อย่ากังวลหากลูกอายุ 11 เดือนแล้ว แต่ยังไม่คลาน

"อย่ากังวลมากเกินไป หากลูกยังไม่คลาน เพราะพวกเขาจะเริ่มทำในเวลาที่พวกเขาพร้อมเอง"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อท่านนี้ ต้องการสื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเห็นว่า เด็กแต่ละคนนั้น มีวิวัฒนาการต่างกัน การที่ลูกไม่ยอมยืน เดิน หรือยังไม่คลานนั้นไม่ได้แปลว่า ลูกของคุณมีความผิดปกติ เพราะฉะนั้นเลิกกังวลเถอะ

คุณพ่อแดเนียล เล่าว่าตอนนั้นลูกชายของคุณพ่อมีอายุได้ 11 เดือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมที่จะคลาน แต่ก็น่าแปลกเพราะเวลาที่เราจับให้เขายืน เขากลับยืนได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาไม่นานก็ตามที เมื่อพาลูกไปปรึกษาหมอ ก็กลับได้รับคำตอบว่า “11 เดือนควรเริ่มคลานได้แล้วนะ นี่มันช้าเกินไปแล้ว”

หมอก็ให้คุณพ่อและคุณแม่นั้นไปปรึกษาหมอที่เกี่ยวกับทางด้านพัฒนาการของเด็กและนักบำบัด คุณพ่อเล่าว่า คุณพ่อเข้าใจว่าทุกคนพยายามจะช่วย แต่พอนักบำบัดกลับพยายามบังคับให้ลูกชายคลานให้ได้ ลูกจึงร้องออกมาด้วยความเสียงดัง คุณพ่อรู้สึกสงสารลูก จึงตะโกนบอกให้นักบำบัดหยุด!! “พอแล้ว! ไม่ต้องทำอีกแล้ว เลิกบังคับเขาเสียที ผมไม่อยากให้เขารู้สึกกลัว จะคลานได้หรือไม่ได้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะผมมั่นใจว่า ลูกของผมจะเดินและทำอะไรเองได้ในเวลาที่เขาพร้อมเอง”

หลังจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ลูกชายของคุณพ่อก็มีอายุได้ 4 ขวบแล้ว “ลูกชายของผมซนมากจริง ๆ เขาชอบเล่นกับคุณพ่อและคุณแม่มาก พัฒนาการของเขาทุกอย่างปกติดี ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง กระโดด หรือคลาน เขาทำได้เป็นอย่างดี ผมเชื่อว่า เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่ต่างกัน อย่าเอาเด็ก ๆ มาเปรียบเทียบกัน เด็ก ๆ จะเริ่มทำอะไรได้เอง ในเวลาที่เขาพร้อมกว่านี้ ดังนั้น อย่าเป็นกังวลมากเกินไป หากลูกยังไม่เริ่มหัดคลาน หรือเดินในตอนนี้ เพราะเขาจะทำเองในเวลาที่เขาพร้อม” คุณพ่อกล่าว

คลิกเพื่ออ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องของการคลานได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
ความสำคัญของการคลาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคลานเป็นพัฒนาการด้านร่างกายที่สำคัญของทารก เพราะเป็นพื้นฐานสู่ขั้นต่อไปก็คือ การเดิน ซึ่งสำหรับการคลานนั้น กล้ามเนื้อแขนและขาจะต้องเคลื่อนไหวสัมพันธ์กัน การคลานจะช่วยให้ลูกเกิดการเรียนรู้เรื่องการควบคุมตัวเอง รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเรียนรู้คำสั่งของพ่อแม่ และเมื่อลูกคลานได้ นั่นหมายความว่าประสาทสัมผัสทั้งห้าจะทำงานสัมพันธ์กับสมอง ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีต่อพัฒนาการทางร่างกายของลูก อย่างไรก็ดีพบว่าเด็กจำนวนมากพัฒนาการข้ามขั้น โดยลูกไม่ยอมคลานแต่เกาะยืนและเดินได้เลย

สาเหตุที่ลูกไม่คลานสักที

1. พัฒนาการก้าวกระโดด เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มคืบคลานได้ เมื่ออายุ 6-7 เดือน อย่างไรก็ดีพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเร็ว บางคนอาจจะช้าหน่อย เริ่มคืบคลานได้ตอน 10 เดือนขึ้นไป หรืออาจพัฒนาการข้ามขั้น ลูกไม่คลานแต่ลุกขึ้นเกาะยืน เกาะเดิน ตั้งไข่ จนเดินได้เอง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ถ้าลูกทำได้ช้ากว่าเกณฑ์มาก แนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอค่ะ

เกณฑ์ที่ส่งสัญญาณว่าอาจไม่ปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อายุ 6 เดือน          ลูกยังไม่พลิกตัว

อายุ 10 เดือน        เวลาจับนั่งลูกไม่สามารถทรงตัวได้เองเลย

อายุ 12 เดือน        ลูกไม่เหนี่ยวตัวเกาะยืน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อายุ 18 เดือน        ลูกไม่ตั้งไข่หรือเดินเอง

2. การเลี้ยงดู หากเด็กไม่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อของร่างกาย สาเหตุที่ลูกไม่คลานก็เป็นเรื่องของการเลี้ยงดูของคนในบ้าน

พ่อแม่อุ้มลูกตลอด กลัวโน่นกลัวนี่ กลัวลูกสกปรก กลัวลูกทำพื้นเลอะเทอะ ฯลฯ ไม่ปล่อยวางให้เล่นกับพื้น ลูกก็มักคลานช้า เพราะกล้ามเนื้อแขนขาของลูกไม่มีโอกาสได้ขยับเคลื่อนไหว ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระกับพื้น สร้างให้ลูกเกิดประสบการณ์ในการใช้กล้ามเนื้อส่วนแขนขา โดยกระตุ้นเด็กให้คลานด้วยการหาของเล่นสีสันสดใส มีเสียงหรือเคลื่อนไหวได้ วางล่อในระยะใกล้ ๆ และค่อย ๆ ไกลออกไป

การวางลูกกับเบาะหรือที่นอนที่นุ่มเกินไป ทำให้ลูกลื่นคลานไม่ถนัด ควรหาเบาะที่มีความแข็งพอดี ๆ สามารถรองรับการกระแทกได้ แต่ก็ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป เช่น แผ่นรองคลานสีสันสดใส ลวดลายต่าง ๆ เป็นตัวอักษร ตัวเลข เป็นต้น

พ่อแม่ไม่ค่อยเล่นกับลูก เพราะมัวแต่ทำงาน ซึ่งน่าเสียดายมาก เพราะความจริงแล้วเด็ก ๆ อยากแสดงพัฒนาการใหม่ ๆ ต่อหน้าพ่อแม่ พ่อแม่จึงเป็นกำลังใจสำคัญที่จะกระตุ้นให้ลูกคลานได้ ด้วยการฝึกให้คืบ โดยจับคว่ำแล้วใช้มือดันขาลูกทีละข้างช้า ๆ แต่ทั้งนี้ก็ควรทำให้บรรยากาศในการฝึกคลานเป็นไปอย่างสนุกสนาน ไม่เครียด ไม่บังคับ ค่อยเป็นค่อยไปวันละนิด เป็นการเล่นไปด้วยฝึกคลานไปด้วย และคอยชื่นชมด้วยคำพูด ส่งเสียงเชียร์ ทำท่าทางดีอกดีใจ หรือปรบมือเมื่อลูกเริ่มทำได้ด้วยค่ะ

ที่มา: Huffingtonpost

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์

เสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมือขวบปีแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth