#1 ให้ลูกนอนคว่ำหัวจะได้สวย
เด็กทารกนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการได้นอนคว่ำเล่นอย่างมากเมื่อเวลาเขาตื่นขึ้นมา เพราะจะช่วยในด้านพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกวัย 0-6 เดือนได้เป็นอย่างดี เจ้าตัวน้อยจะสามารถพลิกตัว คลาน นั่ง ลุก ยืน และ เดินได้เร็วกว่า เนื่องจาก การนอนคว่ำจะช่วยให้ทารกเรียนรู้ที่จะใช้กล้ามเนื้อคอ แขน ขา และลำตัวในการเคลื่อนไหว และ สามารถควบคุมท่วงท่าต่าง ๆ ได้อย่างสมดุล แต่เมื่อถึงเวลานอน ท่านอนที่เหมาะสม คือ ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง เพื่อป้องกันทารกเสียชีวิตในขณะนอนหลับ (Sids) ซึ่งคำแนะนำนี้เกิดขึ้นหลังจากการสนับสนุนให้เด็กนอนคว่ำมาเป็นเวลาหลายปี ที่ผ่านมาตอนเป็นเด็กเราอาจจะเคยถูกคุณแม่จับนอนคว่ำมาแล้วก็ได้นะ เป็น วิธีการเลี้ยงลูก แบบนึงคะ
Read : ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกน้อย
#2 ไม่มีควรมีหมอนหรือของจุ๊กจิ๊กในเปลนอนทารก
การไม่มีหมอนข้างให้ทารกนั้นเป็นอีกเรื่องที่ป้องกันทารกเสียชีวิตในขณะนอนหลับ (Sids) ซึ่งเวลาที่เด็กทารกนอนอยู่ข้าง ๆ หรือหันหน้าไปข้างหมอนนั้น ลูกอาจจะสูดหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ของตัวเองกลับเข้าไป ดังนั้นจึงไม่ควรมีหมอนบนเปลนอนไม่ว่ามันจะดูน่ารักน่าใช้ขนาดไหนก็ตาม รวมถึงเหล่าบรรดาตุ๊กตาตัวเล็กตัวน้อย เพราะเปลนอนควรเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็กทารก
Read : 7 วิธีลดความเสี่ยงจากการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (SIDS)
#3 เด็กทารกไม่ควรทานน้ำผึ้ง
จริง ๆ แล้วเมื่อตอนเด็ก ๆ เราอาจจะเคยถูกป้อนน้ำผึ้งให้กินมาแล้ว แต่นั้นก็หมายความว่าพวกคุณต้องเป็นเด็กที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไปนะ เพราะการให้เด็กทารกต่ำกว่า 1 ขวบนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
#4 นมแม่มีพอหรือเปล่า
ในตอนเด็ก ๆ พวกคุณอาจจะเคยถูกเลี้ยงมาด้วยนมผงสำหรับทารก ซึ่งเป็นไปได้ว่าในสมัยนั้นคุณแม่จำเป็นต้องทำงานเยอะ และไม่มีสารอาหารที่พร้อมบำรุงนมแม่ได้มากเท่าปัจจุบันนี้ จึงไม่มีโอกาสได้ให้นมแม่กับลูกมากเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าปัจจุบันวิทยาการก้าวหน้าของนมผงจะเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ แต่นมแม่นั้นยังคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารกแน่นอน
Read : ลูกดูดนมแม่จากเต้าไปเรื่อยๆ แบบนี้ จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่มแล้ว
#5 ฉันรักหลานฉัน
แน่นอนว่าลูกคนแรกของคุณ ย่อมเป็นหลานคนแรกของปู่ย่าตายายด้วย ก่อนที่พวกคุณจะพาลูกออกจากบ้าน คุณอาจจะได้ยินเสียงตะโกนออกมาว่า อย่าลืมให้ลูกนั่งคาร์ซีท อย่าได้ลืมที่จะใส่หมวกกันน๊อค หรือเอาโทรศัพท์มือถือไปด้วยในทุกที่ มันเป็นความผูกพันที่แม่ของคุณนั้นจะส่งต่อความรักไปถึงหลานตัวน้อย ๆ ด้วย
เคล็ด(ไม่) ลับ เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ และเป็นคนดี
วิธีการเลี้ยงลูก ไม่ว่าเด็กจะดื้อรั้นเกเรแค่ไหน การเปลี่ยนวิธีรับมือก็สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างที่คุณอาจคาดไม่ถึง ทีม TheAsianparent นำ10 เคล็ด(ไม่) ลับ เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ และเป็นคนดี มาฝากกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับลูกของคุณได้นะคะ
1. อย่าคิดว่าลูกผิด
เรามักโยงพฤติกรรมของเด็กเข้ากับตัวของเขา เช่น ถ้าเด็กไม่เรียนหนังสือ เราก็จะเรียกเขาว่าขี้เกียจ การเหมาว่าเด็กเป็นคนไม่ดีโดยตัดสินจากพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างจะยิ่งทำให้เด็กเชื่อว่าเขาเป็นคนเช่นนั้นจริง ๆ
พ่อแม่ที่ดีจะเชื่อมั่นว่าลูกเป็นคนดี มีเจตนาดี ไม่ได้มีสิ่งใดผิดปกติ และเข้าใจว่าพฤติกรรมดื้อรั้นเกเรเป็นเพียงสิ่งที่สะท้อนออกมาจากความพยายามที่จะให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เราจำเป็นต้องยอมรับในตัวเด็กและค่อย ๆ ให้โอกาสเขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. เข้าใจมุมมองที่แตกต่างของลูก
คุณต้องเข้าใจว่าเด็กมองโลกต่างจากผู้ใหญ่ พวกเขาพูดคนละภาษากับเรา คุณอาจจะคิดว่าคุณกำลังให้คำแนะนำแต่เด็กอาจจะเห็นว่าคุณกำลังบ่น การแสดงความเป็นห่วงในแบบของคุณอาจจะเป็นการบังคับในสายตาของพวกเขาก็เป็นได้
3. เคารพในความคิดของลูก
ก่อนที่จะเราจะสามารถโน้มน้าวให้ใครสักคนเปลี่ยนทัศนคติและยอมรับคำแนะนำได้ เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับมุมมองของเขาเสียก่อน เด็กส่วนใหญ่มักเก็บเรื่องหลาย ๆ เรื่องไว้ในใจ ไม่บอกพ่อแม่ และบางครั้งก็แสดงท่าทีต่อต้านคำแนะนำและความคิดของพ่อแม่อย่างชัดเจน ถ้าคุณอยากให้ลูกพูดคุยอย่างเปิดเผย และฟังคุณ คุณต้องสร้างความเชื่อใจเสียก่อน พยายามใช้ประโยคเช่น “แม่เห็นด้วยว่า…..” “พ่อเข้าใจว่า…..” เมื่อคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าคุณฟังเขา
4. ปรับเปลี่ยนท่าทีและมุมมองของลูกอย่างมีชั้นเชิง
การปรับเปลี่ยนท่าทีและมุมมองของคนโดยไม่ใช้การบีบบังคับถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เมื่อคุณได้สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับลูกและทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณเข้าใจเขาแล้ว ลูกจะเริ่มยอมรับสิ่งที่คุณชี้แนะมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ลูกคุณอาจจะบอกว่า “เรียนไปก็เสียเวลาเปล่า!” คุณอาจจะตอบว่า “ใช่ แม่ก็ว่าเรียนไปก็เสียเวลาเปล่า ถ้าไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำอะไร และอยากเป็นคนไม่เอาไหนให้คนอื่นดูถูก”
5. เริ่มจากตัวคุณ
พ่อแม่หลายคนคิดว่าลูกต้องเป็นฝ่ายเปลี่ยนเพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าลูกจะยอมเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่เขาจะกลับมาทำตัวเหมือนเดิม นั่นเป็นเพราะพ่อแม่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนตัวเองตามนั่นเอง พ่อแม่ที่ดีควรเชื่อว่าตัวเองมีบทบาทสำคัญในการวางกรอบความคิดและพฤติกรรมของลูก พ่อแม่เป็นคนรับผิดชอบต่อการกระทำและทัศนคติที่ไม่ดีของลูก เปลี่ยนมุมมองของคุณ รับฟัง และให้กำลังใจในสิ่งที่ลูกทำได้ดีและถูกต้องเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เมื่อลูกรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เขาจะรู้จักรับผิดชอบในการกระทำของตัวเองมากขึ้น
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
Credit content : www.pullingcurls.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
สิ่งเล็ก ๆ ที่ผู้ใหญ่มองข้าม เพราะอะไรลูกกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน
สตรองขึ้น! 18 ข้อที่บอกได้ว่าพวกคุณไม่ใช่พ่อแม่มือใหม่ต่อไปแล้ว