5 เหตุผลที่ชี้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่อาจเป็นปัญหาขั้นวิกฤต

ประสบการณ์ตรงของ Emma Jenner ผู้เขียนจาก Keep Calm and Parent On ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำงานกับพ่อแม่และเด็กหลายครอบครัวเป็นระยะเวลามากกว่า 2 ทศวรรษใน 2 ทวีปซึ่งมากด้วยประสบการณ์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวปัญหาของการเลี้ยงลูกในยุคสมัยปัจจุบัน ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ให้พวกเราได้อ่านกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า 5 ปัญหาหลัก ๆ ต่อไปนี้คือสิ่งที่เธอเห็นและคิดว่าไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกต่อไปแล้ว ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. ความกลัวที่มีต่อลูก

ยกตัวอย่างเช่น “ปัญหาจากแก้วหัดดื่ม” เป็นหนึ่งในปัญหาที่เห็นได้ชัด เด็ก ๆ หลาย ๆ คนหัดดื่มนมในตอนเช้าด้วยแก้วหัดดื่ม โดยส่วนใหญ่เด็กจะเป็นผู้เลือกแก้วหัดดื่มถึงแม้ว่าแม่จะเทนมใส่ในอีกแก้วให้แล้วก็ตาม เช่น “หนูอยากได้แก้วสีชมพู ไม่เอาสีฟ้า!” ผู้เขียนได้ลองสังเกตพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่หลายท่านหลังจากที่ลูกร้องขอ ก็พบว่าส่วนใหญ่และบ่อยครั้งที่แม่จะรีบเปลี่ยนแก้วให้เป็นแก้วที่ลูกต้องการโดยทันที ก่อนที่ลูกจะเกิดอาการฉุนเฉียวและไม่พอใจ นี่แหละปัญหาค่ะ!

หากมาคิดดูดี ๆ อีกครั้ง “อะไรคือสิ่งที่คุณแม่ต้องกลัว?” “ใครคือผู้ที่ออกคำสั่งที่แท้จริงในสถานการณ์เช่นนั้น?” คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกมีอาการฉุนเฉียวบ้าง และหากรับไม่ได้ที่ลูกเป็นเช่นนั้นก็ใช้วิธีเดินจากห้องนั้นไปเพื่อให้ลูกได้สงบนิ่งขึ้นแทน แต่อย่าเอาใจลูกโดยการให้ในสิ่งที่ลูกขอทุก ๆ ครั้ง เพียงแค่เพราะลูกอยากจะได้สิ่งนั้น และใช้อารมณ์มาเป็นเครื่องมือขู่

2. การลดมาตรฐาน

เวลาที่ลูกของเราประพฤติตัวไม่ดี ไม่น่ารัก ดื้อหรือไม่เชื่อฟังในที่สาธารณะหรือแม้แต่ในบ้านเอง หลาย ๆ ครั้งพ่อแม่จะพูดกับตัวเองว่า “ที่ลูกเป็นแบบนี้ ก็เพราะลูกยังเด็ก” จริง ๆ แล้วนั่นคือการลดมาตรฐานค่ะ เด็กสามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้เขาเป็นได้มากกว่าที่พ่อแม่คาดหวังไว้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมารยาท การเชื่อฟัง เคารพผู้ใหญ่ การทำงานบ้าน ความมีน้ำใจ หรือแม้แต่การควบคุมตนเอง หากคุณคิดว่าลูกไม่สามารถนั่งดี ๆ ได้ในร้านอาหาร คุณแม่คิดผิดแล้วค่ะ หรือหากคุณแม่คิดว่าลูกไม่สามารถช่วยเก็บจานหลังทานข้าวได้ นั่นก็คิดผิดอีกเช่นกัน เหตุผลเดียวที่ลูกจะไม่ทำคือ พ่อแม่ไม่ได้หวังให้ลูกต้องทำและไม่ได้สอนลูกว่าควรทำอย่างไร เท่านั้นเองค่ะ ลองพยายามยกระดับความคาดหวังที่มีต่อลูก ขอลูกให้ช่วยมากขึ้น ลองสอนลูกดูนะคะ

3. เรากำลังสูญเสียผู้หวังดี

ในยุคสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถเมล์ ครู คนขายของตามร้านต่าง ๆ หรือพ่อแม่ท่านอื่นต่างก็มีอิสระและรู้สึกดีที่ได้ช่วยสอนและเตือนเด็กที่ทำตัวไม่ดี ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ใช่ลูกหลานพวกเขา พวกเขาจะทำตัวเปรียบเสมือนเป็นพ่อแม่ของเด็กเองและตักเตือนเวลาเจอเด็กที่ทำไม่ถูกต้องด้วยความหวังดี ทุก ๆ คนจะร่วมมือร่วมใจสอนและพัฒนาเยาวชนให้เติบโตมาเป็นคนดีด้วยกัน แต่ในยุคสมัยนี้ หากมีผู้ใหญ่ท่านไหนมาสอนลูกของตน พ่อแม่จะไม่พอใจเป็นอย่างมาก พ่อแม่สมัยนี้แค่ต้องการให้ลูกออกมาดูดีเพอร์เฟคที่สุดในสายตาผู้อื่น และหลาย ๆ ครั้งพ่อแม่ก็รับไม่ได้กับคำติเตือนลูกจากคุณครูที่โรงเรียน พ่อแม่หลายท่านจะรีบวิ่งไปหาครูเพื่อต่อว่าหากตนได้รับรายงานจากคุณครูเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกในทางที่ไม่ดี แทนที่จะนำคำเตือนเหล่านั้นมาสอนและฝึกลูกให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

พ่อแม่สมัยนี้มีความต้องการให้ลูกดูดีที่สุดในสายตาของคนอื่น และบ่อยครั้งที่ชอบติเตียนพ่อแม่ท่านอื่นเมื่อพบว่าลูกของพวกเขาดื้องอแงและพ่อแม่ไม่รีบทำให้เด็กสงบเงียบ หลาย ๆ ครั้งที่สายตาเหล่านั้นจับจ้องมาที่พ่อแม่อย่างตำหนิติเตียน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วผู้ที่พบเห็นควรคิดและชมให้กำลังใจพ่อแม่เหล่านั้นว่า “ดีแล้วที่พ่อแม่ไม่ตามใจลูก ไม่ปลอบลูกง่าย ๆ เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนลูกให้รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ขอมากเกินไป อะไรคือพอแล้ว”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>


4. หวังพึ่งตัวช่วยมากเกินไป

ยุคสมัยนี้มีเทคโนโลยี วิวัฒนาการหลายอย่างเข้ามาช่วยในชีวิตประจำวันมากขึ้นเยอะ ไม่ว่าจะเป็นจอดูหนังดูการ์ตูนบนเครื่องบิน หรือ การรอต่อคิวตามสถานที่ต่าง ๆ ด้วยเครื่องบัตรคิว แม้กระทั่งการสั่งซื้อของออนไลน์ หรืออุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟที่แสนจะรวดเร็ว ประกอบกับพ่อแม่ที่ยุ่งจนแทบเรียกว่าไม่มีเวลาเลย สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น แต่บางครั้งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป ลูก ๆ ควรได้รับการเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเอง และยอมรับได้หากทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เช่นหากไม่มีของเล่น ก็ควรเรียนรู้ที่จะนั่งนิ่ง ๆ ได้ ควรเรียนรู้ที่จะเล่นกับตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือของเล่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรเรียนรู้ว่าบางทีอาหารก็ไม่ได้เสิร์ฟร้อนตลอดเวลา ควรเรียนรู้ว่าบางทีก็ต้องรอมากกว่า 3 นาทีกว่าจะได้ทานข้าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้กระทั่งเด็กทารก ที่ควรเริ่มเรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้หลับได้โดยที่ไม่ต้องพี่งเปลไกว และเด็กวัยหัดเดินที่ควรเรียนรู้ที่จะลุกขึ้นเองได้เวลาล้มแทนที่จะอ้าแขนขอให้พ่อแม่ช่วยอุ้ม ลองสอนลูกให้ทราบถึงประโยชน์ของสิ่งอำนวยความสะดวกและหากไม่มีสิ่งเหล่านั้นลูก ๆ ก็สามารถมีความสุขได้

5. พ่อแม่ตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกต้องการเหนือกว่าสิ่งอื่นใด

โดยธรรมชาติแล้วพ่อแม่ถูกสร้างมาให้ตอบสนองความต้องการของลูกก่อนตนเองเสมอ เช่น ต้องให้อาหารลูกและดูแลเรื่องเสื้อผ้าให้ลูกก่อน เป็นต้น แต่พ่อแม่ในยุคสมัยนี้บางครั้งก็ให้ความสำคัญในสิ่งที่ลูกต้องการจนเกินไป จนสิ่งที่ทำเพื่อลูกกลับมาทำร้ายสุขภาพกายและจิตใจของพ่อแม่เอง เช่น พ่อต้องทิ้งทุกอย่างที่ทำอยู่และวิ่งข้ามจากฝั่งนึงไปยังฝั่งนึงที่สวนสัตว์เพื่อซื้อน้ำให้ลูกเพียงเพราะลูกหิวน้ำ แทนที่จะบอกกับลูกว่า ‘รอก่อนนะครับไว้เราผ่านร้านขายน้ำแล้วพ่อจะซื้อให้’ หรือบางครั้งที่คุณแม่จะต้องลุกขึ้นมากลางดึกหลาย ๆ ครั้งเพียงเพราะลูกกลับตัวไปมา พลิกตัวส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากปล่อยลูกไว้ ลูกก็ไม่เป็นอะไร ลูกอาจตื่นขึ้นมาบ้างและหากพบว่าไม่มีใครสนใจ สุดท้ายจะชินและหลับไปได้เองในที่สุด

ผู้เขียนคิดว่า 5 ปัญหาข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวต่อสังคมในอนาคตหากยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี เด็ก ๆ เหล่านี้อาจโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจ มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความอดทน และเป็นปัญหาสังคมในที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ความผิดพวกเค้าที่เป็นแบบนั้น หากแต่เป็นความผิดของผู้เป็นพ่อแมที่ปล่อยให้ลูกประพฤติตามใจ จนชินกับนิสัยพฤติกรรมเหล่านี้ ดังนั้นการหวังมากขึ้น การขอมากขึ้น การให้น้อยลง จะช่วยทำให้ลูกแข็งแกร่งและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในโลกแห่งความจริง ไม่ใช่เพียงแค่ในโลกที่เราสร้างให้ลูกนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Huffington Post

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกเป็นเด็กสปอยล์และวิธีแก้