10 สิ่งควรทำเมื่อลูกอายุครบหกเดือน

หากบ้านไหนที่กำลังมีลูกที่มีอายุครบหกเดือน หรือกำลังใกล้ช่วงเวลาหกเดือนละก็ ลองทำสิ่งเหล่านี้ดูสิคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกของเรามีอายุครบหกเดือน พวกเขาก็เริ่มที่จะถือขวดนม หรือหยิบจับอะไรได้เอง พลิกคว่ำหงายได้อย่างคล่องแคล่ว ชอบจ้องและส่งเสียงตามสิ่งที่ตัวเองสนใจเป็นพิเศษ และชอบส่งเสียงเรียกให้มาเล่นด้วยแล้วนั้น เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นและเสริมพัฒนาการของลูกในวัยนี้ แนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ลองทำตามวิธีเหล่านี้เพิ่มเติมดูสิคะ

1. อ่านหนังสือ บางครอบครัวอาจจะอยากรอให้ลูกโตก่อนแล้วค่อยเริ่มอ่านหนังสือ หรือนิทานให้ลูกฟัง จริง ๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า เราไม่จำเป็นต้องรอเลยละค่ะ ถ้าจะเริ่มก็ควรเริ่มเสียตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อเป็นการฝึกฝนให้ลูกเป็นเด็กรักการอ่าน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ด้วยการใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยน และน่าฟัง รับรองว่า ลูกของคุณจะต้องอ้อนวอนขอให้คุณอ่านหนังสือเล่มนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกแน่ ๆ

2. ร้องเพลงและเต้น การเปิดเพลงให้ลูกฟังและเต้นรำร้องเพลงไปกับลูกนั้น จะช่วยให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี ไม่ขี้โมโหหรือหงุดหงิด ทั้งนี้การเต้นของลูกด้วยการขยับแขนขยับขาจะช่วยให้ลูกได้ออกกำลังกายและเสริมพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

3. เล่นลูกโป่งฟอง แน่นอนว่าเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถที่จะเป่าฟองสบู่ได้เอง ดังนั้น ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่นี่แหละค่ะ ที่จะเป็นคนเป่าฟองให้กับลูก ลองใช้สบู่หรือยาสระผมเด็กผสมน้ำและเป่าให้กับลูกดูสิคะ การทำเช่นนี้ เท่ากับเป็นการฝึกสมาธิให้กับลูกได้ไปในตัวเลยนะคะ

4. เล่นของเล่น คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า ของเล่นเสริมพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ แทบจะไม่ต้องหาซื้อเลยก็ว่าได้ เพียงแค่เรานำอุปกรณ์ที่มีในครัวนี่แหละค่ะ มาให้ลูกเล่น ยกตัวอย่างเช่น ช้อน กะลังมัง หม้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ตีแล้วมีเสียง ของเหล่านี้ละค่ะ คือสิ่งที่เด็กวัยนี้โปรดปรานมากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. สอนการเรียกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เด็กวัยนี้เริ่มที่จะพยายามออกเสียงตามสิ่งที่ตัวเองชอบและสนใจแล้ว ดังั้นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปอาบน้ำ หรือแต่งตัวนั้น ควรสอนให้ลูกได้รู้ว่าส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของเขานั้นเรียกว่าอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ผม มือ ปาก เป็นต้น สอนเป็นประจำทุกวันนะคะ และลูกจะเริ่มจำได้เอง

6. ลิ้มรสอาหาร เด็กวัยนี้เริ่มทานอาหารเหลวได้บ้างแล้ว ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรที่จะให้ลูกทานอาหารที่มีรสชาติจำเจไปตลอด ลองปรับเปลี่ยนรสชาติให้ลูกบ้าง ให้ลูกรู้จักรสชาติหวาน เปรี้ยว และเค็มบ้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นประสาทการรับลิ้นของลูก

7. พูดคุยกับลูก พูดไปเถอะค่ะ อย่ากลัวว่าลูกจะเบื่อ เพราะเด็กวัยนี้เริ่มที่จะหัดพูดหัดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว แม้ว่าพวกเขาจะสื่อสารออกมาเป็นคำพูดยังไม่ได้ก็ตาม แต่ลองดูสิคะ ลองสอนให้พูดคำง่าย ๆ หรือเวลาดื่มน้ำ ทานนม ทานข้าว บอกถึงกิริยานั้น ๆ ดู ยกตัวอย่างเช่น หม่ำ และน้ำ เป็นต้น และเวลาที่ลูกหิว ลูกก็จะเริ่มสามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้น้ำเสียงที่ชัด ช้าและนุ่มนวลนะคะ ใจเย็น ๆ ค่อยๆ สอนลูกไป ทำแบบนี้ทุกวันแล้วมาดูกันสิคะว่า คำแรกที่ลูกพูดได้คืออะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. ทำหน้าตลกให้ลูกดู ข้อนี้ถ้าคุณแม่ไม่ถนัด ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อเป็นคนทำเลยค่ะ และทุกครั้งที่ทำก็ปล่อยให้ลูกได้สัมผัสใบหน้าของเราไปด้วย เพราะการทำเช่นนี้จะกลายเป็นตัวช่วยให้กับเราได้ ในเวลาที่ลูกหงุดหงิดและงอแงเลยละค่ะ

9. นวด การนวดผ่อนคลายให้กับลูกนั้น เราสามารถทำได้เลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการนวดตัว หรือนวดฝ่าเท้า เพราะการนวดนั้น เปรียบเสมือนการบำบัดอย่างหนึ่ง ที่นอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกสบายตัวแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย

10. ให้ดูรูปภาพครอบครัว ลองเอารูปภาพของครอบครัวให้กับลูกดูสิคะ แล้วชี้บอกว่าคนไหนชื่ออะไร สอนลูกทุกวัน ลูกก็จะเริ่มจำได้ และเมื่อสอนไปสักพักก็ลองเล่นเกมส์ทายว่าคนนี้เป็นใครดู แล้วคุณจะแปลกใจที่ลูกสามารถตอบได้ ทั้งที่อายุยังน้อยอยู่เลยละค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Lovelivegrow

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

นวดฝ่าเท้าทารกกระตุ้นพัฒนาการสมอง

5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

บทความโดย

Muninth