อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ: เล่าประสบการณ์ คุณแม่แอบดูหน้าลูกน้อย

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติจะคุ้มมั้ยหนอ? คุณแม่ท่านหนึ่งเล่าประสบการณ์การทำอัลตร้าซาวด์ 4 มิติเพื่อแอบดูลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ แล้วคุณลองคิดดูละกันว่าน่าทำมั้ย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ: เล่าประสบการณ์ คุณแม่แอบดูหน้าลูกน้อย

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ: เล่าประสบการณ์ คุณแม่แอบดูหน้าลูกน้อย

ปกติแล้ว เวลาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของเด็กโดยการใช้วิธีอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติ อย่างน้อยประมาณ 3 ครั้ง ครั้งแรกจะดูว่าท้องในมดลูกหรือนอกมดลูกและดูว่าเด็กมีอายุกี่สัปดาห์แล้ว ครั้งที่สองเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเด็กทั้งภายในและภายนอก หากอยากรู้เพศ แพทย์จะบอกให้คุณทราบ และครั้งสุดท้ายเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเด็กทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนยืนยันเพศ บอกน้ำหนักและความยาวของเด็กเพื่อพูดคุยถึงวิธีคลอดลูก โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะใช้แบบ 3 มิติ

การอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ ก็เหมือนการถ่ายภาพนิ่ง เหมือนรูปภาพตามหนังสือพิมพ์ที่เราเห็นทั่วไป ส่วนการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ จะเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่มิติที่ 4 คือเวลานั่นเอง พูดง่าย ๆ ก็คือ ภาพแบบ 3 มิติที่เคลื่อนไหวได้นั่นเอง คุณจะเห็นว่าลูกกำลังทำอะไรในท้อง เช่น กำลังอ้าปาก พอหุบปากลูกก็กลืนแผ่นผิวหนังที่ลูกผลัดเซลล์อยู่ในถุงน้ำคล่ำ ลูกกำลังโบกมือทักทายคุณอยู่ ถ้าคุณเลือกที่จะใช้การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ โรงพยาบาลบางแห่งอาจจะบันทึกช่วงเวลาที่ดูลูกในท้องลงแผ่นซีดีให้คุณนำกลับมาดูซ้ำที่บ้าน แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

เมื่อถึงเวลาอัลตร้าซาวด์ครั้งแรก คุณจะรู้สึกตื่นเต้นและอยากเห็นลูก แต่สิ่งที่คุณเห็นกลับเป็นเพียงเส้นสีเทาไม่ค่อยชัดที่บอกว่านี่คือลูกของคุณด้วยเทคนิคแบบ 2 มิติ เลยทำให้เห็นทะลุเข้าไปถึงอวัยวะภายในของลูกเลย ส่วนการอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติและอัลตร้าซาวด์ 4 มิติจะเห็นเป็นผิวหนังของลูกปกคลุมอวัยวะภายใน เห็นหน้าตา จมูก ปาก ที่ชัดเจน ทีนี้ก็จะได้รู้กันว่าหน้าตาคล้ายพ่อหรือแม่

ปกติแล้ว แพทย์จะตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของเด็ก โดยวิธีอัลตร้าซาวด์ แบบ 3 มิติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์ทางการแพทย์ของการอัตราซาวด์ 3 มิติ และอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

ช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของลูกและเตรียมการรักษาได้ทันทีที่ลูกคลอด ในกรณีของการอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติจะเน้นเรื่องอวัยวะภายในว่าทำงานได้ปกติ ลิ้นหัวใจไม่รั่ว พัฒนาการของกระเพาะเป็นปกติ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของสมอง ส่วนอัลตร้าซาวด์ 4 มิติจะเน้นลักษณะภายนอก หากพบว่าลูกปากแหว่ง แพทย์จะได้เตรียมศัลยกรรมตอนคลอดเลย

อัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติจะเน้นเรื่องอวัยวะภายในว่าทำงานได้ปกติ ลิ้นหัวใจไม่รั่ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะทำอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติและ 4 มิติ

ช่วงที่คุณมีอายุครรภ์ประมาณ 26 - 30 สัปดาห์ เพราะว่าถ้าทำก่อนหน้านั้นจะเห็นแค่โครงกระดูกของเด็กมากกว่า เนื่องจากร่างกายเด็กยังไม่สามารถสร้างไขมันได้เพียงพอ ส่วนเมื่ออายุครรภ์หลังจาก 30 สัปดาห์ไปแล้ว อาจจะมองเห็นไม่ชัด เพราะลูกอาจจะเริ่มกลับหัว บริเวณหน้าอาจจะอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน

4D Ultrasound เน้นลักษณะภายนอก หากพบว่าลูกปากแหว่ง จะได้ศัลยกรรมตอนคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอันตราซาวด์ทุกครั้งอาจจะไม่เห็นหน้าลูกทุกครั้งเหมือนอย่างที่คุณคิด ขึ้นอยู่กับว่าลูกกำลังนอนท่าไหน ซุกหน้าอยู่หรือเปล่า แพทย์อาจจะช่วยกระตุ้นให้เด็กขยับตัว พลิกตัวไปมา เพื่อหามุมให้เห็นหน้าชัดขึ้น แต่เด็กบางคนก็ขี้เซานะคะไม่ยอมพลิกตัว สงสัยกำลังหลับสบายในท้องแม่ ลูกดิฉันแอบไม่พอใจที่คุณหมอพยายามปลุก ปัดมือไปมา กลืนน้ำลายและหันหน้าหนีนอนต่ออีก ทีนี้เลยต้องเปลี่ยนท่านอนเองเพื่อให้ได้มุมที่ดีขึ้นบางครั้งคุณหมออาจจะต้องให้คุณออกไปเดินเล่น หรือนัดใหม่อีกสัปดาห์หนึ่ง หากลองกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวแล้ว แต่ลูกยังไม่สามารถพลิกมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้

การอัลตร้าซาวด์ทั้ง 3 มิติและอัลตร้าซาวด์ 4 มิติปลอดภัยเท่าเทียมกันกับการทำแบบ 2 มิติ เพราะใช้พื้นฐานของการทำแบบ 2 มิติ แต่มาปรับเพิ่มมิติอื่น ๆ เองจากเครื่องมือ

การอัลตร้าซาวด์ทั้ง 3 มิติและอัลตร้าซาวด์ 4 มิติปลอดภัยเท่าเทียมกันกับการทำแบบ 2 มิติ

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไร ให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง :

โรงพยาบาลสมิติเวช - 3D and 4D Ultrasound for Examining Unborn Babies

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความแนะนำ: ตั้งครรภ์แล้ว...ทำไงต่อล่ะ

บทความแนะนำ: เซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์

บทความใกล้เคียง: สิ่งที่ต้องทำช่วงโค้งสุดท้ายก่อนคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์