Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
บางครั้ง การที่พ่อแม่ทำงานหนักเหตุผลหลักๆ คือการหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว ทั้งค่าอาหาร ค่าบ้าน ค่าเทอม ฯลฯ จนไม่มีเวลาให้ลูกและละเลยการดูแลเอาใจใส่พวกเขาไป ถึงแม้ว่าเด็กๆ ส่วนมากจะรู้ว่าพ่อแม่รักพวกเขาแต่หัวใจเขากลับไม่เคยได้รับรู้ถึงความรักความผูกพันเหล่านั้น สาเหตุเป็นเพราะการขาดการสื่อสารด้านอารมณ์ของพ่อแม่หรือเปล่า
เด็กๆ ไม่ได้ต้องการแค่รู้ว่า เขาเป็นที่รักของพ่อแม่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการให้พ่อแม่รับรู้ในสิ่งที่เขาต้องการด้วย มาทำให้ลูกๆ ของเราแน่ใจกันว่า พ่อแม่รักลูกเสมอ ด้วยเคล็ดลับนี้กันค่ะ
“4S” เคล็ดลับการเลี้ยงลูกที่จะทำให้ลูกรู้สึกดีมีความสุข
- SEEN-มองเห็นหรือรับรู้
พ่อแม่จำเป็นที่จะต้องรับรู้ถึงอารมณ์ต่างๆ ของลูกน้อยของคุณว่าเป็นอย่างไร โดยจะต้องแสดงให้พวกเขาเห็นว่า คุณเห็นและรับรู้ได้ว่าอารมณ์ของลูกเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ ผิดหวัง หรือ โกรธ ด้วยการเข้าไปพูดคุยและรับฟังลูกทุกครั้ง
- SOOTHED-ปลอบประโลม
พ่อแม่ควรทำให้ลูกได้รู้ว่า พ่อแม่จะเป็นที่อยู่ข้างๆ คอยปลอบโยนลูกเสมอยามเมื่อลูกมีปัญหาหรือทุกข์ใจ ซึ่งรวมถึงการปลอบใจทั้งคำพูดและการสัมผัสทางกาย เมื่อลูกได้รับคำตำหนิหรือถูกทำให้อาย เพราะถ้าหากพ่อแม่ไม่สามารถทำให้ลูกรู้สึกว่าเป็นที่พี่งทางใจได้ นั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเหินห่างระหว่างครอบครัวได้ - SAFE-ปลอดภัยอุ่นใจเสมอ
พ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยและเป็นหลุมหลบภัยที่ทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจเสมอ เพราะเป็นคนที่ลูกให้ “ความไว้ใจ” มากที่สุด และจะเป็นคนแรกที่ลูกอยากจะบอกเล่าถึงอารมณ์และความรู้สึกที่อ่อนไหว อ่อนแอของเขาให้พ่อแม่รับรู้ ตระหนักไว้ว่าหากว่าลูกไม่กล้าที่จะบอกเล่าความรู้สึกของเขาให้เราฟัง เพราะกลัวจะถูกพ่อแม่ตำหนิ หรือกล่าวว่าซ้ำ เด็กๆ ก็จะมีระยะห่างจากพ่อแม่มากขึ้น
- SECURE-ความมั่นคง
พ่อแม่ความแสดงความมั่นคงเพื่อให้ลูกรับรู้ได้ว่า เราพร้อมที่จะรับมือกับความต้องการทางอารมณ์ของลูก และสามารถช่วยจัดการสภาวะทางอารมณ์ของลูกได้ เพราะเด็กยังไม่มีประสบการณ์หรือวุฒิภาวะทางอารมณ์เท่ากับผู้ใหญ่ ดังนั้นการตั้งใจพูดคุยกับลูก และคอยให้คำแนะนำ จะเป็นผลดีกว่าการพูดลอยๆ หรือรับฟังแบบปล่อยผ่านจะช่วยให้เด็กๆ เกิดความมั่นใจ และไม่รู้สีกว่าจะต้องรับมือกับอารมณ์ของตัวเองเพียงลำพัง
ที่มา : www.smartparenting.com.ph
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
5 เหตุผลที่ชี้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่อาจเป็นปัญหาขั้นวิกฤต
10 เรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงในการเลี้ยงลูกขวบปีแรก
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!