การต้องรับบทเป็นคุณแม่ว่ายากแล้ว แต่สิ่งที่ยากและท้าทายยิ่งกว่า คือการเป็นคุณแม่ของเด็กผ่าคลอด เพราะไม่เพียงต้องใส่ใจในเรื่องของภูมิคุ้มกันที่เจ้าตัวน้อยพลาดไปตั้งแต่ก้าวแรกของชีวิต เรื่องสมองของเด็กผ่าคลอด ก็มีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
การที่เด็กผ่าคลอดพลาดโอกาสการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่ช่วยส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากการคลอดผ่านหน้าท้องคุณแม่ การผ่าคลอดยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียนของลูกรัก จากการวิจัยพบว่า การเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงเริ่มต้นของเด็กผ่าคลอดมีความแตกต่างกับเด็กคลอดธรรมชาติ¹
แต่อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะแค่เราใส่ใจมากขึ้นอีกขั้น ก็สามารถช่วยลูกรักเสริมสร้างสมองและภูมิคุ้มกันที่ดี เราจึงอยากชวน (ว่าที่) คุณแม่ มาเช็กความพร้อมกันก่อนลงสนามรับบทเป็นคุณแม่ผ่าคลอดกันค่ะ
เช็กความพร้อมของ (ว่าที่) แม่ผ่าคลอด คุณพร้อมแค่ไหน?
การดูแลสุขภาพของคุณแม่และเจ้าตัวเล็กอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่รู้ว่าตั้งครรภ์ ด้วยการใส่ใจโภชนาการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เลือกรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและภูมิคุ้มกัน ซึ่งสารอาหารสำคัญเหล่านี้สามารถส่งต่อไปยังลูกรักในครรภ์ได้ ก็จะช่วยให้ลูกรักมีต้นทุนพัฒนาการทางร่างกายและสมองที่ดีตั้งแต่ก่อนคลอด ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงเริ่มต้นหลังคลอด
โดยสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองที่ดี ไม่ใช่แค่โภชนาการที่คุณแม่รับประทานทั่วไปในทุกวัน อย่าง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามินหลากหลายชนิด แต่ยังต้องห้ามพลาดสารอาหารที่จำเป็นต่อกระบวนการสร้าง และพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ ได้แก่ โฟเลต,ธาตุเหล็ก, โอเมก้า 3, ดีเอชเอ, ไอโอดีน เป็นต้น
ดังนั้น คุณแม่จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ส่งเสริมการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทสมอง ของทารกในครรภ์อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง เพื่อให้กระบวนการสร้างสมองของลูกรักเป็นไปอย่างสมบูรณ์ หากคุณแม่ดูแลสุขภาพ ของตนเองได้ครบตามเช็กลิสต์นี้ ก็บอกได้เลยว่า พร้อมสำหรับก้าวสำคัญในอนาคตที่กำลังมาถึงในโค้งสุดท้าย ก่อนครบกำหนดคลอดแล้วนั่นเอง
ชวนรู้จัก 2 สิ่งสำคัญในนมแม่ ที่พลาดไม่ได้สำหรับเด็กผ่าคลอด ช่วยให้ลูกภูมิคุ้มกันแข็งแรง สมองไว พร้อมทำตามความฝันได้เต็มศักยภาพ
เมื่อถึงวันคลอด วินาทีแห่งการเรียนรู้ได้เริ่มต้นทันทีที่เจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก การมอบพื้นฐานสมอง และภูมิคุ้มกันที่ดีตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสมองของเด็กผ่าคลอดได้มากขึ้น และจะดีมากขึ้นไปอีกขั้น หากคุณแม่เลือกให้นมแม่แก่ลูกน้อย เต็มเปี่ยมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งสารอาหารสำคัญสำหรับสมอง และภูมิคุ้มกันของลูกรัก
เราอยากชวนคุณแม่ผ่าคลอดมา ทำความรู้จักกับ 2 สิ่งสำคัญในนมแม่สำหรับสมองและภูมิคุ้มกัน ที่เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาทองของการพัฒนาสมอง ระบบประสาท และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ซึ่ง 2 สิ่งสำคัญดังกล่าว ที่พลาดไม่ได้สำหรับเด็กผ่าคลอด มีดังนี้
- สฟิงโกไมอีลิน
สารอาหารสมองที่พบในนมแม่ มีบทบาทสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทในสมอง ช่วยให้แขนงเซลล์สมองเชื่อมโยงกันได้ดี และสามารถส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็วแบบก้าวกระโดด เมื่อสมองประมวลผลได้เร็วฉับไว ก็ช่วยให้เด็กผ่าคลอดเรียนรู้เร็ว จดจำดี และการที่แขนงประสาทนำออกมีปลอกไมอีลินหุ้มอยู่จะส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็วกว่าการไม่มีปลอกไมอีลินสูงกว่า 100 เท่า² ดังนั้น คุณแม่ยิ่งดูแลให้เด็กผ่าคลอดให้ได้รับสฟิงโกไมอีลินจากนมแม่เร็วเท่าไร กระบวนการพัฒนาสมองของลูกรัก ก็จะสร้างได้ไวขึ้นเท่านั้น
- จุลินทรีย์สุขภาพ บีแล็กทิส (โพรไบโอติก บีแล็กทิส)
เนื่องจากเด็กผ่าคลอดจะพลาดโอกาสการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในช่องคลอดของคุณแม่ จึงจำเป็นต้องเร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงแรกเริ่มอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือการได้รับจุลินทรียฺสุขภาพในนมแม่ ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น โพรไบโอติก บีแล็กทิส (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) ซึ่งเป็นโพรไบโอติกที่มีผลวิจัยรองรับจำนวนมากและน่าเชื่อได้ว่า ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้³ มากไปกว่านั้น เด็กผ่าคลอดยังควรได้รับ พรีไบโอติก จากนมแม่ เช่น 2’FL ซึ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตและปริมาณของจุลินทรีย์สุขภาพ จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ได้ดีด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า การที่เด็กผ่าคลอดพลาดโอกาสสำคัญในการพัฒนาสมองและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงแรกเริ่มไปนั้น คุณแม่ก็ยังสามารถช่วยเสริมสร้างระบบประสาทและสมองที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว จดจำดี มีไหวพริบและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ด้วยสารอาหารสมอง อย่าง สฟิงโกไมอีลิน และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงได้จาก โพรไบโอติก เช่น บีแล็กทิส รวมถึง พรีไบโอติก 2’FL ที่พบในนมแม่ ก็จะช่วยให้เด็กผ่าคลอด ก้าวสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้าได้อย่างมั่นใจ มีพื้นฐานสมอง และสุขภาพที่ดี พร้อมเติบโตอย่างมีศักยภาพ สามารถรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปไวได้อย่างมีคุณภาพ
Reference.
- Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169 – 177.
- Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
- Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69 – S73.