ความปรารถนาที่อยากเห็นลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อยทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยน ท้องเสีย ท้องผูกทุกครั้งที่ได้ลิ้มรองอาหารชนิดใหม่ ๆ หรือมีอารมณ์แจ่มใส เพราะอมโรค คือ สิ่งที่อยู่ภายในหัวใจของผู้เป็นแม่ทุกคน และต่างก็คัดเลือก เสาะหาสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดให้กับลูกน้อย ทั้ง ๆ ที่สุขภาพแข็งแรงของลูกรักนั้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาจากสิ่งสังเคราะห์อื่นใด เนื่องจากหาได้ในธรรมชาติ theAsianparent จึงได้นำเคล็ดลับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยด้วยวิธีธรรมชาติมาแบ่งปันให้คุณแม่ ๆ ได้ทราบกันค่ะ
5 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกรักด้วยวิธีธรรมชาติ
- ดื่มนมแม่ นมแม่ คือ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำไว้ว่า ให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน และหากเป็นไปได้ให้เลี้ยงด้วยนมแม่ต่อไปอีก 2 ปี
- ในน้ำนมแม่ระยะแรก ที่เรียกว่า น้ำนมเหลือง อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เปี่ยมไปด้วย แลคโตเฟอร์ริน โปรตีน ที่พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ระยะน้ำนมเหลือง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อย เพราะสามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อแบคทีเรียและไวรัสก่อโรคที่บริเวณลำไส้ โดยดึงอนุภาคของธาตุเหล็กที่เชื้อโรคใช้ในการเจริญเติบโตได้
- ในน้ำนมแม่ทุกระยะ อุดมไปด้วย MFGM เยื่อชีวภาพที่ห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ อนุภาคไขมันในนมที่พบในนมแม่ ช่วยทำให้ไขมันสามารถคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพมากกว่า 150 ชนิด ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยแล้ว MFGM สามารถเสริม การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเรา
- MFGM มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และช่องปากของลูกน้อย โดยจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดี ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแบคทีเรียก่อโรคให้อยู่ในปริมาณสมดุล จึงไม่สามารถก่อโรคภัยให้กับลูกได้
- MFGM สามารถยึดเกาะกับผนังเซลล์ภูมิคุ้มกัน หรือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- MFGM ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เช่น มีการศึกษาพบว่า MFGM ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน(1) ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดอาการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน และภูมิแพ้ในเด็ก(2) ได้แก่ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ จาม เป็นต้น
- ดูแลให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อลูกของเรานอนหลับสนิท ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormones ออกมา ทำให้ร่างกายของเขาเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี และในขณะที่หลับอยู่นั้น ร่างกายของพวกเขาจะผลิตฮอร์โมนอีกหนึ่งชนิดที่มีชื่อว่า เมลาโทนิน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ
- ออกกำลังกายตั้งแต่ยังเล็ก แม้เด็กในวัยเบบี๋จะยังไม่สามารถออกกำลังกายในรูปแบบที่ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ แต่ถ้าเราทำให้เขาขยับตัวได้บ่อย ๆ ก็ถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งเช่นกัน จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องกระตุ้นด้วยการเล่นกับพวกเขา ให้เขาได้ขยับตัว ออกกำลังแขนขา ทำให้ลูกน้อยอารมณ์ดีและมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ
- มีสุขอนามัยที่ดี ความสะอาดกับสุขภาพดีเป็นของคู่กัน เรามีบทเรียนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่นอกจากวัคซีนแล้ว การดูแลสุขอนามัยก็เป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยให้ไม่ติดเชื้อได้ ดังนั้นนอกจากจะการดูแลความสะอาดของเสื้อผ้า ของใช้ ของเล่นที่ลูกน้อยต้องสัมผัสบ่อย ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ห้ามลืมการทำความสะอาดสุขอนามัยของตัวเองด้วยนะคะ เช่น ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรักและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เขาเมื่อโตขึ้นด้วยค่ะ
- เสริมโภชนาการที่มีประโยชน์ หากลูกน้อยเข้าสู่ช่วง 6 เดือนขึ้นไป การดูแลให้ลูกได้รับอาหารตามวัยจะเป็นแหล่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างดี ในเนื้อสัตว์จะมีโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายเติบโต คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายและสมอง กรดไขมันมีส่วนสำคัญในการสร้างระบบประสาทและการมองเห็น ผัก ผลไม้จะมีวิตามินและแร่ธาตุที่ส่งเสริมการทำงานของ Growth Hormones คุณแม่ควรให้ลูกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ ห่างไกลจากอาการท้องผูก ซึ่งโภชนาการที่ดี คือ หัวใจสำคัญของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยค่ะ
อย่าลืมว่า สุขภาพของลูก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์กระทั่งเติบโต คุณแม่ คือ คนสำคัญในการวางรากฐานและส่งต่อภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยด้วยสองมือ หากคุณแม่น้ำนมมาน้อย ไม่สามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ หรือมีความกังวลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อโภชนาการที่เหมาะสมกับลูกน้อยนะคะ
นอกจากนี้ การฝึกให้ลูกมีสุขอนามัยที่ดี เช่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน ก็เป็นหนทางที่จะช่วยให้ลูกไม่เจ็บป่วยบ่อยและมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงได้เช่นกัน สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเสริมโภชนาการให้ลูกน้อย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่