ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาถึงตอนนี้ ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ หรือเกือบจะ 4 เดือน ไม่ว่าคุณแม่ที่อุ้มท้องลูกเดี่ยวหรือฝาแฝด อาการในช่วงนี้อาจจะไม่ต่างกัน เนื่องจากระดับของฮอร์โมนที่สูงกว่าในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้องมากขึ้นและอาจจะยังคงมีอาการคลื่นไส้อยู่ หรือบางคนไม่มีเลย น้ำหนักตัวแม่อาจจะขึ้นราว ๆ 2.2 – 4.5 กิโลกรัม ตอนนี้ต้องดูแลสุขภาพ อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

 

ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์มีสัญญาณบอกอย่างไร ?

ว่ากันว่า พอถึงช่วงตั้งครรภ์เข้าสัปดาห์ที่ 15 คุณแม่หลาย ๆ ท่านจะรู้สึกเซ็กซี่  หรือมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น นี่คือหนึ่งสัญญาณบอกเราหรือเปล่า แต่ยังมีอีกหลายอาการที่คุณแม่ต้องรับมือ กับการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 แล้ว

 

1. มีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น

จากที่อิดโรยในไตรมาสแรก พลังของคุณแม่ฟื้นกลับมาแล้วอาจรู้สึกตื่นตัวเมื่ออยู่ในห้องนอนมากขึ้น แต่จากอาการในสัปดาห์ที่ 15 แต่อาการนี้ใช่จะเกิดขึ้นกับทุกคน เพราะคุณแม่บางท่านอาจจะไม่นึกถึงเรื่องการมีเซ็กส์เลยก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าร่วมรัก คนท้อง รวม 10 ท่าเซ็กส์ปลอดภัย ท่าร่วมรักขณะตั้งครรภ์ 

 

2. เลือดกำเดาไหลง่าย

อย่าเพิ่งตกใจไปว่า ร่างกายจะมีโรคแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นระหว่างนี้หรือเปล่า เนื่องจากเลือดกำเดาไหลจะมีปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้นและช่องจมูกที่เปราะบางกว่าปกติ เพราะหลอดเลือดในร่างกายคนท้องขยายตัวกว้างขึ้น จนบางลงเพื่อรองรับปริมาณเลือดจำนวนมากที่ร่างกายผลิตขึ้นระหว่างท้อง จึงไม่แปลกที่แม่จะมีเลือดออกที่จมูก หรือเลือดออกตามไรฟัน

 

3. รู้สึกเป็นหวัดง่าย

ช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ คุณแม่ตั้งครรภ์จะเป็นหวัดได้ง่าย ไอบ่อย ๆ สำหรับไข้หวัดที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะแม่ท้องดูแลตัวเองได้ไม่ดี เพราะช่วงนี้ ภูมิคุ้มกันร่างกายของแม่จะลดต่ำลง เพื่อไม่ให้ร่างกายของแม่ปฏิเสธทารกในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. อาการแสบร้อนกลางอก กรดไหลย้อน

คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีอาการไม่สบายท้อง เนื่องจากฮอร์โมนที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ดังนั้นคุณแม่ต้องระวังเรื่องอาหารการกินเพราะสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ ปรึกษาคุณหมอเรื่องการรับประทานและเตรียมยาลดกรดเอาไว้สักหน่อย นอกจากช่วยแก้ไขอาการแล้วยังมีแคลเซียมที่จำเป็นต่อคนท้องอย่างมากด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. เหงือกบวม

ความสำคัญไม่แพ้ระบบร่างกายส่วนอื่น ๆ นั่นคือเหงือกและฟัน ในช่วงนี้เหงือกของคุณแม่จะบอบบางเป็นพิเศษ ต้องดูแลอย่างดีมาก ๆ แปรงฟันบ่อยทุกครั้งหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันอย่างระมัดระวัง

 

6. หายใจไม่อิ่ม

แน่นอนว่า เริ่มท้องใหญ่ขึ้น เราแบกทารกที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่เหนื่อยง่าย รู้สึกอึดอัดนั่นหมายความว่าปอดของคุณแม่อาจจะขยายตัวได้ยากพอสมควรสำหรับการหายใจให้เต็มอิ่ม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. มดลูกขยาย

ในช่วงไตรมาสแรก มดลูกของคุณแม่ยังคงปลอดภัยอยู่ในอุ้งเชิงกราน พอเริ่มเข้าไตรมาสที่ 2 มดลูกจะเริ่มขยาย ตัวออกมาเพื่อรองรับลูกที่กำลังโตขึ้นทุกวัน อีกไม่นานจะโตจนพ้นเชิงกรานออกมาและอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น ที่สำคัญร่างกายของคุณแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป อัตราการเติบโตเองก็อาจแตกต่างกันเล็กน้อยเช่นกัน

 

8. ท้องผูก

อาการท้องผูกอาจเริ่มเป็นปัญหาเนื่องมาจากระดับโพรเจสเทอโรนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานได้ช้าลง ดังนั้นควรรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใย และดื่มน้ำให้มากขึ้น สัปดาห์นี้กระดูกของลูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณจึงควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ

 

9. สิวหาย หน้าอกขยายใหญ่

เรื่องนี้คุณแม่ต้องปลิ้มแน่ ๆ เพราะเข้าสู่ ช่วง 15 สัปดาห์ ผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น สิวอักเสบบนใบหน้าก่อนหน้านั้นจะหายและจางลง เพียงหมั่นล้างหน้าให้สะอาดและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นไปตามปกติ แต่ถ้าช่วงนี้ผิวมันขึ้น ต้องเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผิวหน้า นอกจากนี้ หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น และมีประสาทสัมผัสไวขึ้น สวมชุดชั้นในเดิมไม่ได้ ควรหาซื้อชุดชั้นในที่ออกแบบมาสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

 

10. เท้าบวมมากขึ้น

เท้าเริ่มใหญ่ขึ้น ทำให้รองเท้าที่มีคับลงทันตาเห็น ซึ่งอาการเท้าบวมเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์มีผลให้เอ็นในกระดูกเชิงกรานยืดขยาย รวมทั้งเท้าใหญ่ขึ้น อย่างน้อยครึ่งไซส์ หลังคลอดแล้วอาการบวมจะค่อย ๆ หายไป

 

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 15

ทารกอายุใกล้จะครบ 4 เดือนแล้วทราบหรือไม่ เขาจะมีขนาดตัวเท่ากับผลฝรั่ง โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอ่อนในช่วงสัปดาห์ที่ 15 นี้หนัก 2.5 ออนซ์ และยาวราว 4 นิ้ว สัดส่วนของลูกจะมีความปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะตอนนี้ขาเริ่มยาวกว่าแขนแล้ว

 

  • ร่างกายของทารกในสัปดาห์ที่ 15 จะเริ่มมี Brown Fat ซึ่งเป็นไขมันที่สร้างความอบอุ่นให้กับทารกน้อย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จวบจนคลอดออกมา
  • ทารกจะมีคิ้วและผมให้เห็นชัดขึ้น  ขาของทารกเริ่มยาวกว่าแขน ศีรษะน้อย ๆ จะไม่ใช่อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดแล้วแต่ จะมีพัฒนาการร่างกายที่ใหญ่ขึ้น อวัยวะต่าง ๆ เริ่มเติบโต ลำตัวยาวขึ้นและไม่นอนงอตัวตลอดเวลาเหมือนช่วงไตรมาสแรก
  • เชื่อไหมว่า ทารกน้อยสามารถสะอึกได้แล้ว การสะอึกของทารกในครรภ์เกิดขึ้นก่อนการหายใจได้เสียอีก แต่แม่ไม่รู้หรอกว่าลูกสะอึกเพราะไม่มีเสียงออกมา เนื่องจากหลอดลมลูกจะเต็มไปด้วยน้ำคร่ำไม่ใช่อากาศ ทำให้ไม่มีเสียงเวลาสะอึก
  • ร่างกายโดยรวมของลูกเริ่มสมส่วนแล้ว มีการสร้างกระดูกเล็ก ๆ สามชิ้นในหูชั้นใน ลูกน้อยในครรภ์จะได้ยินเสียงคุณแม่แล้ว แนะนำให้คุณแม่ร้องเพลงและพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดี สร้างความรักความผูกพัน กระชับสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับลูกน้อยในครรภ์
  • ในช่วงท้ายสัปดาห์ที่ 15 ลูกจะสามารถกำมือได้ทารกในครรภ์เริ่มแกว่งแขนขาไปมาบ่อย ๆ ราวกับว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์เลยค่ะ แต่ทารกน้อยจะหลับตลอดเวลา ลองรอดูไปอีก 1 – 2 สัปดาห์แล้วคุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกน้อยกำลังเคลื่อนไหวภายในครรภ์

 

การอัลตราซาวนด์ครรภ์ 15 สัปดาห์เป็นต้นไป

การอัลตราซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 15 หรือท้องใกล้ครบ 4 เดือนนี้จะเห็นลูกน้อยที่กระดุกกระดิกไปมาอยู่ในท้อง ตอนนี้ลูกสามารถขยับแขนขาและข้อต่อได้เต็มที่ ซึ่งคุณแม่มีทางเลือกที่จะตรวจครรภ์ได้แก่

  • Triple Marker Test (Quadruple Marker Test) จะมีการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่ ไปตรวจคัดกรองวัดระดับโปรตีนและฮอร์โมนในเลือดของคุณแม่เพื่อประเมินความเสี่ยงที่ลูกจะมีภาวะหลอดประสาทไม่ปิดและความผิดปกติทางโครโมโซม
  • การเจาะน้ำคร่ำออกมาตรวจ สามารถทำในระหว่างสัปดาห์ที่ 15 – 20 การทำหัตถการนี้สามารถวินิจฉัยภาวะหลอดประสาทไม่ปิด ความผิดปกติทางโครโมโซม และความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่น ๆ ได้ โดยทั่วไปแล้วเป็นการตรวจที่ไม่อันตรายต่อลูก แต่ก็อาจมีความเสี่ยงได้สักเล็กน้อย

 

เรื่องที่ควรทำตอน ท้อง 15 สัปดาห์

  • ภูมิคุ้มกันของแม่ท้องที่ลดลง อาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย แม่จึงต้องดูแลรักษาความสะอาด ไม่ให้บ้านสกปรก และต้องดูแลสุขภาพให้ดีด้วยค่ะ
  • อย่าอยู่ใกล้คนป่วย อย่าพาตัวเองไปอยู่ที่ที่คนเยอะ เพราะช่วงนี้ แม่ต้องระวังไวรัสและแบคทีเรียตัวร้าย
  • อารมณ์ทางเพศของแม่ท้องจะกลับมา ถ้าคุณแม่อยากมีเพศสัมพันธ์สามารถทำได้ แต่ต้องเลือกท่วงท่าที่ปลอดภัยสำหรับคนท้องด้วยนะคะ
  • ช่วงท้อง 15 สัปดาห์ จะเริ่มมีการนัดตรวจต่าง ๆ เกิดขึ้นกับแม่ท้อง ตั้งแต่การตรวจเลือด ไปจนถึงเจาะน้ำคร่ำตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ เพื่อคัดกรองหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ดาวน์ซินโดรม, Trisomy 18 รวมไปถึงโรค Spina Bifida หรือความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
  • ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ ฟลูออไรด์ในน้ำจะช่วยสร้างฟันและเคลือบฟันให้แข็งแรง ถ้าดื่มน้ำน้อยน้ำลายจะเหนียว ดื่มน้ำสะอาดเพียงพอจะกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นสมองปลอดโปร่งอยู่เสมอ

 

 

อาหารบำรุงครรภ์ที่เหมาะสมในคุณแม่ อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

ก่อนอื่นต้องบอกคุณแม่ตั้งครรภ์ว่า ระยะนี้อยู่ให้ห่างจากขนมกรุบกรอบเอาไว้ก่อน เพราะน้ำหนักสามารถเพิ่มขึ้นได้ประมาณสัปดาห์ละ 05.-1 กิโลกรัม  คุณแม่อย่าลืมรับประทานอาหารให้มากกว่าปกติประมาณ 300 แคลอรีต่อวัน และต้องเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพเสมอ หากน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาบางอย่างที่น่ากังวลระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ทั้งคุณแม่สามารถช่วยลูกในท้องพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหาร เช่น

 

  • วิตามินเอ – อย่างวิตามินในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดีหากรับประทานในปริมาณมาก ๆ เพราะในตับสัตว์มีไขมันมากเกินไป ดังนั้นวิตามินเอที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ในรูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง
  • วิตามินซี – คุณแม่ควรดื่มน้ำผลไม้จากตระกูลเบอร์รีมีประโยชน์และวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกน้อยในครรภ์ เนื่องจากช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารและส่งเสริมการสร้างเนื้อเยื่อช่วยให้ทารกแข็งแรงด้วย

 

การตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ มีข้อควรระวังหลัก ๆ คืออาการเจ็บป่วย เป็นไข้หวัด เนื่องจากภูมิคุ้มกันร่างกายของคนท้องลดต่ำลง รวมถึงอาการเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน แม่ท้องควรดูแลความสะอาดและสุขภาพนะคะช่วงนี้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลถึงจะดี

ที่มา : whattoexpect, mamastory

บทความโดย

Tulya