ปัญหาที่แม่หลังคลอดต้องเจอ ก็คงไม่พ้นเรื่อง ริดสีดวงทวาร ที่เป็นปัญหากวนใจแม่ ๆ หลายคน แล้วแบบนี้ ริดสีดวงทวาร ต้องผ่าออกหรือไม่ วันนี้เราเอาคำตอบมาให้ค่ะ
ริดสีดวง
คือ การเกิดการบวมโป่งพองอักเสบของเส้นเลือดที่ทวารหนักไม่สามารถขมิบให้ยุบกลับเข้าไปได้ ก็จะทำให้มีอาการปวด เมื่อเกิดการขับเคลื่อนอุจจาระผ่านก้อนอาจมีการเสียดสีและทำให้เกิดการถ่ายเป็นเลือดตามมาได้ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะพบภาวะนี้ได้บ่อยมากขึ้นค่ะเนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป และการไหลเวียนของเลือดในร่างกายส่วนช่องท้องและอุ้งเชิงกรานเพิ่มมากขึ้นมดลูกที่ใหญ่มากขึ้นจะเกิดการกดทับเส้นเลือดดำในบริเวณอุ้งเชิงกรานทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ไม่มีการไหลกลับของเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างที่ต่ำจากสะดือเกิดภาวะเลือดคั่งในเส้นเลือดดำและเกิดการบวมบริเวณทวารหนัก ดังนั้นยิ่งท้องใหญ่ใกล้คลอดจะยิ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญค่ะ บางคนมาเป็นริดสีดวงตอนเดือนสุดท้ายก่อนคลอดเลย
สาเหตุของการเกิด
การที่จะพูดว่า ริดสีดวง หลังคลอด นั้นก็ไม่ถูกต้องมากนัก ที่จริงแล้วริดสีดวงนี้สามารถเป็นตั้งแต่ที่เรายังอุ้มท้อง บางคนจึงเรียกกันว่าริดสีดวงคนท้อง โดยริดสีดวงประเภทนี้เกิดได้จากการที่ร่างกายของคุณแม่ๆซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากร่างกายของคนปกติทั่วไปโดยจะมีเจ้าหนูน้อยอยู่ในท้องนั้น ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มดลูกของคุณแม่ก็จะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้นจนไปกดทับกลุ่มหลอดเลือดดำที่อยู่บริเวณทวารหนัก ทำให้หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักมีการขยายตัว เกิดเลือดคั่งของเลือดกลุ่มหลอดเลือดดำ อันเนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำถูกปิดกั้นทำให้หลอดเลือดดำมีการโป่งพอง ส่งผลให้คุณแม่ส่วนใหญ่เป็นริดสีดวงทวารหนัก โดยริดสีดวงนี้จะไม่หายขาดเองจำเป็นต้องมีการรักษา ดังนั้นเมื่อคุณแม่คลอดลูกแล้วก็ยังสามารถเป็นริดสีดวงนี้ต่อได้ จนบางคนเรียกว่า ริดสีดวง หลังคลอด ซึ่งริดสีดวงนี้ ถือเป็นริดสีดวงภายในประเภทหนึ่ง ดังนั้นจึงมีทั้งหมด 4 ระยะตั้งแต่ระยะที่ 1 ที่มีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดไปจนถึง ระยะที่ 4 ที่ความรุนแรงของโรครุนแรงที่สุด
ระยะของริดสีดวง
ริดสีดวงทวารออกเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 จะพบอาการเลือดออกปนมากับการถ่ายอุจจาระ
- เป็นระยะเริ่มแรกที่เกิดริดสีดวง อันเนื่องมาจากหลอดเลือดดำที่ปลายลำไส้ใหญ่โป่งพอง ในกรณีของคุณแม่ที่กำลังมีเจ้าตัวเล็กนั้น ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการขยายตัวของมดลูกจนไปกดทับหลอดเลือดดำให้มีการคั่งของเลือด ในระยะนี้ริดสีดวงจะมีขนาดเล็ก แต่เวลาที่เบ่งอุจจาระจะมีเลือดปนออกมาร่วมด้วย
- ระยะที่ 2 จะเริ่มมีก้อนยื่นออกมา แต่สามารถหดกลับได้เอง
- ในการขับถ่ายอุจจาระก็เช่นเดียวกับระยะแรก ก็คือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระด้วย แต่ในระยะนี้ริดสีดวงจะมีขนาดใหญ่กว่าระยะที่ 1 เวลามีการเบ่งอุจจาระริดสีดวงจะโผล่พ้นทวารหนักออกมา แต่เมื่อหยุดการเบ่งริดสีดวงก็จะหดกลับเข้าไปในตำแหน่งเดิม
- ระยะที่ 3 มีก้อนยื่นออกมา แต่ไม่หดกลับไปเองจะต้องใช้นิ้วช่วยดันด้วย
- ในการเป็นริดสีดวงระยะที่ 3 เมื่อมีอาการไอจาม หรือการแบ่งอุจจาระริดสีดวงจะโผล่พ้นกับทวารหนักออกมา และจะไม่สามารถกลับเข้าไปยังตำแหน่งเดิมได้ ดังนั้นในระยะนี้ริดสีดวงจะอยู่ภายนอกร่างกาย เช่นเดียวกับระยะอื่นเมื่อมีการแบ่งปัอุจจาระจะมีเลือดสีแดงสดผลออกมาด้วย
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ก้อนยื่นออกมา แต่ไม่สามารถหดกลับได้เอง ซึ่งระยะหลังนี้ ถ้าเป็นหนักมากอาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วยในการรักษา
- การเป็นริดสีดวงระยะที่ 4 คือระยะสูงสุดของการเป็นริดสีดวงทวาร ในระยะนี้ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และหากไม่ทำการรักษาโดยเร็วอาจจะทำให้ริดสีดวงติดเชื้อจนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ในที่สุด โดยระยะที่ 4 ริดสีดวงจะมีการอักเสบค่อนข้างมาก
จำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่
กรณีที่จะต้องผ่าตัด อาจเป็นเพราะก้อนออกมาใหญ่มากปวดมากจนต้องให้ยาแก้ปวดอย่างแรง ไม่สามารถดันก้อนกลับได้ หรือก้อนมีการอักเสบรุนแรง มีเลือดออกรุนแรง ถ้าต้องผ่าตัดจะใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่หรือมากสุดก็จะเป็นการบล็อคหลังเพื่อลดความเจ็บปวดขณะผ่าตัดค่ะ
การรักษาด้วยตนเอง
- แช่น้ำอุ่นประมาณ 15 นาที ทั้งก่อนและหลังอุจจาระ
- ใช้ยาเหน็บริดสีดวง
- เน้นการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก ๆ ได้แก่ ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช
- เลี่ยงการเบ่งอุจจาระ
- ทำความสะอาดทุกครั้ง หลังขับถ่าย
- เลี่ยงการสัมผัสเกาบริเวณริดสีดวง
- นอนคว่ำให้เข่าชิดบริเวณอก หรือท้อง หรือนอนท่าก้นโด่ง ในช่วงเย้นหรือกลางคืน วันละ 10-15 นาที เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนเลือด ที่บริเวณทวารหนักกลับสู่หัวใจให้ดีขึ้น
การรักษาทางการแพทย์
- การรักษาด้วยยา ส่วนมากใช้เป็นการรักษาแบบประคับประคอง
- ฉีดยา ในบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวาร ช่วยให้หลอดเลือดแข็งและหดลง
- การรัดยาง เป็นการรักษาที่ไม่เจ็บ แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกหน่วงเหมือนปวดท้องถ่าย ประมาณ 1-3 วัน หลังจากรัดแล้วยางจะหลุดไปเอง แผลตรงที่รัดจะหดกลับไป ทำให้ผู้ป่วยไม่เสียเลือด และไม่ต้องเย็บแผล
- การผ่าตัด ใช้เลเซอร์ อินฟาเรด กระแสไฟฟ้า หรือความเย็น หากรุนแรงอาจจะต้องผ่าตัดแบบมาตรฐาน ต้องมีการเย็บแผลและพักฟื้นหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์
การป้องกันริดสีดวง
- รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น มะละกอ กล้วย บล็อคโคลี เพื่อป้องกันไม่ให้อุจจาระแข็ง
- ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้อุจจาระสามารถขับออกได้ง่าาย
- ไม่เบ่งอุจจาระ หรือนั่งอุจจาระเป็นเวลานาน
- ไม่กลั้นอุจจาระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : (1),(today.line)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
แม่ท้องเป็นริดสีดวง ถ่ายเสร็จเช็ดก้นมีเลือดอกมา ริดสีดวงสินะ แม่ ๆ เป็นกันมั๊ย
แม่แชร์ประสบการณ์ เมื่อลูกเป็น ริดสีดวง !
แม่แชร์ประสบการณ์ เมื่อลูกเป็น ริดสีดวง !