เที่ยวทะเลระยอง ทะเลใกล้กรุงเทพ

 

4. วัดทรายขาว

วัดทรายขาว

วัดทรายขาว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2300 ภายในวัดมีเจดีย์พระครูธรรมกิจโกศล (พ่อท่านนอง ธมฺมภูโต) อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระเถระที่มีจริยวัตรงดงามเปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม มากด้วยบารมี สมถะและเรียบง่าย

 

5. บ้านปะเสยะวอ

บ้านปะเสยะวอ

ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปะเสยะวอ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือ กอและ ซึ่งเป็นเรือประมงของชาวปัตตานีและนราธิวาส

หากอยากชมความงามในเอกลักษณ์พื้นถิ่นของเรือกอและ ต้องเดินทางมาที่หมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการต่อเรือกอและอันเป็นเรือประมงของชาวปัตตานีและนราธิวาส เรือกอและนั้น มีลักษณะเป็นเรือหัวแหลมท้ายแหลม ที่ชาวบ้านจะระบายสีสันสวยสดงดงาม และเรือกอและของชาวบ้านปะเสยะวอ ก็มีทั้งขนาดใหญ่ที่เป็นเรือประมงจริง ๆ และขนาดเล็กที่จำลองขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่ระลึก ซึ่งฝีมือการต่อเรือกอและของบ้านปะเสยะวอนั้นได้รับการยอมรับในเรื่องของประณีตงดงาม ด้วยลวดลายที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างศิลปะไทยและมุสลิม และไม่เพียงเรือกอและที่สร้างชื่อให้กับหมู่บ้านเท่านั้น น้ำบูดูจากบ้านปะเสยะวอก็จัดว่าเป็นบูดูของภาคใต้มีรสชาติเยี่ยมด้วยเช่นกัน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : รวม 10 ที่เที่ยวเมืองชุมพร ที่เที่ยวทะเลไกล้กรุง ที่หลายคนอาจมองข้าม

 

6. วังเก่ายะหริ่ง

วังเก่ายะหริ่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ฉลุ เป็นลวดลายพรรณพฤกษา ตามแบบศิลปะชวาและศิลปะแบบตะวันตก

วังยะหริ่งสร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงครามในปี พ.ศ.2438 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลยามู ในเขตจังหวัดปัตตานี ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิมผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U) ชั้นบนภายในอาคาร จัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของ เจ้าเมืองและบุตรธิดาข้างละ 4 ห้อง ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน ลักษณะเด่นของบ้านคือ บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ ฉลุเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ตามแบบศิลปะชวาและศิลปะแบบตะวันตก ทำให้ตัววังสง่างามมาก ในปัจจุบันวังยะหริ่งได้รับ การดูแลจากเจ้าของวังเป็นอย่างดี โดยมีการบูรณะครั้งหลังสุดเป็นปลายปี พ.ศ.2541 ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์ วังเก่ายะหริ่ง เป็นหนึ่งในอดีตหัวเมืองสำคัญของดินแดนมลายูที่ยังคงเก็บเรื่องราวเล่าขานสืบสานประวัติศาสตร์จากบรรพชนสู่ลูกหลานเมืองปัตตานีผ่านสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าวังเก่ายะหริ่ง จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อคนมลายูปัตตานีซึ่งในฐานะลูกหลานมลายูปัตตานี เราควรอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอันเป็นมรดกที่ล้ำค่านี้ให้อยู่คู่กับชาวมลายูปัตตานีสืบไป

 

ที่มา : (tourismthailand)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนําสถานที่ท่องเที่ยว หน้าฝนไปทะเลที่ไหนไม่เจอมรสุม

รวม 10 ที่เที่ยวเมืองชุมพร ที่เที่ยวทะเลไกล้กรุง ที่หลายคนอาจมองข้าม

บทความโดย

sippanutpick