วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งคำว่า “ปิยมหาราช หรือ พระปิยมหาราช” นั้นมาจากความรักใคร่ จงรักภักดี และเชิดชูพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงทำพระราชกรณียกิจสำคัญ จนทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมากมาย
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม มีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน ท่านได้พลิกหน้าประวัติศาสตร์ไทย ด้วยการเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ที่มีมาแต่ช้านาน เพื่อให้เกิดซึ่งความเท่าเทียมกัน และการทำเทคโนโลยี ความทันสมัยต่าง ๆ ที่ได้ไปเห็นจากต่างประเทศ มาปรับใช้ในบ้านเมืองของตนเอง ทำให้เกิดความพัฒนา เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคสมัยของท่าน เมื่อท่านได้สวรรคต ทางราชการจึงได้ประกาศให้ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นเสมือนวันระลึกถึงคุณงามความดี ของท่าน โดยให้เรียกวันนี้ว่า “วันปิยมหาราช” พร้อมทั้งกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการ
เหตุการณ์สำคัญในสมัย ร.5 สู่ความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อท่านได้ขึ้นครองราชย์ จึงได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเสมอภาค เท่าเทียมกัน โดยผลงานของท่านมีมากมาย โดยเรารวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ออกมาได้ดังนี้
- การเลิกทาส : ได้มีการประกาศเด็ดขาด ออกมาเป็นพระราชบัญญัติเลิกทาส โดยเรียกว่า “พระราชบัญญิตทาส ร.ศ.124” ในปีพ.ศ.2448 เป็นการประกาศเพื่อให้มีการเลิกระบบทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด และเด็กที่เกิดจากทาส จะไม่เป็นทาสอีกต่อไป หากผู้ใดคิดจะซื้อขายทาสเหมือนเช่นในอดีต ก็จะมีโทษทางอาญา
- การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ : ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม
- การศึกษา : ทรงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้า เรียน โรงเรียนภาษาไทยนี้
- การศาล : ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลต่าง ๆ ให้มาขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกัน
- การคมนาคม : ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่ คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น
- การสุขาภิบาล : ได้ทรงตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดูแลจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง เช่น ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงเด็ก
- การสงครามและการเสียดินแดน : ท่านทรวงควบคุมการเสียดินแดนของไทย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พยายามทำให้ได้ประโยชน์จากการเสียดินแดนให้มากที่สุด
- การเสด็จประพาส : ระหว่างที่ยังมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายที่ เพื่อดูแบบอย่างการปกครอง และนำมาแก้ไขดัดแปลงใช้ในประเทศของเราบ้าง
- การศาสนา : ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกโดยแท้จริงในด้านพระพุทธศาสนา
- การวรรณคดี : ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น
การเลิกไพร่ เลิกทาส การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชาติไทย
แต่ดั้งเดิมนั้นประเทศไทยของเรา มีพลเมืองที่เป็นชนชั้นทาสมากกว่า 30% ของพลเมืองทั้งประเทศ เนื่องจากการได้รับวรรณะทาสนั้นจะถูกสืบจากสายเลือด หากพ่อแม่เป็นทาส ลูกก็จะเป็นทาสด้วย โดยทาสนั้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ
- ทาสสินไถ่: เกิดจากการขายตัวเป็นทาส ทาสประเภทนี้มักยากจน
- ทาสในเรือนเบี้ย: เกิดจากการที่แม่เป็นทาส พ่อเป็นนายทาส
- ทาสมรดก: เกิดจากการส่งต่อมรดกของนายทาสที่เสียชีวิตลง ส่งให้นายทาสคนต่อไป
- ทาสท่านให้: ทานที่ได้รับมาจากผู้อื่น
- ทาสทัณฑ์โทษ: กรณีที่บุคคลนั้นถูกลงโทษ แต่ไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้หมด ถ้าหากมีนายทาสมาช่วยเหลือ ถือว่าบุคคลนั้นกลายเป็นทาสของนายทาสคนนั้น
- ทาสที่ช่วยไว้จากความอดอยาก: คือการขายตนเองให้นายทาส เพื่อหลีกหนีจากความอดอยากที่เผชิญอยู่
- ทาสเชลย: เกิดจากการที่ประเทศหรือพลเมืองนั้นๆ แพ้สงคราม จึงถูกผู้ชนะสงครามนำคนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้
การจะหลุดออกจากการเป็นทาสนั้นมี 6 วิธี
- การหาเงินมาไถ่ถอนตนเอง
- การบวชที่ต้องได้รับการยินยอมจากนายทาส
- การหลบหนีจากการเป็นเชลยในสงคราม
- การแต่งงานกับชนชั้นสูงกว่า
- การแจ้งความนายจ้างว่าเป็นกบฏ และตรวจสอบว่าเป็นจริง
- การประกาศจากรัชกาลที่ 5 ให้มีการเลิกทาส
พระบรมรูปทรงม้า
ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ โดยบริษัทซุซ เซอรเฟรส ฟองเดอร์ แล้วเสร็จเมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 รูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง ประทำอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง หล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ เป็นรูปม้ายืน สูง 6 เมตร กว้าง 2.5 เมตร และยาว 5 เมตร
ในปัจจุบันมีประชาชนมากมายเข้าไปสักการบูชา ซึ่งดอกไม้ที่ประชาชนนิยมไปถวายคือดอกกุหลาบสีชมพู เนื่องจากเป็นสีเดียวกันวันพระราชสมภพของพระองค์ (วันอังคาร) ที่งดงาม และหนามแหลมคมเปรียบเสมือนอำนาจของพระองค์ เชื่อว่าหากบูชาแล้วจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจมากขึ้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ของไหว้เสด็จพ่อ ร.5 บูชา ร.5 อย่างไรให้ได้ผล? ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ
ร.3 กษัตริย์เจ้าสัว อยากเป็นเศรษฐี ต้องบูชา บูชายังไงให้ปัง
วันหยุดประจำปี ปฏิทินวันหยุด 65 วันหยุด วันสำคัญ มีวันไหนบ้าง เช็คเลย !