ลูกกินยากอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
พฤติกรรมลูกกินยากอาจเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก
- เกิดจากพฤติกรรมการกินของลูก เช่น เขี่ยอาหารทิ้ง กินอาหารน้อยเกินไป และเลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบ ทั้งนี้พบว่าอาหารที่ลูกไม่ชอบรับประทานมากที่สุดคือ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักบุ้ง บร็อคโคลี คะน้า รองลงมาคือผักมีสี เช่น มะเขือเทศ แครอท ฟักทอง รวมทั้งหัวหอม อาหารทะเล ตับและเครื่องในสัตว์ ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งของสารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินอี เหล็ก และโฟเลต ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อในร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยต่างๆ
- เกิดจากความเร่งรีบในแต่ละวันทำให้มีเวลาไม่เพียงพอในการเตรียมอาหารเอง อีกทั้งไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารที่โรงเรียนของลูกได้
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ลูกน้อยอาจได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
วิธีแก้ปัญหาลูกกินยากที่คุณแม่ฉลาดเตรียมให้
- ควรงดของว่าง นม หรือน้ำผลไม้ ก่อนมื้ออาหารประมาณ 3-4 ชั่วโมง
- ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะกินอาหารพร้อมๆ กัน เริ่มต้นตักอาหารให้ลูกน้อยๆ แล้วค่อยๆ เติม โดยพ่อแม่กินอาหารเหมือนกับที่ลูกกินด้วย เช่น ผัดผัก แกงจืด เพื่อให้ลูกได้มองเป็นตัวอย่าง
- ปล่อยให้ลูกลองช่วยเหลือตัวเองเวลากิน ให้ลูกหยิบจับอาหาร โดยคุณแม่อาจยอมปล่อยให้เลอะเทอะบ้าง เพื่อเป็นการให้ลูกสนุกกับอาหารตรงหน้า และรู้สึกไม่เป็นการบังคับให้ลูกกิน
- ชวนลูกให้ลองทำอาหารเมนูง่ายๆ ร่วมกัน นอกจากทำให้ลูกเกิดความสนุกแล้วยังช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากกินขึ้นด้วย
- หากคุณแม่กลัวว่าลูกกินยากหรือกินน้อยจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ควรจัดอาหารเสริมโภชนาการระหว่างวันให้ลูก โดยคุณแม่กว่าครึ่งให้ลูกดื่มนมสำหรับเด็กเพราะเป็นแหล่งอาหารที่ให้สารอาหารที่ครบถ้วนทั้งโปรตีน แคลเซียม วิตามินและแร่ธาตุ ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เติบโตแข็งแรง และเสริมให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง พ่อแม่ควรให้ลูกดื่มนมเป็นประจำวันละ 1-2 แก้วพร้อมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่กัน
การให้ลูกดื่มนม จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับลูกในวัยเจริญเติบโต พ่อแม่ควรเลือกนมสำหรับเด็กให้ลูกดื่มเป็นประจำ เพราะมีโภชนาการที่เหมาะสมและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกเล็ก ตัวอย่างเช่น โอเมก้า 3, 6, และ 9 ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดดีมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาท จอประสาทตาและพัฒนาสมอง วิตามินบี 12 มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกายและสมอง วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ดี