ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

-

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ ช่วง 9 เดือนครึ่งนี้คุณแม่จะรู้สึกเจ็บหน่วง ๆ มีความรู้สึกจี๊ด ๆ ขึ้นลงตามช่วงขา นั่นหมายถึง ขณะนี้ทารกอยู่ในระดับต่ำบริเวณอุ้งเชิงกราน กำลังกดทับเส้นประสาท ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตถึงสัญญาณการคลอดที่ ทั้งการบีบตัวของมดลูกที่รุนแรงและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และมูกปนเลือด ที่ถูกขับออกมา ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าเดินลำบากมากกว่าเดิม และต้องระวังสัญญาณเตือนภาวะครรภ์เป็นพิษให้ดี

 

ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่มีอาการอย่างไร

38สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน โดยทั่วไปอาการ ของคนท้อง 9 เดือนครึ่ง นั่นคือทารกพร้อมออกมาดูโลกแล้วและร่างกายคุณแม่ก็กำลังเตรียมพร้อมสำหรับวันสำคัญ สามารถสังเกตได้ดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง: ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

วิดีโอจาก : โตไปด้วยกัน Family Journey

 

1. คุณแม่มีอาการเจ็บเตือนหรือเจ็บหลอก

ในช่วงสัปดาห์นี้ การบีบตัวของมดลูกเป็นเรื่องปกติเลย ปวดหน่วง ๆ บริเวณช่องคลอด อาจมีอาการนี้มาหลายสัปดาห์แล้ว หรืออาจจะเพิ่งเริ่มสังเกตว่ามดลูกเริ่มบีบตัวก็ได้ ถ้าการบีบตัวไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บและหายไปเมื่อเปลี่ยนท่า นั่นคืออาการเจ็บเตือนหรือเจ็บหลอก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. นอนหลับยากมากขึ้น

คุณแม่จะนอนหลับยากเพราะรู้สึกกังวล ทั้งเรื่องกลัวจะคลอดตอนไหน และความเจ็บปวดทางร่างกาย คุณแม่บางคนรู้สึกเหนื่อยมาก ๆ จึงทำให้นอนหลับยากในยามค่ำคืน

 

3. มีอาการตกขาวมากขึ้น

ยิ่งใกล้คลอดยิ่งมีมูกหนามีเลือดปนหลุดออกมา นั่นคือมูกปิดปากมดลูก ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติที่ร่างกายค่อย ๆ ขับออกมาเมื่อปากมดลูกเริ่มเปิดเพื่อเตรียมคลอด มูกเหล่านั้นคือสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ใกล้คลอดเข้าไปทุกที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. คุณแม่รู้สึกคันท้อง

เนื่องจากท้องคุณแม่จะยืดขยายออกมากที่สุด จึงเป็นไปได้ที่ผิวจะรู้สึกบอบบางและถูกดึงจนตึงซึ่งการเติมความชุ่มชื้นสามารถช่วยได้ในช่วงนี้ โดยอาจใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่เข้มข้นมากขึ้น และควรดื่มน้ำมาก ๆ

 

5. เท้าและข้อเท้าบวม

คนท้องในระยะนี้จะเจอกับอาการเท้าบวมอยู่บ่อย ๆ จึงควรนั่งพักและยกเท้าสูงเพื่อให้เลือดไหลเวียน แต่ถ้าคุณแม่พบว่าหน้าบวมไปจนถึงดวงตาให้รีบไปพบแพทย์ทันที

 

6. คุณแม่มีความวิตกกังวล

ไตรมาสสุดท้ายหากมีความกังวลถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ทั้งกลัวการคลอด กลัวมีภาวะแทรกซ้อน หรือกลัวว่าท้องลูกแฝดจะไม่แข็งแรง เป็นห่วงไปเสียทุกอย่าง ช่วงนี้ต้องให้ครอบครัวพยายามดึงความสนใจให้รู้สึกผ่อนคลายทั้งตัวคุณแม่เองและคุณพ่อด้วย อย่าพากันกังวลไปเสียทั้งบ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

7. รู้สึกว่ามีน้ำนมไหล

ช่วงนี้น้ำนมคุณแม่จะเริ่มไหลออกมาเป็น น้ำนมสีเหลือง ซึ่งเต็มไปด้วยสารแอนติบอดี และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมาก อาจจะรู้สึกตึง ตัดเต้าสักหน่อย แต่เป็นสัญญาณที่ดีมาก ๆ ที่คุณแม่จะมีน้ำนมที่มีประโยชน์ให้ทารกน้อยแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำนมไหลขณะตั้งครรภ์ เป็นสีขุ่น ๆ ไหลซึมตอนตั้งท้อง แบบนี้ผิดปกติไหม ?

 

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 38

คุณแม่นึกภาพออกไหมคะว่า เข้าสู่ 38 สัปดาห์แล้ว ทารกน้อยของคุณแม่จะมีลักษณะและพัฒนาการเติบโตขึ้นอย่างไร

  • ทารกน้อยหนักเกือบ 3 กิโลกรัม และยาวกว่า 20 นิ้วและอวัยวะภายในของทารกส่วนใหญ่พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นปอดที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก ลูกน้อยยังคงใช้เวลาในการพัฒนาระบบการหายใจของตัวเองอยู่
  • เล็บมือเล็บเท้าของลูกน้อยยาวถึงปลายนิ้วแล้ว มีไขเคลือบผิวของเจ้าตัวน้อยจะลอกออกมาปะปนอยู่ในน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป และสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจนถึงคลอด ซึ่งทารกจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียวแก่ที่เรียกว่า ขี้เทา
  • เซลล์ผิวหนังและขนอ่อนที่ปกคลุมบนตัวลูกน้อย จะหลุดเข้าไปปะปนกับน้ำคร่ำ อีกทั้งเซลล์ประสาทเกือบทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับทารกจะถูกสร้างขึ้นเกือบหมดแล้ว รวมถึงระบบเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทในสมองทารกจะยาวขึ้น หนาขึ้น และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
  • ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในครรภ์ 38 สัปดาห์ สมองของลูกน้อยจะมีการพัฒนามาโดยตลอด แม้ยังไม่เต็มที่ ทำได้เพียง 25% เท่านั้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่ ซึ่งทารกจะต้องพัฒนาสมองต่อเนื่องหลังจากคลอดแล้ว โดยภายใน 2 ปีแรกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนมีขนาดเป็น 75% เมื่อเทียบกับน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่เลยทีเดียวค่ะ

 

การดูแลตัวเองและเตรียมตัวตอน ท้อง 38 สัปดาห์

  • หากพบว่าเต้านมมีน้ำนมสีเหลืองไหลซึมออกมา ให้คุณแม่ใช้แผ่นซับน้ำนมกับชุดชั้นในของคุณแม่ เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลซึมออกมาเปื้อนเสื้อผ้า
  • ปรึกษาพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวที่เคยมีประสบการณ์การมีลูกมาก่อนแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกคนแรก และเพื่อไม่ต้องวิตกกังวลมากเกินไป
  • ควรจดชื่อแพทย์ที่เราฝากท้องไว้ เพื่อที่จะติดต่อให้ดูแลลูกของคุณแม่หลังจากคลอดต่อไป
  • คุณแม่ควรบันทึกว่ามีอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องทำให้กับลูกหลังคลอด หลีกเลี่ยงการวางแผนที่รัดกุมมากเกินไป เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างเลี้ยงลูกได้
  • เช็คเสื้อผ้าของใช้ของคุณแม่ และลูกดูอีกครั้งว่าขาดเหลืออะไรหรือไม่
  • ซื้ออุปกรณ์ปั๊มนม ให้น้ำนม แผ่นซับน้ำนมไว้ และอ่านวิธีการให้นมลูก เพื่อเตรียมพร้อมในการให้นม
  • ลองให้คุณพ่อลองขับรถระหว่างโรงพยาบาลกับบ้านดูว่าต้องใช้เวลาเท่าไร และเพื่อให้เคยชินกับเส้นทาง การจอดรถและคำนวณชั่วโมงระยะเวลาเดินทางได้อย่างแม่นยำ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมเบาะนั่งในรถสำหรับเด็กทารกด้วย และต้องเลือกรุ่นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยแล้วเท่านั้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอัลตราซาวนด์เมื่อ อายุครรภ์ 38 สัปดาห์

คุณแม่จะตื่นเต้นที่ได้เห็นลูกที่อาจมีผมยาวได้สัก 1 นิ้วแล้วค่ะ ตอนนี้ลูกกำลังผลัดไขขาว ๆ ที่เคลือบผิวออก ซึ่งตอนคลอดออกมาคุณแม่ก็อาจยังเห็นอยู่บ้าง โดยการอัลตราซาวนด์คุณหมอจะพิจารณาถึงความพร้อมดังต่อไปนี้

  • คุณหมอจะดูว่าลูกน้อยเอาหัวลงและหัวของลูกอยู่แถวในอุ้งเชิงกรานหรือยัง
  • จะมีการตรวจภายในเพื่อดูว่าปากมดลูกของคุณแม่เริ่มเปิดออกแล้วและบางลงหรือไม่
  • ถ้าหากว่าปากมดลูกยังไม่เปิด คุณแม่ก็อาจจะเจ็บท้องในวันถัดไป ซึ่งไม่สามารถเรื่องการคลอดธรรมชาติได้เช่นกัน
  • คุณแม่สามารถให้คุณหมอตรวจการหายใจ การเคลื่อนไหว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจของลูก

 

สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ แม้ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่จะอุ้ยอ้ายเตรียมคลอดได้ตลอดเวลา แต่กลับมีพฤติกรรมขยันก่อนคลอด ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่บางท่านเท่านั้น  เนื่องจากเห็นว่าช่วงนี้ยังพอมีเวลาที่จะจัดห้อง เก็บกวาด เช็ดถู จัดบ้านเพราะกลัวว่าหลังคลอดจะไม่มีเวลาทำ อารมณ์คนไม่เคยอยู่เฉยนั่นเอง แต่ขอแนะนำว่าคุณแม่ควรงดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเหล่านี้ แล้วเก็บพลังแรงกาย แรงใจ ไว้เพื่อใช้ในการคลอดและหลังคลอดจะดีกว่า รับรองคุณแม่และคุณพ่อได้ใช้พลังงานกันสุด ๆ ไปเลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

คลอดลูกเจ็บไหม คลอดแบบไหนไม่เจ็บ วิธีบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างคลอด

ที่มาข้อมูล : huggies , bunnemamalade , enfababy

บทความโดย

Khunsiri