พัฒนาสมองลูก ด้วย 21 วิธีสุดปัง ช่วยพัฒนาสมองลูกได้เต็มที่แน่นอน!
สมองเด็กเป็นอีกหนึ่งที่น่ามหัศจรรย์นะคะ มันพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากในช่วงแรกของชีวิต วันนี้เรามี 21 วิธี ช่วย พัฒนาสมองลูก ให้เต็มศักยภาพเลยค่ะ ติดตามได้เลย
1.กระตุ้นการมองเห็นเพื่อพัฒนาสมอง
การสบตากับลูกนั้นจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้ลูกเห็นภาพได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกจดจำใบหน้าได้ด้วย นักวิจัยยังเชื่ออีกว่าการกระตุ้นการมองเห็นของลูกนั้นยังทำให้ลูกเริ่มมีทักษะการแก้ไขปัญหา และเริ่มที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ต่อมาการมองเห็นจะพัฒนาเป็นการสบตา เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจกับคนอื่นๆ เพื่อให้ลูกมีความเป็นผู้นำนั่นเองค่ะ
2.กระตุ้นด้วยเสียงเพลง
เด็กๆ ที่ฟังเพลงคลาสสิกหรือเพลงแจ๊สจะมีผลการเรียนที่ดี ชื่นชมกับศิลปะและมีความสงบมีสมาธิมากกว่าเด็กที่ฟังเพลงประเภทอื่นๆ ที่พลังงานด้านลบ เช่นเพลงงแร๊พ อาร์แอนด์บี ฮาร์ดร็อค เพลงคันทรี เมทัล เนื่องจากเพลงเหล่านี้จะทำให้ไอคิวลดลงค่ะ นอกจากนี้เด็กที่เล่นดนตรียังมีทักษะด้านสังคมที่ดีขึ้นถึง 15-20 จุดของไอคิวเลยนะคะ
3.สอนให้ลูกเข้าใจในเหตุและผล
หากคุณพ่อคุณแม่สอนว่าสิ่งใดๆ ก็ตามที่ลูกทำนั้น จะส่งผลอื่นๆ ต่อไป จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีเหตุผล เข้าใจเวลาที่ร้องขอแล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถให้ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อไปเป็นการทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นๆ ในอนาคตของลูกค่ะ
4.กินนมแม่
มีงานวิจัยมากถึง 400 ชิ้น ที่บอกว่านมแม่นั้นดีที่สุดสำหรับลูกทั้งช่วงวัยเด็กไปจนถึงวัยเตาะแตะ ยกเว้นว่าจะมีเหตุจำเป็นไม่สามารถให้นมแม่ได้ ดังนั้นการให้นมแม่ควรให้นานที่สุดเท่าที่จะให้ได้เลยค่ะ เด็กที่กินนมแม่ล้วนจะเป็นภูมิแพ้น้อยลง ป่วยน้อยลง น้ำหนักขึ้นได้ดีขึ้น และมีความมั่นคงทางอารมณ์สูง แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับโภชนาการของคุณแม่ช่วงที่ให้นมลูกด้วยนะคะ
5.งดทีวี
ทีวีก็คือการล้างสมองหรือการสะกดจิตดีๆ นี่เองค่ะ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรให้ลูกดูทีวีเลย เด็กที่ไม่ได้ดูทีวีจะมีผลการเรียนที่ดีกว่า มีปัญหาพฤติกรรมที่น้อยกว่า ครอบครัวที่มีทีวีในบ้านลูกๆ จะมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่น้อยลง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถืออีกด้วยค่ะ
6.การสัมผัสสำคัญสุดๆ
เด็กที่มีการสัมผัสกับคุณพ่อคุณแม่หรือคนที่เลี้ยงดูเป็นประจำ จะมีระดับฮอร์โมนที่ดีกว่าเด็กที่ได้รับการสัมผัสน้อย ซึ่งระดับของฮอร์โมนนี้เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วย และโรคชราอื่นๆ ด้วยละค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกอีกด้วยค่ะ
7.ปล่อยให้ลูกสอนบ้าง
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการสอนคนอื่น ดังนั้นปล่อยให้ลูกสอนบ้าง เพราะนอกจากจะได้ทักษะการสื่อสารแล้ว ลูกยังทบทวนสิ่งต่างๆ ด้วยตัวของเขาเองอีกด้วยค่ะ
8.เปลี่ยนกิจวัตรบ้าง
สำหรับเด็กที่เป็น ADHD กิจวัตรคือเรื่องที่สำคัญและทำให้เขาใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับเด็กธรรมดาๆ แล้ว การเปลี่ยนสิ่งต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ อย่างเปลี่ยนการส่งหน้าโรงเรียนเป็นการส่งบนห้อง เปลี่ยนตำแหน่งที่นั่ง เปลี่ยนอาหารบ้าง จะช่วยให้ลูกเกิดทักษะยืดหยุ่นมากขึ้น ให้ลูกเป็นคนที่ไม่ยึดติดค่ะ
9.เล่นเกมส์ถ้วย 3 ใบ และลูกบอล 1 ลูก
การซ่อนลูกบอลไว้ในถ้วยแล้วสลับตำแหน่งไปมา นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว ยังช่วยให้ลูกเข้าใจในเรื่องที่ว่า วัตถุนั้นหายไปแล้วกลับมาใหม่ได้ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะการสังเกตและการแก้ไขปัญหา ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ พัฒนาการสอดประสานระหว่างมือและตาอีกด้วยค่ะ
10.ปล่อยให้ลูกเรียนรู้
พัฒนาการหนึ่งของลูกคือ การเข้าใจในแรงโน้มถ่วงของโลก เวลาที่ปล่อยสิ่งของให้ร่วงลงพื้นแล้วหยิบขึ้นมา ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ในจังหวะนี้ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มเติมในเรื่องของการเก็บของที่ตัวเองทำตก หรือเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จแล้วได้ด้วย ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมาก อีกเรื่องคือหากลูกปาไปไกลเกินไป ก็อาจจะหาไม่เจอได้นั่นเองค่ะ
11.ผิวสัมผัสต่างๆ
ประสาทสัมผัสของลูกทางด้านการสัมผัสคือเรื่องที่สำคัญมากๆ ผิวสัมผัสของผ้าแต่ละแบบ พื้นดิน หิน ทราย และน้ำ มันยังเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับลูกที่เขาจะเรียนรู้ อย่างไรก็ตามนี่คือวัยเอาของเข้าปากค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูลูกอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกันนะคะ
12.อาหารเล่นได้ไม่ใช่แค่ของกิน
หรืออย่างน้อยควรให้ลูกใช้มือหยิบกินได้ เด็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 4 ปีนั้น ยังไม่สามารถใช้ช้อนส้อมได้ดี ดังนั้นการปล่อยให้ลูกใช้มือหยิบกิน จะทำให้ลูกได้สำรวจและเก็บข้อมูลของอาหารแต่ละอย่าง ช่วยให้มื้ออาหารไม่ต้องเป็นการป้อนอย่างเดียว นอกจากนี้ไม่ควรเปิดทีวีขณะการรับประทานอาหาร เพื่อให้ลูกได้รับรู้ว่ากินแค่ไหนถึงเรียกว่าอิ่ม ไม่ใช่นั่งกินเพลินอยู่หน้าจอทีวี เพราะจะทำให้ติดเป็นนิสัยและเริ่มต้นสร้างลูกให้เป็นโรคอ้วนค่ะ
13.เรียนรู้ภาษาง่ายกว่าตัวเลข
การสอนเรื่องตัวเลขและอักษรคือเรื่องยากสำหรับเด็กๆ แต่กลับกันในแง่ของการสื่อสารและเรื่องของภาษา มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าเด็กสองภาษาจะมีการเรียนรู้ที่เร็วกว่าเมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่พูดภาษาเดียว แถมยังเป็นทักษะที่ติดตัวไปจนโตและได้เปรียบกว่าคนอื่นด้วยค่ะ
14.อ่าน อ่าน อ่าน อ่านเข้าไปให้มันหลุดโลก
ขณะที่ลูกยังจำคำศัพท์ต่างๆ ไม่ได้ แต่ลูกจะเริ่มเข้าใจเนื้อหาต่างๆ ในหนังสือหรือหนังสือพิมพ์แล้ว มีงานวิจัยที่บอกว่า เด็กที่มีอายุเพียง 8 เดือน จะสามารถจำรูปแบบได้ และเด็กอายุ 2 ขวบ จะสามารถจำคำง่ายๆ บนหนังสือได้แล้ว นอกจากการอ่านนิทานปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถต่อยอดเป็นการถามลูกถึงเรื่องที่เพิ่งอ่านไปได้ หรือให้ลูกแต่งนิทานต่อจากนั้นก็ได้ค่ะ
15.ให้ลูกแต่งนิทานเองบ้าง
ส่วนใหญ่เด็กๆ จะเป็นนักแต่งนิทานไม่ใช่นักเล่าเรื่องนะคะ การปล่อยให้จินตนาการของลูกมาโลดเล่นอยู่ในความเป็นจริงบ้าง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยปะติดปะต่อคำให้เป็นประโยคบ้าง ก็จะยิ่งทำให้เรื่องราวนั้นน่าสนุกและน่าติดตามค่ะ
16.ให้ลูกจำหน้าคนในครอบครัวให้ได้
ยังไม่จำเป็นต้องให้ลูกจำชื่อคนในครอบครัวให้ได้หมดหรอกค่ะ เพราะไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ๆ ถ่ายรูปสมาชิกในครอบครัวไว้ แล้วเอารูปของแต่ละคนมาทำเป็นการ์ด เล่นเกมส์ความจำกัน เช่น คนนี้ชื่ออะไร หรือ คนนี้เคยซื้อของขวัญอะไรให้ นอกจากนี้ยังจะช่วยลดความกลัวคนแปลกหน้าของลูกลงอีกด้วยค่ะ
17.ให้ลูกนำบ้าง
เรื่องที่ไม่ได้หนักหนาเช่น เลือกร้านอาหาร เลือกสี เลือกอาหาร ลองให้ลูกเป็นคนเลือกดูค่ะ เพราะมันจะเป็นการสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบให้สิ่งที่เขาทำลงไป ช่วยให้ลูกนึกถึงใจผู้อื่นด้วย หากลูกโตขึ้นมาหน่อยแล้วที่บ้านมีสัตว์เลี้ยง ลองให้เขารับผิดชอบการกำจัดสิ่งปฏิกูลเรื่องเปลี่ยนน้ำตู้ปลา เก็บขี้หมาขี้แมว ก็เป็นการสร้างความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็กค่ะ
18.พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกบ่อยๆ
ไม่ว่าจะมีความสุข เศร้า หรือเฉยๆ ลองอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกยังไง สิ่งเหล่านี้จะสอนให้ลูกรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ผิดที่เขาจะรู้สึกหรือมีอารมณ์ใดๆ และอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นย่อมมีเหตุผลที่มาที่ไป ยิ่งในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่เป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว การให้ลูกรู้อารมณ์ตัวเองจึงช่วยได้เยอะค่ะ
19.สำรวจโลกกว้างหน้าบ้านก็ได้
เรื่องการสำรวจคือสิ่งที่เด็กแทบทุกคนถนัดค่ะ สร้างสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบๆ บ้านให้ปลอดภัย ให้ลูกหาของเล่นชิ้นที่หายไป หาดอกไม้สีต่างๆ ก้อนหิน หรือสมาชิกในบ้านตามคำใบ้ และยังต่อยอดหากลูกต้องการข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกด้วยค่ะ
20.สร้างหนังสือแห่งความทรงจำ
ถ่ายรูปหรือให้ลูกวาดเหตุการณ์ต่างๆ ที่เขาเจอมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือตรงกันข้ามก็ตามแต่ค่ะ เพื่อให้ลูกได้ระลึกถึงและบอกถึงความรู้สึกต่างๆ จากนั้นนานๆ ทีก็มาเปิดให้ลูกได้เล่าเรื่องราวนั้นอีกครั้งนึง เป็นการสร้างขั้นตอนที่เรียกว่า การฟื้นความทรงจำนั่นเองค่ะ
21.ให้ลูกทำงานบ้างแม้จะยังทำได้ไม่ดีก็ตาม
เด็กๆ ชอบช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้วค่ะ ให้ลูกเป็นผู้ช่วยบ้าง เอาของไปให้คนในบ้าน หยิบของให้หน่อย ปัดกวาดบ้าง ล้างผลไม้ หรือเด็ดผัก คุณพ่อคุณแม่กำลังสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในงานบ้าน ซึ่งจะเป็นผลดีในตอนที่ลูกโตด้วยนะคะ
ที่มา Developing Human Brain
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 วิธีสุดเก๋ สื่อสารกับลูกในท้อง เสริมสร้างสมองตั้งแต่ยังไม่คลอด
วิจัยมาแล้วแม่สะโพกใหญ่จะทำให้ลูกเกิดมาฉลาดและสมองดี