4 เหตุผลที่ควรให้ลูกทาน อาหารเน้นพืชเป็นหลัก

เมื่อมีใครสักคนแนะนำให้ลูก ทานอาหารเน้นพืชเป็นหลัก มักมีคำถามตีกลับเข้ามา ทั้งเกรงว่าเด็กๆ กลายเป็นโรคขาดสารอาหาร หรือกลัวว่าลูกอาจมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมอง ช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน ทั้งที่จริงแล้ว การทานอาหารเน้นพืชให้ประโยชน์มากกว่าที่เราคาดถึงเสียอีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อัจฉริยะ เจ้าของทฤษฎีสัมพันธภาพ พูดถึง อาหารเน้นพืชเป็นหลักไว้ว่า “ไม่มีอะไรที่จะทำให้สุขภาพของมนุษย์ได้รับประโยชน์ และเพิ่มโอกาสการดำรงชีวิตได้มากเท่า การทานอาหารมังสวิรัติอีกแล้ว”

การทาน อาหารเน้นพืชเป็นหลัก ( Plant-based, whole food : PBWF ) คือแนวทางการรับประทานอาหารที่รู้จักกันมายาวนานนับพันปี โดยวิถี PBWF นี้ จะเน้นอาหารที่มีความใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ผัก ผลไม้ และธัญพืช ต้องไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง สกัด ขัดสี หรือผ่านความร้อนสูง ซึ่งทำให้สูญเสียสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย อาทิ กากใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤษเคมี (Phyto-Chemicals) ไปจนหมด

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก เปิดเผยเกี่ยวกับงานวิจัยหลายฉบับว่า การบริโภคผักผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดได้ 31% ลดอาการเส้นเลือดในสมองตีบได้ 19% ลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 19% ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดได้ถึงร้อยละ 12 อีกทั้งกากใยอาหาร ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ทำให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย

แม้โรคร้ายเหล่านี้อาจดูไกลตัวลูกรัก แต่โรคทั้งหมดล้วนต้องอาศัยการสั่งสมปัจจัยการเกิดโรคเป็นระยะเวลานาน และนี่คือเหตุผลสำคัญ ที่แม่ควรตัดสินใจปูเส้นทางสู่วิถี PBWF ให้ลูกน้อยตั้งแต่วัยหัดเคี้ยว

 

4 เหตุผลสำคัญ ที่ควรให้ลูกเริ่มวิถี PBWF ตั้งแต่วันนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • PBWF ช่วยให้ลูกเสี่ยงต่อการแพ้อาหารลดลง แนวทางการทานอาหารแบบ PBWF เน้นการรับประทานอาหารเน้นพืช ซึ่งมีความใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด จึงเสี่ยงต่อการแพ้อาหารน้อยกว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาหารทะเล อาหารแปรรูป หรือแป้งสาลี อีกทั้งผัก ผลไม้ ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและอุดมด้วยสารพฤกษเคมี ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และลดอาการอักเสบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กอีกด้วย
  • PBWF ทำให้เด็กๆ มีสุขภาพดีขึ้น ภายใน 4 สัปดาห์ วารสารกุมารแพทย์ในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า เด็กๆ ที่ทาน อาหารในกลุ่ม ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี มีน้ำหนักตัว และค่าความดันโลหิตลดลง รวมทั้งค่าของคอเลสเตอรอล อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น ภายในเวลาเพียง 4 สัปดาห์ เท่านั้น
  • PBWF มีส่วนช่วยให้สมองของเด็กๆ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ สมองมีไขมันเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก การทำงานของเซลล์สมอง อาศัยความสมดุลของไขมันสองชนิด คือ โอเมกา 6 และ โอเมกา 3 หากมีไขมันโอเมกา 3 น้อยเกินไป แต่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ซึ่งได้รับจากไขมันสัตว์มากเกินไป จะทำให้ผนังเซลล์สมองขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้การส่งสัญญาณกระแสประสาทผิดพลาด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง ขณะที่ไขมันพืช อย่าง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดทานตะวัน งา หรือวอลนัต ประกอบด้วยสารอาหารบำรุงสมอง ช่วยให้สมองของเด็กๆ พัฒนาได้เต็มประสิทธิภาพ และมีศักยภาพสูงสุดในทุกๆ ด้าน
  • PBWF ทำให้เด็กๆ ไม่เป็น โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน คือต้นกำเนิดโรคร้าย อย่าง โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของ โรคอ้วน เกิดจากการทานอาหารที่ให้พลังงานสูง มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล เกลือ และคอเลสเตอรอลสูง อาทิ เนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูป อาหารทอด ผัด และปิ้งย่าง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ มะเร็ง และโรคอ้วน ในขณะที่อาหารเน้นพืชเป็นหลัก จะให้พลังงานต่ำ มีสัดส่วนไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ที่เหมาะสม อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มระดับอินซูลินในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และช่วยให้เด็กๆ ห่างไกลโรคอ้วน มีรูปร่างสมส่วน สุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย

การรับประทาน อาหารเน้นพืชเป็นหลัก ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กๆ ห่างไกลโรคร้ายได้ แต่ยังช่วยให้ลูกรักมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ไม่ต้องมาเสียเวลากับการรักษาอาการเจ็บป่วย การไปหาหมอ และการเยียวยาสุขภาพ แถมยังเปิดโอกาสให้เจ้าตัวเล็กได้เรียนรู้โลกกว้างอย่างไร้ข้อจำกัดทางด้านสุขภาพร่างกาย มีภูมิคุ้มกันที่มีศักยภาพ ไม่เป็นโรคร้ายเรื้อรังเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ด้วยสาเหตุจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้องในช่วงแรกของชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลงทะเบียนรับคู่มือโภชนาการ คลิก : startright.info

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง :

www. wellnesswecare.com/th/static/prevent-reverse-disease

www. iurban.in.th/pr/pbwf

ดร.โจเอล เฟอร์แมน (เขียน), พญ.สุธีรา เอื้อไพโรน์กิจ (แปล), โตไป...ไกลโรค (Disease-Proof your child). กรุงเทพฯ : ฟรีมายด์, 2559.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช, อาหารบำบัดโรค (ฉบับปรับปรุงล่าสุด). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560. 

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team