ท้อง 3 เดือนแรก ห้ามทำอะไรบ้าง คุณแม่ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ
ในช่วง3เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่แม่ท้องต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เรามาดูกันว่า ข้อห้ามสำหรับคนท้อง3เดือนแรก มีอะไรบ้าง
ลักษณะคนท้อง 3 เดือน ท้อง 3 เดือนแรก ท้อง3เดือน นั้นเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ฮอร์โมนในร่างกายที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และลูกน้อยในครรภ์เริ่มเจริญเติบโต คุณแม่ท้องอ่อนจึงควรจะต้องระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
อายุครรภ์3เดือน ท้อง 3 เดือนแรก
อายุครรภ์ 3 เดือน 3เดือน คุณแม่ลองจินตนาการถึงลูกมะนาวเล็ก ๆ นั่นคือทารกย่างเข้าเดือนที่ 3 แล้ว ท้อง 3 เดือน แม้จะตัวเล็กแต่เขามีอวัยวะครบทุกส่วนเป็นรูปร่างมนุษย์น้อยๆ ซึ่งช่วงนี้เราจะเริ่มเห็น การเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ท้องมากขึ้น ลูกในท้องก็พัฒนาการดีขึ้นมากด้วย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน
1. รูปร่างทารกน้อย
ขนาด ท้อง 3 เดือน ทารกน้อยลูกของคุณแม่จะมีความยาวตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กรัม ในส่วนของศีรษะนั้นจะดูใหญ่กว่าลำตัว ลูกน้อยจะเห็นว่ามีซี่โครงชัดเจน และ กระดูกลำตัวชัด รูปร่างอาจยังไม่พองตัว
2. อวัยวะที่เริ่มพัฒนา
เด็กทารกเริ่มเป็นตัวตั้งแต่เดือนแรกหรือปฏิสนธิแล้ว ไม่ใช่แค่ก้อนเลือดอย่างที่เคยได้ยินกัน ยิ่งอวัยวะเพศเริ่มพัฒนาภายนอกให้เห็น แต่ยังระบุเพศที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะยังเล็กมากหรือยังไม่เปิดเผยให้เห็นเด่นชัด
3. กระดูกและฟัน
หนึ่งในอวัยวะที่สำคัญคือ กระดูกและฟัน ซึ่งลูกน้อยมีปรากฏขากรรไกรแล้ว มีเหง้าฟันแท้ชันเจนทั้ง 32 ซี่ จะซ่อนอยู่ในปุ่มเหงือกอย่างครบถ้วน
4. การกินอาหาร
พัฒนาการของทารกในช่วงเดือนที่ 3 ปรากฏว่าทารกเริ่มกลืนน้ำคร่ำได้ เพราะลำไส้เริ่มทำงาน แถมยังปัสสาวะออกมาได้เล็กน้อยในถุงน้ำคร่ำด้วย นั่นแสดงว่าระบบขับถ่ายเริ่มทำงานได้ดี
5. หัวใจลูกน้อย
เสียงหัวใจทารกจะเต้นเร็วมาก ถึงประมาณ 160-170 ครั้งต่อนาที ถ้าออกกำลังกายจะอยู่ในโซน 4-5 ทีเดียว ซึ่งในบางรายคุณหมออาจจะยังฟังเสียงหัวใจไม่ได้เพราะผนังท้องคุณแม่หนามากจึงฟังเสียงได้ยาก แต่นานๆ คุณแม่จะได้ยินเสียงนี้ด้วยความรู้สึกของตนเอง
ข้อห้ามสำหรับคน ท้อง 3 เดือนแรก
1. ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง
หากมีอาการเจ็บป่วยคุณแม่ไม่ควรซื้อยาเองโดยไม่จำเป็น ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณแม่และลูกในท้อง โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก ทั้งร่างกายของคุณแม่และทารกยังบอบบางเสี่ยงต่อการแท้งได้ง่าย
2. รับประทานอาหารสุกใหม่
ท้อง3เดือน คุณแม่ท้องควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะผักผลไม้ และเนื้อสัตว์ สามารถรับประทานได้เกือบทุกชนิด แต่ย้ำว่าห้ามรับประทานเนื้อสัตว์กึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารทะเลสดที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก และไข่ดิบ เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายซึ่งสามารถติดต่อไปสู่ทารกในครรภ์ผ่านทางรกได้
3. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมลพิษ
อย่าไปในสถานที่แออัดคับแคบ เช่น สถานที่ที่มีหมอกควัน บริเวณที่รถติดมาก ๆ ที่ทำให้แม่ท้องต้องสูดดมควันพิษจากท่อไอเสีย นอกจากนี้คุณแม่ที่เคยสูบบุหรี่ก็ควรเลิกสูบบุหรี่ในช่วงตั้งครรภ์ นอกจากไม่สูบแล้วและอยู่ให้ห่างจากควันบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่สามารถส่งผ่านไปยังทารกทางรกได้ ซึ่งจะเข้าไปกดการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ ไม่ว่าจะมาจากการที่แม่ท้องสูบบุหรี่เองหรือจากควันบุหรี่มือสองก็ตาม
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะแอลกอฮอล์จะไปทำลายเซลล์ประสาทซึ่งทำให้ทารกมีปัญหาการเจริญเติบโต มีปัญหาด้านความจำ และนอกจากนั้นยังทำให้เด็กทารกมีร่างกายที่ผิดปกติ สายตาสั้น จมูกแบน ปลายจมูกเชิดขึ้น บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการเฉพาะของทารกที่เกิดจากมารดาดื่มแอลกอฮอล์ที่เรียกว่า Fetal alcohol syndrome
5. พยายามไม่เครียดและห้ามอดอาหาร
เพราะความเครียดของคุณแม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของลูกในท้อง อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดการแท้งบุตรเพิ่มขึ้น ที่สำคัญอย่าอดอาหารเด็ดขาด อย่ากังวลเรื่องรูปร่างจนไม่ยอมรับประทานอาหารอย่างที่ร่างกายต้องการ เพราะนั่นจะเป็นการทำร้ายลูกในครรภ์ไปในตัวเนื่องจากขาดสารอาหารอย่างเช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
6. ไม่ควรแช่น้ำร้อนหรืออบซาวน่า
การอบซาวน่าหรืออยู่ในที่ที่ร้อนจัดจะทำให้อุณภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดอาการออกซิเจนไปเลี้ยงลูกในครรภ์ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดและทำให้เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง: 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม
ระวังเสี่ยงติดเชื้อโรคต่าง ๆ
สถานการณ์ตอนนี้ ท้อง3เดือน คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังตัวกว่าเดิมเป็นเท่าตัว เพราะนอกจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ยังมีเชื่อโรค ไวรัส แบคทีเรียต่างๆ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสิ่งรอบตัวที่คุณแม่อาจหลงลืมไป เช่น
- คุณแม่ต้องไม่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงมากนัก เช่น สุนัข แมว ถึงจะรักมาก แต่เราไม่ทราบว่าพวกเขาเดินไปวิ่งเล่นที่ไหนกันมาบ้าง
- อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วยที่มีไข้สูง แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ไข้หวัดก็ตาม เพราะคุณแม่มีร่างกายที่อ่อนแอ ต้องการภูมิคุ้มกันที่ต้องปกป้องถึง 2 คน
- อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนัง เช่น โรคอีสุกอีใส โรคคางทูม ถ้าคุณแม่จะไม่เคยเป็นมาก่อน ก็อาจจะติดเชื้อแล้วเป็นตอนตั้งครรภ์ได้
- ระวังอย่าให้สุนัขกัดหรือแมวข่วน อย่าโดนน้ำลายสัตว์ทุกชนิด ต้องล้างมือบ่อยๆ ด้วย
- หากต้องทำงานในที่ที่มีสารพิษ สารเคมี คุณแม่ควรปรึกษากับเจ้านายเพื่อขอโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานไปก่อนชั่วคราว
- ระวังหัดเยอรมัน ยิ่งในช่วงอายุครรภ์ 3-4 เดือนแรก จะทำให้ลูกน้อยในครรภ์พิการ เพื่อความไม่ประมาท คุณแม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันไว้ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
- ระวังติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จากสามี จากรายงานทางการแพทย์พบว่า สามีจะนอกใจภรรยามากที่สุดในช่วงการตั้งครรภ์แรกๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่อคุณแม่และลูกจากการติดเชื้อได้ เช่น เชื้อ HIV เชื้อหนองใน เชื้อเริม และซิฟิลิส ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อความพิการและสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์
คำแนะนำสำหรับคน ท้อง 3 เดือน แรก
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ดื่มนมอย่างน้อย 600 มิลลิลิตรทุกวันเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ
- รับประทานทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- ออกกำลังกายอย่างพอดี
- เข้าพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งีบหลับตอนกลางวันถ้ามีเวลา
ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ลูกหลุดเกิดจากอะไร
ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมีหลายอย่าง ปัจจัยส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยบางอย่างก็ไม่สามารถป้องกัน หรือแก้ไขได้ เช่น อายุของคุณแม่ที่มากขึ้น หรือในบางครั้งอาจไม่พบปัจจัยเสี่ยงในคุณแม่ที่แท้งบุตรเลย (โดยเฉลี่ยอาจพบการแท้งบุตรตามธรรมชาติได้ถึงร้อยละ 10-15)
การเตรียมตัวคุณแม่เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
- ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
- ควรรักษาโรคประจำตัวให้เป็นปกติ หรือควบคุมโรคได้ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE และ antiphospholipid syndrome) เป็นต้น
- ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- ควรลดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติก่อนการตั้งครรภ์
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
- ระมัดระวังอย่าให้ลื่นล้ม หรือมีอะไรมากระแทกท้อง ทุบท้องตอนท้อง
ท้องอ่อนห้ามกินอะไร อาหารที่แม่ท้องไตรมาสแรกต้องเลี่ยง
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่ไม่สุก, ชีสหรือเนยแข็ง, ไส้กรอก และแฮม, ชา และกาแฟ, น้ำอัดลม ซึ่งอาหารเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกในครรภ์
- อาหารที่คนท้องห้ามกินเด็ดขาดคือ สมุนไพรบางชนิด เช่น ดอกคำฝอย ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ทำให้ตกเลือด คาโมมายล์ สามารถทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานมาก และควรปรึกษาแพทย์ก่อนด้วย
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อบางโรคระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โดยการหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
บทความที่น่าสนใจ
อาหารคนท้องอ่อน แบบไหนบำรุง แบบไหนแสลง อะไรห้ามกิน อะไรกินได้
น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง
ท้องแข็ง คนท้อง อันตราย เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็งห้ามทำ 4 เรื่องนี้เด็ดขาด!!
ที่มา thehealthsite, rakluke