5 สิ่งที่ คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องรู้ เพื่อยกระดับการดูแลตัวเอง

เพราะร่างกายที่เปลี่ยนแปลง และทำงานหนักขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องดูแล เอาใจใส่ตัวเองเป็นพิเศษมากกว่าเดิม ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงให้นมบุตร เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม อาหาร หรือ สารอาหารต่างๆที่รับประทานเข้าไปจะต้องช่วยยกระดับการดูแลทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์ให้ได้มากกว่าเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องรู้มีอยู่ 5 ข้อสำคัญ คือ

1.ร่างกายส่วนต่างๆ ทำงานหนักขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เพื่อรองรับการตั้งครรภ์ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้าน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจรวมถึง ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อของร่างกาย การเตรียมความพร้อมของร่างกายให้แข็งแรงก่อนการตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

2.หัวใจเต้นเร็วขึ้น 10-20 ครั้ง/นาที

เมื่อเทียบกับการออกกำลังกาย อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นนี้ อาจสูงขึ้นได้อีก ถ้ามีปัจจัยกระตุ้น เช่น การออกกำลังกาย, ความเครียด, การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือการได้รับยาบางอย่าง เป็นต้น การที่มีหัวใจเต้นเร็วกว่าภาวะปกติ อาจจะทำให้ คุณแม่ตั้งครรภ์ บางท่านมีภาวะใจสั่น ขณะออกแรง หรือออกกำลังได้ จึงไม่ควรหักโหมทำกิจกรรมที่ทำให้เหนื่อยจนเกินไป และพักเมื่อรู้สึกว่าร่างกายไม่อำนวย

3.หัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากถึง 5 ล้านลิตร

ในระยะ 9 เดือน ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเพิ่มปริมาตรของเลือด (น้ำเลือด) อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 45% ของปริมาตรเลือดก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น คุณแม่จึงควรเช็คสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ และดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป และเลือกกินอาหารและนมที่มีโฟเลท ธาตุเหล็ก รวมทั้งสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นกับร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์

4.ต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยทั้งหมด 10-15 ก.ก.

ในระยะเวลา 9 เดือนน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เกิดจาก น้ำหนักของทารก, น้ำหนักของมดลูก รก และน้ำคร่ำ, น้ำหนักของปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้น และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์นั่นเอง น้ำหนักตัวที่เพิ่มนี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณแม่มีอาการปวดบริเวณ เอว, หลัง, ขาหนีบ, ขา หรือหัวเข่าได้ สิ่งสำคัญ คือ การควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากจนเกินไป เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ร่างกาย และยังเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกด้วย

5.เซลล์สมองของลูกน้อยเริ่มพัฒนาตั้งแต่วันที่ 28 ของการตั้งครรภ์

ทารกในครรภ์ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกๆวัน ไม่ว่าจะทางด้านร่างกาย หรือเซลล์สมอง เซลล์สมองของทารกเริ่มพัฒนาตั้งแต่วันที่ 28 ของการตั้งครรภ์ และมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาส 3 และหลังคลอด การดูแลเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม โดยเน้นที่คุณภาพของอาหาร (สารอาหาร) ที่คุณแม่รับประทาน จะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับการบำรุงอย่างเต็มที่ และทำให้น้ำนมแม่มีคุณภาพดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาของเซลล์สมองของทารกในครรภ์

แกงกลิโอไซด์ (GA:Ganglioside)

เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมองบริเวณเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองมีประสิทธิภาพ ทำให้เรียนรู้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อระดับสติปัญญาของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดีเอชเอ (DHA)

เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เยื่อหุ้มเซลล์ ป้องกันไม่ให้ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆปล่อยสารเข้าออกมากเกินไป ช่วยให้การทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ให้เป็นไปอย่างสมดุล สิ่งสำคัญคือ ช่วยในการพัฒนาสมอง และสายตาให้มีพัฒนาการที่ดี

จุลินทรีย์สุขภาพ (DR10)

คือจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ช่วยการทำงานของระบบลำไส้ ช่วยให้ร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โฟเลท (Folate)

มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง และมีส่วนสำคัญ ในการสร้างหลอดประสาทและสมองที่สมบูรณ์ของทารก

แคลเซียม (Calcium)

ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ทารกในครรภ์จำเป็นต้องใช้แคลเซียมในการสร้างกระดูก ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมสูงถึง 1,000-1,200 มิลลิกรัม ต่อวัน

ใยอาหาร ( Fiber)

การรับประทานกากใยอาหารอย่างเพียงพอ จะช่วยเพิ่มเนื้ออุจจาระ ส่งผลอุจจาระอ่อนนุ่ม ทำให้การขับถ่ายเป็นปกติ, ป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้

 

ดังนั้น การดื่มนม สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มี GA, DHA & SA และสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ อาทิเช่น แคลเซียม และโฟเลท ในปริมาณที่เหมาะสม  จึงเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับการ ดูแลให้กับคุณแม่นั่นเอง

เขียนโดย สูตินรีแพทย์ แพทย์หญิง ปนัดดา บรรยงวิจัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพจคนท้อง ก็ต้องสวย by หมอนุ่น

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team