5 ประโยชน์จากโกรทฮอร์โมนที่ดีต่อเด็กและผู้ใหญ่

การมีสุขภาพที่ดีเป็นเรื่องที่น่ายินดี และยิ่งถ้าเราทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงง่ายๆ เพียงแค่การนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่เพื่อให้โกรทฮอร์โมนได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ …ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประโยชน์จากโกรทฮอร์ที่ดีต่อร่างกายเด็กและผู้ใหญ่ มาฝากกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ยังมีอีกหลายคนที่อาจสงสัยว่าโกรทฮอร์โมนนอกจากจะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตแล้ว โกรทออร์โมนยังมีดีในเรื่องอะไรได้อีกบ้าง และเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน ที่ยังมีประโยชน์และสำคัญกับร่างกายของเด็กและผู้ใหญ่ ดังนี้

 

1. โกรทฮอร์โมนกับเด็ก หากเด็กๆ ได้นอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้โกรทฮอร์โมนกระตุ้นให้ตับหลั่ง IFG-I (Insulin-like Growth factor-I) ซึ่ง IGF-I จะกระตุ้นเซลล์กระดูกอ่อน (Cartilage cell or chondrocyte) ทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์กระดูกอ่อน และยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อที่ปลายดูกอ่อน (Epiphyseal plate) โดยกระตุ้นการขนถ่ายกรดอะมิโนในการสร้างโปรตีนที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ (Hyperplasia) และขยายขนาด (Hypertrophy) เพิ่มขึ้น จึงทำให้เด็กมีโอกาสสูงได้เพิ่มขึ้น2

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. โกรทฮอร์โมนกับการชะลอวัย เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไปร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โมนลดลง 14% และจะลดลงในทุก 10 ปี ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง นอนไม่หลับ  ร่างกายมีไขมันสะสมเพิ่มขึ้น  และมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น  แน่นอนว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นส่งผลให้ร่างกายมีการผลิตโกรทฮอร์โมนได้ไม่เต็มที่  จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับอาหารเสริมให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้เพิ่มขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้ชะลอการเสื่อมของร่างกายได้ช้ากว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน2,4

 

3. โกรทฮอร์โมนกับสมรรถภาพทางเพศ คู่รักที่มีปัญหาสมรรถภาพเสื่อม ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่โกรทฮอร์โมนผลิตน้อยลง ซึ่งพบว่าหากร่างกายได้รับอาร์จินีน ออร์นิทีน กลูตามีนและไลซีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับหลอดเลือดในการผลิตสารไนตริกออกไซด์และช่วยผลิตโกรทฮอร์โมน พบว่ามีผลช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด มีผลกระตุ้นให้การผลิตไนตริกออกไซด์จากหลอดเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศและการแข็งตัวดีในผู้ชาย  ส่วนผู้หญิงก็จะทำให้สารคัดหลั่งในบริเวณต่างๆ ทำงานได้เป็นปกติ2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

4. โกรทฮฮร์โมนกับกระบวนการเผาผลาญอาหาร โกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นการสังเคาระห์โปรตีน ลดปฏิกิริยาเผาผลาญโปรตีนและสามารถนำกรดอะมิโนมาใช้เพิ่มมากขึ้น โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ดี2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. โกรทฮอร์โมนกับการนอนหลับ โกรทฮอร์โมนจะช่วยให้คนทุกวัยหลับได้สนิทมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่าสมบูรณ์ แต่การที่ต้องตื่นกลางดึกหรือนอนหลับแบบหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน ก็จะส่งผลให้ร่างกายผลินโกรทฮอร์โมนได้น้อยลง ซึ่งหากได้มีการเสริมสารอาหารที่ช่วยเสริมให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนเพิ่มขึ้นก็จะช่วยทำให้กระบวนการหลับดีขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ2

 

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าโกรทฮอร์โมนจะหลั่งได้ดีและมีประสิทธิภาพต่อร่างกาย ต้องมาจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างสนิทและเพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับให้เร็วในแต่ละวัน เพราะถ้านอนดึกจะส่งผลให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งในปัจจุบันพบว่าการทานอาหารเสริมในรูปแบบของกรดอะมิโนเพื่อเสริมสร้างโกรทฮอร์โมนก่อนนอนจะช่วยให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้เพิ่มขึ้นขณะนอนหลับ ซึ่งจุดเด่นของกรดอะมิโนที่ว่านี้จะช่วยเสริมการสร้างโกรทฮอร์โมนและไนตริกออกไซต์ให้กับร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังช่วยเสริมความสูงในเด็กได้ตามธรรมชาติเมื่อรับประทานร่วมกับการออกกำลังกายค่ะ

 

เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารเสริมเพิ่มโกรทฮอร์โมน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.megawecare.co.th 

หรือสามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาสุขภาพกับเภสัชกรได้ที่แอพพลิเคชั่น Line@ : @megawecare 

 

References

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2Isidori A, Lo Monaco A, Cappa M. A study of growth hormone release in man after oral administration of amino acids. Curr Med Res Opinion. 1981;7:475.

4Suminski RR, Robertson RJ, Goss FL, Arslanian S, Kang J, DaSilva S, Utter AC, Metz KF. Acute effect of amino acid ingestion and resistance exercise on plasma growth hormone concentration in young men. Int J Sport Nutr. 1997;7(1):48-60.

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team