- มีโอรีซานอลมากกว่า 6,000 ppm
สารธรรมชาติที่พบเฉพาะในน้ำมันรำข้าวเท่านั้นไม่พบในน้ำมันพืชชนิดอื่น มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ส่งเสริมการทำงานของหลอดเลือด ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ นอกจากนั้นยังช่วยปรับสมดุลของระบบฮอร์โมนในสตรีวัยทอง คือลดอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) อีกด้วย
- มีไฟโตสเตอรอลมากกว่า 16,000 ppm
สารธรรมชาติไฟโตสเตอรอลพบมากในน้ำมันรำข้าว ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์เนื้องอก และเซลล์มะเร็ง ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
- มีวิตามินอีถึง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโทโคฟีรอลและกลุ่มโทโคไตรอีนอล
โดยปกติในน้ำมันประกอบอาหารทั่วไปจะมีวิตามินอี กลุ่มโทโคฟีรอลเท่านั้น ส่วนวิตามินอี กลุ่มโทโคไตรอีนอลนั้นจะมีเฉพาะ ในน้ำมันประกอบอาหารบางชนิด ซึ่งวิตามินอี กลุ่มโทโคไตรอีนอลมีคุณสมบัติในการช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่ากลุ่มโทโคฟีรอล และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย
- มีสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะกับการบริโภค
น้ำมันรำข้าวคิงมีสัดส่วนของกรดไขมันที่ผ่านเกณฑ์การตรวจวิเคราะห์ของโครงการอาหารไทยหัวใจดี โดยมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับภาคโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จนได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” โดยมีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัว(SFA) ต่อ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(MUFA) เท่ากับ 1 :1.8 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง(PUFA) น้อยกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(MUFA)
- มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง
กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว สามารถช่วยลดการอุดตันของผนังหลอดเลือดแดง ช่วยเพิ่มหรือคงระดับคอเลสเตอรอลตัวที่ดี และลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกาย ซึ่งน้ำมันรำข้างคิงมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูงกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันประกอบอาหารอื่นๆ
- ค่ากรดไขมันทรานส์ เท่ากับ 0 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
กรดไขมันทรานส์ เป็นกรดไขมันอันตรายที่ไปเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และลดคอเลสเตอรอลที่ดีในร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในน้ำมันรำข้าวคิง ค่ากรดไขมันทรานส์ เท่ากับ 0 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จึงใช้ปรุงอาหารได้อย่างสบายใจ
- มีจุดเกิดควันสูง
ในการใช้น้ำมันประกอบอาหารอย่างเมนูทอดหรือผัด เมื่อใช้ไฟร้อนถึงระดับหนึ่งจะเกิดควันขึ้นมา ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก มีการวิจัยที่ประเทศไต้หวันพบว่า ควันจากน้ำมันมีสารก่อมะเร็ง ทำให้หญิงชาวไต้หวันที่ประกอบอาหารในบ้านป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหารที่มีจุดเกิดควันสูง คือสามารถทนต่อความร้อนได้ดีเหมาะสำหรับทำอาหารทุกประเภทอย่างน้ำมันรำข้าวคิง
- น้ำมันรำข้าว ไม่มีกลิ่น และรสชาติเป็นกลาง
น้ำมันรำข้าวคิงไม่มีกลิ่น ช่วยให้อาหารทุกจานของคุณแม่มีกลิ่นหอมจากวัตถุดิบและเครื่องปรุงแบบตามธรรมชาติ นอกจากนี้น้ำมันรำข้าวคิงยังมีรสชาติเป็นกลาง ไม่ไปกวนรสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบดีๆที่คุณแม่สรรหามาอีกด้วย
- น้ำมันรำข้าว ไม่ใส่สารกันหืนสังเคราะห์
โดยทั่วไปสารกันหืนสังเคราะห์ เช่น BHA BHT และ TBHQ จะถูกเติมในน้ำมันประกอบอาหารเพื่อป้องกันการออกซิเดชั่น ที่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นหืน แต่สารเหล่านี้อาจมีผลต่อเซลล์ในร่างกาย น้ำมันรำข้าวคิงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ได้แก่ โอรีซานอล ไฟโตสเตอรอล และวิตามินอี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดการหืนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่สารกันหืนสังเคราะห์ที่อาจเป็นอันตรายกับสุขภาพ
- ผลิตจากข้าวไทยที่ปลอดจากการดัดแปลงทางพันธุกรรม หรือปลอด GMOs
ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การรับรองว่าข้าวไทยปลอดจากการดัดแปลงทางพันธุกรรม คุณแม่จึงมั่นใจได้ว่า รำข้าวที่นำมาทำน้ำมันรำข้าวคิงปลอดภัยจาก GMOs ด้วยเช่นกัน
การทำอาหารให้ครอบครัวได้รับประทาน เป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนเป็นแม่ ทุกเมนูล้วนมาจากความตั้งใจอยากให้คนที่รัก มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง การเลือกใช้น้ำมันรำข้าวปรุงอาหาร จึงเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับ ที่ช่วยให้ทุกมื้อของครอบครัวมีประโยชน์ ทุกคนได้อิ่มอร่อย พร้อมกับการมีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น