10 วิธีง่าย ๆ ช่วยคุณแม่มือใหม่รับมือกับภาวะจิตตก

นอกจากภาวะซึมเศร้าที่อาจเคยเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว หลังคุณแม่คลอดลูกยังคงต้องเตรียมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นสำหรับคุณแม่มือใหม่ ไม่ว่าความเหน็ดเหนื่อยจากการเลี้ยงลูกในช่วงแรกจนอาจทำให้คุณแม่รู้สึกจิตตกได้เหมือนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงแรกของการเลี้ยงลูกน้อย คุณแม่มือใหม่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤตกรรมตัวเอง และต้องอดทนกับบทเรียนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน บางครั้งก็อาจทำให้คุณแม่เผลอร้องไห้ออกมาโดยที่ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดร้องไห้ได้ง่าย ๆ นี่คือ 10 วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยคุณแม่มือใหม่รับมือกับภาวะจิตตก

#1 จิตตก ให้เวลา

ในช่วงสัปดาห์แรกของการได้เป็นคุณแม่นั้นอาจเป็นช่วงที่ทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยที่สุดในชีวิต คุณแม่อาจจะต้องเจอกับอารมณ์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ของตัวเอง โดยอารมณ์นี้อาจจะเกิดขีนกับคุณแม่มาแล้วในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะเรียกช่วงเวลานี้ว่าเป็นช่วง “baby blues” และความรู้สึกนี้จะเริ่มหายไปหลังจาก 2 หรือ 3 สัปดาห์หลังคุณแม่เริ่มคุ้นชินกับการเลี้ยงเจ้าตัวน้อยที่คุณแม่ต้องให้เวลากับเรื่องนี้ซักหน่อย

#2 จิตตก คิดบวก

ตามหลักของจิตวิทยา “หากเราคิดถึงตัวเองอย่างไรมันก็จะส่งผลให้เรารู้สึกเช่นนั้น” เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรคิดไว้ในทางที่ดีอยู่เสมอว่า ในฐานะที่เริ่มต้นการเป็นแม่นั้น คุณได้ทำในสิ่งที่ถูกแล้วและหาหนทางที่ดีในการเลี้ยงลูกต่อไปเรื่อย ๆ

#3 หาโอกาสงีบหลับ

ถึงแม้ว่าการต้องดูแลทารกแรกเกิดในช่วงแรกจะหาเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่จะเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่การขาดการนอนหลับที่ไม่เพียงพอนั้นจะส่งผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้นการที่คุณแม่หาโอกาสได้งีบหลับบ้างเท่าที่จะทำได้ จะเป็นประโยชน์ในการช่วยทำให้คุณแม่มีความรู้สึกที่ดีขึ้นในแต่ละวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 ยกความเบื่อหน่ายออกจากตัว

ถึงแม้การเลี้ยงลูกจะเป็นกิจวัตรประจำวันที่ซ้ำ ๆ ที่อาจดูน่าเบื่อ คุณแม่ลองปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ รอบตัวดูบ้าง มองหาสิ่งละอันพันละน้อยต่าง ๆ ที่สามารถช่วยเพิ่มความตื่นเต้นในแต่ละวันเพื่อทำให้ตัวคุณยิ้มได้เช่น การพาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้านที่จะทำให้ลูกน้อยเปิดหูเปิดตาและยังทำให้คุณแม่คลายความเบื่อหน่ายลงได้

#5 หาเพื่อนคุย

การอยู่บ้านเลี้ยงลูกทั้งวันอาจทำให้คุณแม่รู้สึกโดดเดี่ยว ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะได้พูดคุยกับคนอื่นใกล้ ๆ ตัวบ้าง การได้พูดคุยกับคนอื่นนั้นมีผลต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ลองโทรศัพท์คุยกับเพื่อนในขณะที่ลูกหลับ บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องในแต่ละวัน หรือเรื่องอื่น ๆ ที่คุณกับเพื่อนจะคุยกันได้อย่างออกอรรถรสเพื่อช่วยส่งผลทางด้านอารมณ์ให้กับคุณแม่มือใหม่ได้

#6 คุยกันผ่านกลุ่มคุณแม่มือใหม่ในเฟซบุ๊ค

การได้พูดคุยหรือขอคำแนะนำจากคุณแม่ผู้มีประสบการณ์ จะทำให้รู้สึกสบายใจเมื่อพบว่ามีคุณแม่คนอื่น ๆ ที่เจอกับปัญหาหรือมีความสุขในการเลี้ยงลูกแบบเดียวกัน การมีกลุ่มคนที่คอยให้ความช่วยเหลือนั้นเป็นแนวทางที่ดีที่จะทำให้รู้สึกว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่ต้องเจอกับภาวะจิตตกของการเป็นคุณแม่มือใหม่ และบรรดาคุณแม่เหล่านั้นก็จะช่วยให้คุณผ่านวันที่ลำบากได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#7 หัวเราะเข้าไว้

การหัวเราะเป็นยาอย่างดีสำหรับการทำให้สุขภาพจิตดี ดังนั้นหากคุณแม่ต้องเผชิญกับอารมณ์ที่รู้สักเหนื่อยล้า ท้อแท้ และจิตตก ลองหาหนังตลกที่ชอบมาดูซักเรื่อง หรือเชื้อเชิญเพื่อนผู้มีอารมณ์ขันมากินอาหารว่างด้วยกันและปล่อยให้เสียงหัวเราะได้บังเกิด

#8 ทำสมาธิ

ลองใช้เวลาหลังปล่อยให้ลูกนอนหลับทำสมาธิซักเล็กน้อย เพื่อปล่อยให้สมองของคุณได้พัก ผลดีของการได้ทำให้จิตนิ่งและสงบนั้นจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#9 อย่าได้รู้สึกผิด

หนึ่งในบทเรียนที่ยากที่สุดนฐานะคุณแม่มือใหม่คือการปล่อยความรู้สึกผิดให้ผ่านไป มันไม่มีเหตุผลที่จะไปคิดว่าตัวเองผิดเมื่อมานั่งดูทีวีในขณะที่เจ้าตัวน้อยหลับกลางวันแทนที่จะต้องไปล้างจาน ลองปล่อยให้เรื่องเล็กน้อยนี้ปล่อยผ่านไปบ้างก็ได้

#10 หาเวลาให้ตัวเอง

นักจิตวิทยาด้านสุขภาพ แคธาลีน เคนดาล-แทคเกต Ph.D กล่าวไว้ในนิตยสารเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกว่า “คุณแม่มือใหม่ทั้งหลายควรมีเวลาเป็นของตัวเองอย่างน้อย 15 ถึง 20 นาทีต่อวันเพื่อได้ผ่อนคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างตอนบ่ายและตอนค่ำ”

Source : www.romper.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 วิธีทําให้เบบี๋หลับง่ายช่วยแม่มือใหม่สบายขึ้น
เรียนรู้ 6 ข้อผิดพลาดที่แม่มือใหม่เลี้ยงลูกต้องเจอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R