5 วิธี ช่วยลูกบอกลาของเน่าแบบไม่เสียน้ำตา

“ของเน่า” ของลูกก็คือพวกตุ๊กตา หมอนเน่า ผ้าเน่า ที่ลูกมักชอบใช้เป็นประจำ ติดตัวไปไหนมาไหนด้วยเสมอ จนกลายเป็นของรักของหวงที่ขาดไม่ได้ ถึงแม้ว่าของชิ้นนั้นจะเริ่มเก่าจนได้สถาปนาชื่อว่าเป็น “น้องเน่า” หรือของเน่าไปแล้ว เผลอ ๆ ถ้าคุณแม่เอาไปซักแล้วลูกมองไม่เห็นน้องเน่าของเขาอาจถึงขนาดหงุดหงิด งอแง ร้องไห้เลยก็ว่าได้ เมื่อลูกติดของเน่าทำอย่างไรดี มาดูวิธีแก้ปัญหานี้กันคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ทราบไหมคะปัญหาที่ลูกติด “ของเน่า” อาจเกิดจากการที่เด็กหาที่พึ่งเพื่อสร้างความอุ่นใจไว้ใกล้ตัว ดังนั้นของใช้ใกล้ตัวชิ้นแรกของลูกเช่น หมอน ผ้าห่ม หรือตุ๊กตา จึงเป็นเหมือนตัวแทนความอบอุ่นที่จะให้ความรู้สึกปลอดภัยเหมือนกับการได้อยู่ใกล้คุณพ่อคุณแม่ ในยามที่ต้องห่างกัน เช่น การนอนแยกห้องกับพ่อแม่ เวลาที่พ่อแม่ไปทำงาน หรือเวลาไปโรงเรียนในช่วงแรก ๆ

แต่ถึงแม้ว่าของเน่าเหล่านี้จะเป็นตัวแทนหรือเป็นสิ่งที่ลูกอุ่นใจก็ตาม ผลกระทบจากการติดของเน่าของลูกย่อมมีขึ้นแน่นอน เพราะการใช้งานเป็นเวลานาน อาจทำให้ของเหล่านี้เกิดการหมักหมมของฝุ่น เชื้อรา ทำให้เกิดเชื้อโรค หรือเกิดอาการภูมิแพ้ หากของใช้เหล่านี้ไม่ได้ทำความสะอาดก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพของลูกตามมาได้

ถึงเวลาแล้วเมื่อต้องช่วยลูกบอกลา “ของเน่า”

1.พูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนว่าถึงเวลาแล้วที่ลูกจะไปพาน้องเน่าไปไหนต่อไหน และไม่ควรบังคับให้ลูกเลิกใช้หมอนเน่า หมีเน่า ผ้าเน่า โดยทันที แต่เริ่มสร้างข้อตกลงที่ลูกยอมรับได้ เช่น การไม่นำเอาหมีเน่าของลูกออกนอกบ้านแต่สามารถเล่นภายในบ้านได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.หมั่นสังเกตพฤติกรรมและให้เวลาลูกอย่างใกล้ชิด เพราะพฤติกรรมที่ลูกติดของมากเกินไปอาจมีปัญหาที่เราไม่คาดคิดแฝงอยู่ เช่น ภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากครอบครัว หรือการถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนที่โรงเรียน เป็นต้น

3.ส่งเสริมกิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกเล่น กระตุ้นให้ลูกสนใจสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น การวาดรูป ระบายสี ต่อบล็อก ปั้นแป้งโดว์ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกใช้เวลากับของรักของหวงน้อยลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4.พ่อแม่เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดของลูก โดยการเอาตัวเองเข้าไปแทนของรักของลูก ด้วยการแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใย การให้กำลังใจ และเป็นบุคคลที่สามารถช่วยลูกแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

5.หมั่นทำความสะอาดของใช้ชิ้นนั้น ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกไม่ติดกับกลิ่นที่คุ้นเคย

จริง ๆ แล้วพฤติกรรมการติด “ของเน่า” ของลูกนั้น ไม่ได้ถือเป็นปัญหาใหญ่หรือพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง เพราะอาการนี้จะเกิดขึ้นแค่เด็กในช่วงวัย 2-5 ปีเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน พอพ้นช่วงวัยนี้ไปแล้วการติดของเน่าของลูกก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เลือกของเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูก
ทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับของเล่น

บทความโดย

Napatsakorn .R