10 เทคนิคให้นมแม่เเบบชิลได้อีก เเต่น้ำนมมากระจาย

ประสบการณ์การเลี้ยงลูกของคุณแม่แต่ละคนย่อมแตกต่างกันค่ะ สิ่งที่คุณแม่มือใหม่ทำได้ก็คือ ทดลองวิธีใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอวิธีที่ได้ผลดีกับตัวเอง ในเรื่องการให้นมแม่ก็เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และนี่ก็เป็นอีกหลายๆ ประสบการณ์ ที่คุณแม่หลากหลายคน ลองผิดลองถูกแล้วก็เลยมาเล่าสู่กันฟังยังไงละคะ

1.เข้าคลาสเตรียมความพร้อม

ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือศูนย์อนามัยตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะมีทั้งวิธีเลี้ยงลูก อาบน้ำ จับเรอ หรือแม้แต่การให้นมที่ถูกต้อง เพราะทั้งมีวิธีรับมือกับเรื่องที่อาจเกิดขึ้น แน่นอนว่าต้องใช้เวลาค้นหาไปเรื่อยๆ จนในที่สุดคุณแม่และลูกแต่ละคนนั้น ย่อมจะเจอวิธีที่เหมาะสมที่สุดเองค่ะ

2.ไม่จำเป็นต้องดูเวลา

คุณแม่บางคนอาจจะให้นมตามเวลาเป๊ะๆ นะคะ แต่บางทีก็ไม่จำเป็นจะต้องดูเวลาว่า เมื่อไหร่ได้เวลาให้นมลูกแล้ว หรือต้องให้นมนานแค่ไหน บางทีสัญชาตญาณความเป็นแม่ก็บอกได้ดีกว่าค่ะ แม้ว่าจะเพิ่งให้นมเสร็จไปแล้ว แต่ถ้าลูกมีทีท่าว่ายังไม่อิ่ม หรือหิวนมอีกแล้ว ก็สามารถให้ได้อีกค่ะ คุณแม่อย่าลืมนะคะว่า เด็กแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน

3.ให้ลูกอมลานนมให้หมด

คุณแม่บางคนให้ลูกอมแค่หัวนม ต้องทนเจ็บปวดมานานหลายวัน ก็แน่ละว่า มันเป็นท่าที่ไม่ถูกต้องคุณแม่ถึงเจ็บมากๆ ยังไงละคะ ดีไม่ดีอาจจะทำให้หัวนมแตกก็ได้นะ การให้นมที่ถูกต้องนั้นคุณแม่จะไม่เจ็บมากและลูกจะได้ปริมาณน้ำมากกว่าการดูดผิดท่าด้วยละค่ะ

4.แม่เป็นกุมารแพทย์ยังเหนื่อย

คุณแม่ที่เล่าเรื่องนี้เป็นกุมารแพทย์ค่ะ แม้ตอนนี้ลูกชายของเธอจะอายุ 3 ขวบแล้วก็ตาม แต่ช่วงแรกของการให้นมแม่นั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย เนื่องจากลูกไม่ยอมดูดนมเกือบ 2 วันเลยทีเดียวค่ะ คุณแม่ต้องใช้ supplemental nursing system หรือ SNS ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ลูกยอมดูดนม ขณะที่คุณแม่ก็มีการปั๊มนมร่วมด้วย ในที่สุดลูกก็ยอมดูดนมได้เองในวันที่ 3 ค่ะ

5.หัวนมแห้งแตก ลาโนลินครีมช่วยได้

ถ้าคุณแม่เป็นคนที่มีผิวบาง หรือผิวแห้ง การใช้ครีมลาโนลินทาบริเวณหัวนมทั้งเช้าและเย็นนั้น สามารถช่วยป้องกัน ไม่ให้หัวนมแตกหรือมีเลือดออกได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.รอให้ลูกหิวก่อน

คุณแม่ที่มีการสังเกตลูกอยู่ตลอดเวลาจะรู้จักลูกตัวเองดีที่สุดนะคะ การรอสัญญาณที่บ่งบอกว่าหนูหิวแล้ว เช่น การดูดนิ้ว หรือขยับปากเบาๆ ลูกอาจจะมีแรงดูดได้ดีกว่าตอนที่ลูกยังไม่ค่อยหิวนัก เป็นการช่วยคุณแม่ลดระยะเวลาที่ลูกจะเข้าเต้าได้ด้วยค่ะ

7.อย่าเครียด ผ่อนคลายเข้าไว้

สิ่งที่ดีที่สุด แต่ทำได้ยากที่สุด ในการให้นมแม่คือ การผ่อนคลายและไม่เครียดค่ะ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่ามนุษย์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มานานตั้งแต่อดีตกาล ยังไงซะเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณแม่ย่อมทำได้แน่นอนค่ะ ความเครียดนั้นคือศัตรูตัวฉกาจของนมแม่เลยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8.เริ่มต้นด้วยนมผง สิ้นสุดด้วยนมแม่

แม้คุณแม่หลายคนจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ไม่มีคำว่าสายจนเกินไปค่ะ แม้แต่คุณแม่ที่เริ่มต้นด้วยการเสริมนมผงก่อน ถ้าคุณแม่พยายาทุกวิธีแล้วก็ยังไม่มีนมแม่ออกมา การลองไปเรื่อยๆ นั้นไม่มีทางผิดไปได้ จนในที่สุดคุณแม่ก็เจอการใส่จุกพลาสติกครอบหัวนม (ในกรณีที่หัวนมเล็ก) ทำให้ลูกเริ่มดูดนมคุณแม่ได้ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่ต้องฝึกให้ลูกดูดโดยไม่มีตัวช่วย (อาจจะใช้ไซริงค์ดูดหัวนมให้ขึ้นมาก่อนในตอนแรก) ความพยายามในการให้นมแม่ไม่เคยสูญเปล่าค่ะ

9.น้ำนมไหลพอๆ กับน้ำตก

คุณแม่หลายคนที่น้ำนมเยอะ และไหลแทบจะตลอดเวลา อาจจะต้องปวดหัวกับปัญหานี้ ยิ่งแผ่นรองน้ำนมปกติเอาไม่อยู่แล้วละก็ ก็ปรับเอาแผ่นอนามัยแบบบางๆ มาใช้แทนก็ได้นะคะ ซับได้เยอะกว่าและถูกกว่าอีกด้วย

10.ฟังคุณย่าคุณยายคนเฒ่าคนแก่

คนที่ผ่านมาก่อนจะมีเทคนิคดีๆ อย่างที่คุณแม่มือใหม่นึกไม่ถึงเสมอค่ะ อย่างเช่นการบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างที่ลูกดูดนมด้วยน้ำเย็น (ดูดน้ำเย็นเอาไว้ในหลอดและปล่อยไหลไปที่หัวนมขณะที่ลูกกำลังดูดอยู่) หรือแม้กระทั่งเทคนิดหลังคลอด อย่างเช่น การนั่งบนห่วงยางสำหรับคุณแม่ที่คลอดเอง เพื่อไม่ให้เจ็บขณะนั่ง เพราะไม่กดทับแผลคลอดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา babycenter

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10 วิธีรับมือ ลูกชอบกัดหัวนมแม่ตอนให้นม

10 ประโยชน์ที่ยกให้ “นมแม่” ชนะเลิศ