และนี่คือวิธีง่าย ๆ ในการสอนให้ลูกรู้จักคำว่า “ขอโทษ”
1. ปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก การเริ่มต้นปลูกฝังลูกตั้งแต่เขายังเป็นเด็กนั้น ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการพูดคุยกับลูกว่าสิ่งที่เขาทำนั้นผิด เพื่อที่ลูกจะได้รู้ว่า หากเขากระทำผิด เขาก็ควรที่จะเอ่ยคำว่าขอโทษ หลังจากสอนลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะกอดลูก เพื่อเป็นการปลอบขวัญด้วยนะคะ
2. เป็นตัวอย่างที่ดี หากคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรผิด อย่าได้รู้สึกอายที่จะขอโทษต่อหน้าลูก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเผลอตะคอกใส่ลูกโดยปราศจากเหตุผล อย่าลืมที่จะอธิบายให้ลูกว่า ที่คุณทำนั้น คุณไม่ได้ตั้งใจ แต่เผลอทำไปเพราะตอนนั้นคุณกำลังเครียดและหงุดหงิดอยู่ อธิบายให้ลูกรู้ว่าทุกคนย่อมทำผิดกันได้ทั้งนั้น เช่นเดียวกันกับคุณพ่อคุณแม่ที่ได้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำคือการตะคอกใส่ลูกโดยปราศจากเหตุผลไปเมื่อสักครู่นี้ อย่าลืมที่จะบอกให้ลูก ๆ รู้ด้วยนะคะว่า คุณพ่อคุณแม่รักเขามากแค่ไหน และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมั่นใจด้วยนะคะว่า คุณได้ขอโทษลูกแล้วจริง ๆ
3. อธิบายให้ลูกทราบว่าการขอโทษนั้นควรใช้เมื่อไหร่ จริง ๆ แล้วการเอ่ยคำนี้ ไม่มีกฎตายตัวว่า เราควรที่จะใช้ตอนไหนบ้าง แต่ก็สามารถใช้ได้กับหลาย ๆ สถานการณ์ นอกเหนือจากการการเอ่ยเมื่อกระทำความผิด ยังสามารถใช้ได้ในกรณีที่ลูก ต้องการให้คนอื่นหยิบของให้ ยกตัวอย่างเช่น “ขอโทษนะครับ/คะ รบกวนช่วยหยิบแก้วน้ำให้ทีครับ” หรือใช้ในกรณีที่เราอยากรู้เรื่องอะไร ยกตัวอย่างเช่น “ขอโทษนะครับ/คะ สิ่งนี้เรียกว่าอะไรครับ/คะ” เป็นต้น
4. สอนให้ขอโทษจากใจ อย่าบังคับหรือกดดันให้ลูกต้องขอโทษมากเกินไป เพราะนั่นจะทำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของคำว่า “ขอโทษ” ค่ะ หากลูกไม่พร้อมที่จะเอ่ยคำ ๆ นี้ก็อย่าไปบังคับเขาเลยค่ะ ปล่อยให้พวกเขาได้คิดเอาเองบ้างว่า สิ่งที่พวกเขาได้ทำไปนั้นเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก และถ้าหากลูก ๆ ของเราคิดได้ แน่นอนว่า การเอ่ยคำว่าขอโทษ ออกจากปากของลูกนั้น ย่อมเป็นการเอ่ยออกมาจากใจของเขาอย่างแน่นอน
และคุณพ่อคุณแม่ละคะ มีวิธีการสอนลูก ๆ ให้รู้จักคำว่า “ขอโทษ” กันอย่างไรบ้าง
ที่มา: https://www.theindusparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
3 สิ่งไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากทำร้ายจิตใจลูก
5 เคล็ดวิธีปรับทัศนคติใหม่ให้ลูกเลิกโกหกอย่างถาวร!