app

14 พัฒนาการ ลูกวัยเตาะแตะที่หาไม่ได้ในหนังสือ

พอเจ้าตัวเล็กเข้าสู่วัยเตาะแตะเริ่มยืนได้ เดินได้ก็มักจะมีพัฒนาการมาให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจเล่นเสมอ การที่เด็กเริ่มใช้ร่างกายตัวเองกับสิ่งของรอบข้างได้ นั่นหมายถึงก้าวแรกของพัฒนาการที่ดีสำหรับตัวเด็กนะคะ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยดูแลเพิ่มมากขึ้น มาดูกันว่าเจ้าตัวเล็กของเรามีพัฒนาการแบบนี้หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

14 พัฒนาการ ลูกวัยเตาะแตะที่หาไม่ได้ในหนังสือ

คุณแม่ควรสาธิตการเล่นให้ลูกดูทีละขั้นทีละตอน ตัวอย่างเช่น คุณแม่ลองหยิบรูปทรงสามเหลี่ยมหยอดลงในช่องสี่เหลี่ยมแล้วพูดว่า เอ…ทำไมหยอดไม่ลงนะ ถ้าอย่างนั้นลองเปลี่ยนอันใหม่ดีกว่า พร้อมบอกพูดว่า อ๋อ! ต้องใช้บล็อกสี่เหลี่ยมนั่นเอง เมื่อถึงเวลาที่ลูกต้องเล่นเองบ้าง เขาก็จะเรียนรู้ว่าต้องหยิบก้อนรูปทรงใดไปหยอดลงในช่องที่มีรูปทรงตรงกัน เรามาดู 14 พัฒนาการ ของลูกที่หาไม่ได้ในหนังสือกัน

ความยากของของเล่นชิ้นนี้ก็คือ ลูกจะต้องเลือกก้อนรูปทรงและเลือกช่องสำหรับหยอดให้ตรงกัน และลูกจะต้องหันด้านและมุมของก้อนรูปทรงให้ตรงพอดีกับช่องจึงจะหยอดลงไปได้ ดังนั้นของเล่นชุดนี้จึงอาจจะสร้างความหงุดหงิดผิดหวังให้เด็กหลายๆ คนที่ไม่สามารถจะหยอดก้อนรูปทรงใส่ลงไปในกล่องได้สำเร็จ

คุณแม่สามารถช่วยลูกพัฒนาทักษะนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้  โดยเริ่มต้นจากจุดง่ายๆ ที่ลูกพอจะทำได้ เมื่อทำได้สำเร็จแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความยากขึ้นไปทีละขั้น เช่น คุณแม่อาจจะเก็บก้อนรูปทรงอื่นๆ ไว้ เหลือให้ลูกเล่นคราวละ 1 ก้อน เช่น เริ่มจากก้อนทรงกลม จนลูกทำได้และจำรูปทรงกับช่องหยอดที่สัมพันธ์กันได้แล้ว จึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละก้อน เช่น เพิ่มก้อนสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อน เมื่อทำได้แล้วจึงเพิ่มก้อนสามเหลี่ยม และรูปทรงที่เหลืออื่นๆ จนครบ

เมื่อลูกรู้สึกว่าตัวเองทำได้ก็จะมีความสนุกและไม่ต้องร้องไห้เพราะความท้อแท้ผิดหวัง คุณแม่สามารถใช้วิธีนี้กับกิจกรรมอื่นๆ ได้ทุกเรื่อง  โดยการตัดทอนกิจกรรมออกเป็นขั้นเป็นตอน จากง่ายไปยาก และให้ลูกแก้ปัญหาของเขาเองทีละขั้นจนกว่าจะทำทั้งหมดได้สำเร็จ

ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

กิจกรรมใช้มือและตา พัฒนาการเคลื่อนไหว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะการมองเห็นของลูกน้อยนั้นเป็นเสมือนตัวแปรสำคัญที่เชื่อมโยงไปสู่การทำงานของสมองกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ก่อเกิดเป็นความสามารถในการเคลื่อนไหว ทรงตัว หยิบจับ คว้าของ หรือเขียนหนังสือได้ในที่สุด

การส่งเสริมให้ลูกได้ใช้สายตาและมือ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมอง และเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ให้ลูก โดยเฉพาะลูกวัยเตาะแตะที่ต้องใช้สายตาเพื่อการทรงตัวและเคลื่อนไหว หยิบจับสิ่งของมากขึ้น

มีกิจกรรมสำหรับเด็กมากมายที่สามารถช่วยเสริมสร้างทักษะเหล่านี้ เช่น คุณพ่อคุณแม่อาจหาของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการ เช่น ของเล่นประเภททุบ ตอก ตี อย่างระนาด หรือกลองที่มีเสียงต่างๆ บล็อกไม้ กล่องหยอดรูปทรงเรขาคณิต แป้งโดว์ สีแท่งใหญ่ๆ ให้ลูกขีดเขียนเล่น หนังสือภาพเพื่อฝึกการทำงานประสานกันระหว่างมือและตาให้ดีขึ้น หรือชวนลูกเล่นโยนรับลูกบอล จะช่วยฝึกทักษะการใช้มือและตาได้ไม่ยาก

เมื่อลูกโตขึ้นมาอีกหน่อย และกล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองหาลูกปัดขนาดใหญ่มาฝึกร้อยเล่นกับลูก หรือชวนลูกหาภาพที่ซ่อนอยู่ในหนังสือ หรือบัตรคำ เล่นกรอกน้ำใส่ขวด หรือโยนบอลใส่ตะกร้า เพื่อฝึกสายตาและความแม่นยำให้ลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถพัฒนาทักษะการประสานสัมพันธ์ได้ดีแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับโอกาสที่ลูกได้ฝึกฝนด้วยเช่นกัน

ด้านภาษาและการสื่อสาร

สอนลูกรู้จักคำตรงกันข้ามจากสิ่งใกล้ตัว

คุณแม่สามารถสอนภาษาและการสื่อสารให้ลูกได้ด้วยกิจวัตรประจำวันของเขา  นอกจากคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวเขาแล้ว ลูกน้อยควรเรียนรู้คำที่ตรงกันข้ามด้วย ฟังดูอาจจะยากเกินไปสำหรับเด็กในวัยนี้ แต่หากได้ลองใช้หรือพูดคุยกับลูกบ่อยครั้งก็จะทำให้ลูกเรียนรู้และเข้าใจไปได้เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการคือเวลาว่าง คุณแม่ลองชวนลูกเดินเตาะแตะไปรอบๆ บ้าน พร้อมกับพูดคุยถึงสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน และสอนคำตรงกันข้ามจากสิ่งใกล้ตัวนั้น  พร้อมกับแสดงท่าทางประกอบให้ลูกเห็น เช่น ไฟปิดอยู่ ไฟเปิดอยู่ /ประตูเปิดอยู่ ประตูปิดอยู่ /แก้วมีน้ำเต็ม แก้วไม่มีน้ำ/น้ำก๊อกเปิดอยู่ น้ำก๊อกปิดอยู่ ฯลฯ

การทำเช่นนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ลูกสามารถเรียนรู้คำตรงกันข้ามในเรื่องต่างๆ ได้ดีและเร็วขึ้น นอกจากนี้การที่ลูกรู้จักคำศัพท์ต่างๆ เพิ่มขึ้นนี้ จะทำให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อโตขึ้น เพราะจะสามารถสื่อสารหรือบอกสิ่งที่เขาต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ได้ง่ายขึ้นค่ะ

ด้านอารมณ์และสังคม

เสียงดนตรี ช่วยลูกอารมณ์ดี

เสียงดนตรีนับเป็นศิลปะที่สร้างสรรค์ ที่ไม่เพียงก่อให้เกิดความสุข ความพอใจ  เมื่อฟังดนตรีแล้ว จิตใจก็จะดีขึ้น ส่งผลให้ความรู้สึกนึกคิดหรือปัญญาก็เกิดขึ้นได้ คุณแม่จึงควรจัดกิจกรรมดนตรีให้ลูกอย่างเหมาะสมกับวัย เพื่อจะทำให้ลูกมีความสุขความสบายใจ และมีพัฒนาการด้านการฟัง การคิด การพูด และการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่ดีขึ้น

ลูกน้อยจะมีความสุขจากเสียงเพลงบรรเลงแผ่วเบา ช่วยทำให้เกิดความสงบทางใจ  ส่วนดนตรีที่มีจังหวะคึกคัก สนุกสนาน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการการเดินของลูกให้มีความมั่นคง เพิ่มความมั่นใจในการก้าวเท้าเดินของเด็ก และ จังหวะกลองที่ย่ำตี จะมีผลในการสร้างสมาธิ หรือสร้างความเพลิดเพลินให้กับลูกน้อยได

คุณ แม่ สามารถ สร้าง กิจกรรม  ดนตรี ง่ายๆ ให้ กับ ลูก น้อย ได้ เพียง แค่ หา อุปกรณ์ ที่ไม่ เป็น อันตราย ปราศ จาก สารพิษ และ ของ มีคม มา ดัดแปลง สร้างสรรค์ เป็น  อุปกรณ์ดนตรี จำ พวก เครื่อง เคาะ เครื่อง เขย่า ที่ ทำให้  เกิดเสียง  ได้ ไว้  เป็น ของ เล่น สำหรับ ลูก เป็น การฝึกให้ลูกได้ทดลองสร้างสรรค์เสียงด้วยตนเอง นอกจากความสุข สนุกสนาน สร้างอารมณ์ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มการสังเกตและการสนใจในสิ่งรอบตัวของลูกอีกด้วยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอบข้อสงสัย! อยากมีลูกต้องทําไง วิธีทางลัดทำให้มีลูกง่าย อยากท้องต้องกินอะไร!

ใช้ทักษะ Executive Functions (EF) สอนลูกให้ฉลาดด้วยการพา ไปเที่ยว

นิทานธรรมะ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน : ความใฝ่รู้ สอนลูกให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ

 

https://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf

 

บทความโดย

Napatsakorn .R