10 วิธี ทำยังไงให้เก่งคณิต อยากให้ลูกเก่งคณิต เริ่มจากตรงไหน

ทำยังไงให้เก่งคณิต เรียนรู้จากครูสอนคณิตศาสตร์ที่เต็มไปด้วยทริคดีๆ ที่จะช่วยปลูกฝังกรอบความคิดให้เด็กๆ และปูทางสู่การเรียนรู้อื่นๆ อีกมากมาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์นั้น ไม่ใช่แค่เพื่อให้เข้าใจในสูตรการคำนวณต่างๆ หรือทำข้อสอบคณิตศาสตร์แล้วได้คะแนนดี เกรดสูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปลูกฝังกรอบความคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กๆ ส่งเสริมให้ลูกน้อยมีคุณลักษณะต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ความมั่นใจ ความคิดยืดหยุ่น สนุกกับความท้าทายใหม่ๆ มีทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และการคิดเชิงวิพากษ์ในด้านต่างๆ ของชีวิตได้อีกด้วย แต่จะเรียนคณิตยังไงให้เข้าใจ ทำยังไงให้เก่งคณิต เรามีผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่ว่า อยากให้ลูกเก่งคณิต ควรเริ่มจากตรงไหน

ในบทความนี้ เราจะเรียนรู้จากครูสอนคณิตศาสตร์ผู้มากประสบการณ์ Jeremy Dong และ Chelsea Chee จาก Math Nuggests ซึ่งเป็นสถาบันสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในประเทศสิงคโปร์

ในฐานะผู้ปกครอง เราไม่เพียงแต่มีความรับผิดชอบในการส่งเสริมทักษะทางวิชาการของบุตรหลานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ลูกด้วย ในการเรียนคณิตศาสตร์ยังไงให้เก่ง ทำยังไง ให้เก่งคณิต เราต้องเตรียมพวกเขาให้มากกว่าแค่สูตรและสมการ แต่เราต้องเสริมกำลังด้วยกรอบความคิดที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยความมั่นใจและความมุ่งมั่น

 

10 วิธี ทำยังไงให้เก่งคณิต อยากให้ลูกเก่งคณิต เริ่มจากตรงไหน

 

อย่างที่กล่าวไปตอนต้น การเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง ไม่ใช่แค่เรียนเก่ง ได้คะแนนสูง แต่เป็นการปลูกฝังกรอบความคิดที่ถูกต้อง ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ มีทักษะในการแก้ปัญหาซับซ้อน และสามารถคิดเชิงวิพากษ์ในด้านต่างๆ ของชีวิตได้ มาดูกันว่า อยากให้ลูกเก่งคณิต เริ่มจากตรงไหน

 

  1. เน้นความพยายายามมากกว่าผลลัพธ์

ส่งเสริมให้เด็กๆ มุ่งความสนใจไปที่ความพยายามและการเติบโตของเขา ไม่ใช่แค่เพียงเกรดสุดท้ายเท่านั้น สอนลูกว่าความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้และปรับปรุง ชื่นชมในความพยายาม ความพากเพียร และวิธีการที่ลูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้

Jeremy เน้นย้ำถึงความสำคัญของเป้าหมายและรางวัลที่ชัดเจนในการจูงใจนักเรียน เขาตั้งข้อสังเกตว่า “ผมคิดว่านักเรียนส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน พร้อมรางวัลบางอย่างเพื่อทำให้ความสำเร็จนั้นหอมหวานเป็นพิเศษ” การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้และการเสนอสิ่งจูงใจสามารถช่วยให้เด็กๆ มีสมาธิและมีแรงผลักดันให้ประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์

 

  1. ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

การฝึกฝนเป็นประจำ เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจและความคล่องแคล่วในทักษะทางคณิตศาสตร์ ส่งเสริมให้ลูกฝึกฝนคณิตศาสตร์เป็นประจำผ่านการบ้าน แหล่งข้อมูลออนไลน์ หรือเกมคณิตศาสตร์แบบ Interactive ทำให้การฝึกฝนคณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแรงจูงใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้

Chelsea เน้นการส่งเสริมให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้ เธอกล่าวว่า “ฉันมักจะให้อิสระแก่นักเรียนในการตัดสินใจและทางเลือกต่างๆ โดยปล่อยให้เด็กๆ สำรวจหัวข้อที่ตัวเองสนใจ หรือจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับความสนใจของเด็กแต่ละคน

 

  1. เสริมแรงเมื่อสำเร็จ

รับรู้ถึงความพยายามและความสำเร็จของลูก ด้วยการเฉลิมฉลองความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ สำหรับพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของลูก  การเสริมแรงเชิงบวกจะช่วยเพิ่มความมั่นใจของเด็ก เสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ และกระตุ้นให้พวกเขาพยายามต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. สอนกลยุทธ์การแก้ปัญหา

Jeremy เน้นยำถึงความสำคัญของความกดดันด้านเวลาและความรวดเร็วในการทำคณิตศาสตร์ “ผมสร้างการแข่งขันเล็กๆ ที่นักเรียนจะต้องแข่งขันกันเองเพื่อตอบคำถามเศษส่วนให้ได้มากที่สุดในเวลาอันสั้น โดยจะนับคะแนนตามจำนวนคำตอบที่ถูกต้อง การออกแบบเกมเช่นนี้ เพื่อให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะผลักดันตัวเองให้พร้อมรับมือกับความท้าทายและแข่งขันได้

 

  1. ส่งเสริมความเพียรพยายาม

สอนให้ลูกอดทนต่อความท้าทายและความพ่ายแพ้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อน เตือนลูกว่าการทำผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และเป็นโอกาสในการเติบโต เน้นย้ำถึงความสำคัญของการคิดยืดหยุ่น และความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

 

  1. จำลองความคิดแบบ Growth Mindset

ให้ลูกเรียนรู้ตัวอย่างจากพ่อแม่ โดยเป็นแบบอย่างที่ดีแสดงให้ลูกเห็นถึง Growth Mindset ของคุณเองในการับมือกับความท้าทายและการเรียนรู้ เล่าให้ลูกฟังว่าคุณใช้ความพยายามและต่อสู้แค่ไหน กว่าจะประสบความสำเร็จ

 

  1. เป็นกำลังใจให้ลูกเสมอ

กำลังใจจากครูและผู้ปกครองมีผลอย่างมากต่อความมั่นใจและประสิทธิภาพของเด็ก คอยให้กำลังใจลูกก่อนการสอบคณิตศาสตร์ ย้ำว่าเขามีความสามารถ ขอให้มั่นใจในความสามารถของตนและทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

 

  1. พูดคุยหลังสอบ

หลังการสอบคณิตศาสตร์ ควรกระตุ้นให้ลูกคิดทบทวนถึงผลงานของตัวเอง  นอกเหนือจากการถามว่า ข้อสอบง่ายหรือยากสำหรับพวกเขาแล้ว ให้ชวนลูกคุยถึงสิ่งที่ลูกคิดว่าทำได้ดี อะไรที่ลูกคิดว่าเป็นสิ่งท้าทาย และวิธีการที่ลูกจะใช้เพื่อปรับปรุงผลงานในครั้งต่อไป การพูดคุยสะท้อนกลับเป็นการส่งเสริมการตระหนักรู้ในตัวเอง และช่วยให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ ทำยังไงให้เก่งคณิต เรียนคณิตยังไงให้เข้าใจ สนุก และสามารถนำความคิดไปประยุกต์ใช้เมื่อต้องแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในชีวิตของลูกต่อไปในอนาคตได้

 

5 เกมคณิตศาสตร์ง่ายๆ สำหรับเด็กประถม

  1. เกมทอยลูกเต๋า: เกมนี้ฝึกการบวกเลขและการคิดเร็ว โดยเตรียมลูกเต๋า 2 ลูก ให้เด็กทอยลูกเต๋าแต่ละลูกแล้วบวกจำนวนแต้มที่ทอยได้ เด็กคนแรกที่บวกได้ถูกต้องและเร็วที่สุดเป็นผู้ชนะ

  2. เกมบิงโกคณิตศาสตร์: เกมนี้ฝึกการบวก ลบ คูณ หาร โดยเตรียมกระดาษแบ่งเป็นช่องๆ เขียนตัวเลขหรือโจทย์คณิตศาสตร์ไว้ในแต่ละช่อง เตรียมกระดาษชิ้นเล็กๆ เขียนคำตอบของโจทย์ไว้ แจกกระดาษแบ่งช่องและกระดาษคำตอบให้เด็กแต่ละคน

    วิธีเล่น: ผู้ใหญ่สุ่มอ่านโจทย์คณิตศาสตร์ เด็กๆ รีบหาคำตอบที่ถูกต้องจากกระดาษคำตอบและวางลงบนช่องโจทย์บนกระดาษของตัวเอง คนแรกที่วางคำตอบครบทุกช่องบนกระดาษของตัวเองเป็นผู้ชนะ

  1. เกมจับคู่ตัวเลข: เกมนี้ฝึกการจดจำตัวเลขและการคิดเร็ว โดยเตรียมกระดาษเขียนตัวเลข 2 ชุด ชุดละ 10-20 ตัวเลข วางตัวเลขคว่ำหน้าลงบนโต๊ะ เด็กๆ ผลัดกันเปิดตัวเลข 2 ใบ พยายามจับคู่ตัวเลขให้เหมือนกัน

  2. เกมช้อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เก็ต: เกมนี้ฝึกการบวกเลขและการใช้เงิน โดยเตรียมกระดาษเขียนรายการของใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตพร้อมราคา แจกเงินปลอมให้เด็กแต่ละคน

    วิธีเล่น: เด็กๆ ผลัดกันเลือกของใช้หยิบกระดาษราคาของใช้มาบวกราคาทั้งหมด เด็กคนที่มีเงินปลอมพอจ่ายราคาสินค้าเป็นผู้ชนะ

  1. เกมวัดความยาว: เกมนี้ฝึกการวัดความยาวและการเปรียบเทียบ โดยเตรียมไม้บรรทัดหรือสายวัด วางของใช้ต่างๆ บนโต๊ะ ให้เด็กๆ ผลัดกันวัดความยาวของวัตถุและเปรียบเทียบว่าวัตถุใดสั้นหรือยาวกว่า

ตัวอย่างเกมข้างต้นจะช่วยให้เด็กๆ พัฒนาความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เหมาะสำหรับเด็กประถม สามารถปรับระดับความยากง่ายของเกมให้เหมาะสมกับวัยและทักษะของเด็กได้  ทั้งยังสามารถดัดแปลงได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้ปกครองเลยค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com