เลี้ยงลูกขวบปีแรกต้องระวัง! แม่มือใหม่ควรทำแบบนี้

เรารู้ว่าการเป็นแม่มือใหม่ดูแลลูกน้อยทำให้คุณตื้อตันสับสนไปหมด เพื่อช่วยให้คุณมีแนวทางการ เลี้ยงลูกขวบปีแรก เราจึงรวบรวมสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำมาให้อ่านกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกขวบปีแรกต้องระวัง! แม่มือใหม่ควรทำแบบนี้

ทารกแรกเกิดมักต้องได้รับความใส่ใจมากกว่าปกติ คุณแม่ที่มีประสบการณ์เลี้ยงลูกมาแล้ว คงจะรู้วิธีการ เลี้ยงลูกขวบปีแรก มาแล้ว แต่คุณแม่มือใหม่หลายคน ต้องค่อยๆ เรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูก ซึ่งบางครั้งอาจจะตื่นเต้น หรือกังวลมากเกินไป ทำให้ทำอะไรแบบผิดๆ ถูกๆ ดังนั้น คุณแม่ที่เลี้ยงลูกในขวบปีแรกควรระวังหลีกเลี่ยงในเรื่องต่อไปนี้

 

1.คาดหวังว่าลูกจะนอนเป็นเวลาในทันที

คงไม่มีอะไรที่พ่อแม่มือใหม่จะใฝ่ฝันอยากได้มากไปกว่าให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน แต่น่าเสียดายที่ในกรณีส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนของทารกกล่าวว่าร้อยละ 50 ของเด็กวัยสองขวบยังตื่นตอนกลางคืน ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรจะไปคาดหวังให้ลูกน้อยแรกหลับยาวตลอดทั้งคืน

 

2.ใช้รถหัดเดิน

คุณอาจคิดว่ารถหัดเดินจะช่วยสอนให้ลูกเดินคล่อง แต่ความจริงแล้วคุณเสี่ยงที่จะเสียมากกว่าได้ เพราะอันตรายที่น่ากลัวที่สุดของรถหัดเดินคือรถอาจพลิกคว่ำและทำให้ลูกน้อยของคุณบาดเจ็บได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องร้อนใจหรอกนะคะ ลูกน้อยของคุณจะรู้จักเดินก้าวแรกให้คุณได้ชื่นใจเมื่อเขาพร้อม โดยไม่ต้องง้อรถหัดเดินเลยค่ะ

 

3.ละเลยอาการไข้ในเด็กทารก

สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาสักหน่อย พ่อแม่มักจะใช้วิธีแบบหมอชาวบ้านในการลดไข้ หรือถ้าไข้ไม่สูงมากนัก ก็ปล่อยไว้เฉยๆ แต่วิธีเหล่านี้ห้ามใช้กับทารกแรกเกิดเด็ดขาด ถ้าลูกน้อยแรกเกิดของคุณตัวรุมๆ แม้เพียงเล็กน้อย ขอให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

4.ไม่ติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กอย่างถูกต้อง

หากคุณไม่แน่ใจว่าติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยสำหรับลูกถูกหรือไม่ ขอแนะนำให้ปรึกษากับบริษัทผู้ผลิตหรือถามเพื่อนที่เคยติดตั้งแล้ว การติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยอย่างถูกต้องนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ลูกได้รับบาดเจ็บสาหัสหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5.ใช้เครื่องนอนมากชิ้นเกินไป

จริงค่ะว่าทารกตัวน้อยๆ ยิ่งน่ารักน่าเอ็นดูเมื่อนอนท่ามกลางหมอน ผ้าห่มและตุ๊กตานุ่มนิ่มเต็มเปล แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการให้ลูกนอนในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น คุณกำลังเสี่ยงกับภาวะหลับไม่ตื่นในทารก (SIDS) ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้หมอนและผ้าห่มจนกว่าลูกจะล่วงเข้าหนึ่งขวบไปแล้วเป็นอย่างน้อย หากกลัวลูกจะหนาว ควรเลือกใช้วิธีที่ปลอดภัยกว่า เช่นให้ลูกใส่ชุดที่อบอุ่นและควบคุมอุณหภูมิในห้องด้วยเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมแทนการใช้ผ้าห่ม

 

อ่านต่อหน้า 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.ไม่ฟังสัญชาตญาณความเป็นแม่ของตัวเอง

การเป็นแม่มือใหม่อาจทำให้คุณสับสนวุ่นวายใจ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า คุณมีพรสวรรค์พิเศษอย่างหนึ่งทันทีที่ลูกลืมตาดูโลก นั่นคือสัญชาตญาณความเป็นแม่ ถ้าคุณรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติกับลูก ก็เป็นไปได้สูงว่าลูกจะไม่สบายจริงๆ ไม่ว่าใครจะว่ายังไงก็ตาม ขอให้คุณเชื่อในสัญชาตญาณของคุณเองและรีบปรึกษาหมอให้เร็วที่สุดค่ะ

 

7.กังวลการพูดของลูกเกินกว่าเหตุ

กับลูกคนแรก คุณแม่หลายคนคงวิตกเรื่องการพูดอย่างมาก เพราะคาดหวังว่าลูกจะเริ่มพูดเมื่อใกล้ครบหนึ่งขวบ (และตำราเลี้ยงลูกแทบทุกเล่มก็เขียนไว้อย่างนั้น) มิหนำซ้ำญาติๆ ยังเพียรถามกันไม่หยุดปากว่าลูกน้อยของคุณเริ่มพูดหรือยัง การพูดก็เหมือนการเดินค่ะ ลูกจะเริ่มพูดเมื่อเขาพร้อมเท่านั้น

 

 

8.เข้าใจผิดว่าลูกอาเจียนคือแหวะนม

พยาบาลกุมารเวชศาสตร์ระบุว่าความแตกต่างระหว่างการแหวะนมกับอาเจียนนั้นคือความถี่ ไม่ใช่ความแรง ถ้าลูกติดเชื้อไวรัสทางเดินอาหาร เขาจะอาเจียนทุกครึ่งชั่วโมงหรือ 45 นาทีโดยไม่ขึ้นกับเวลาให้นม ขณะที่การแหวะนมมักขึ้นกับเวลาที่ให้นมค่ะ

 

9.ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากของลูก

ลูกน้อยยังไม่มีฟันไม่ได้หมายความว่าคุณจะเพิกเฉยสุขภาพช่องปากของลูกได้นะคะ คุณควรหมั่นใช้ผ้ากอซชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเหงือกและลิ้นของลูก เมื่อฟันซี่แรกเริ่มโผล่ขึ้นมาก็ควรเริ่มใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสมแปรงให้ลูกด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

10. เสพข้อมูลมากเกินไป

แม่มือใหม่มักรับฟังข้อมูลเรื่องการเลี้ยงลูกจากหลายๆ ด้านมากเกินไปไม่ว่าจะเป็นญาติผู้หวังดีไปจนถึง “คุณหมอกูเกิ้ล” คุณควรกลั่นกรองรายละเอียดและรับไว้เฉพาะสิ่งที่คิดว่าจะช่วยคุณได้ ส่วนข้อมูลอื่นๆ ให้ทิ้งไปเสีย แล้วไม่ช้าคุณจะเปลี่ยนสถานะจากแม่มือใหม่เป็นแม่มือโปรไปเลยค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ตะลึงงงกันทั้งรถ แม่ชาวจีนเผลอ ปล่อยเด็กน้อยวัย 1 ขวบปีนขึ้นรถเมล์เอง!

พัฒนาการลูกน้อยช่วงอายุ 0- 1 ขวบ

บทความโดย

พรพยงค์ นำธวัช