คุณพ่อคุณแม่ที่รับเด็กมาเลี้ยง มีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับ ลูกเลี้ยง อย่างไร ก่อนรับเด็กมาเลี้ยงต้องศึกษา หรือมีความรู้ในด้านใดบ้าง เพราะเมื่อมีสมาชิกใหม่เข้ามาในบ้าน ก็อาจจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวมากยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญของพ่อแม่ เมื่อรับเด็กมาเป็น ลูกเลี้ยง
-
ถึงพ่อแม่ (เลี้ยง) ที่รัก อย่ากดดันตัวเองจนเกินไป
แน่นอนว่าคุณสามารถพยายามเป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงที่ดีได้ แต่ไม่มีหรอกพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงที่เพอร์เฟคน่ะ เพราะอย่างไรก็ตามคุณจะโดนเปรียบเทียบกับพ่อแม่ที่แท้จริงเสมอ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยอมแพ้และกลายร่างเป็นปีศาจจอมโหดนะ
-
ลูกเลี้ยง คุณอาจกระวนกระวายยิ่งกว่า
พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงอาจคิดกังวลถึงความสัมพันธ์กับลูกเลี้ยงที่อาจไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้ แต่รู้มั้ย ลูกเลี้ยงคุณอาจวิตกกังวลถึงความก้าวหน้าในสัมพันธภาพนี้มากกว่าคุณซะอีก เพราะฉะนั้นทำใจให้สบาย ยับยั้งความกลัว ความกังวลต่าง ๆ ของทั้งคุณและลูกเลี้ยงไว้ อย่าพยายามฝืนความสัมพันธ์นี้
-
อย่าพยายามจะแทนที่พ่อหรือแม่ที่แท้จริง
ในฐานะพ่อเลี้ยง หรือ แม่เลี้ยง คุณอาจพยายามจะแทนที่พ่อแม่แท้ ๆ ของเด็ก แต่คุณไม่มีทางที่จะเข้ามาเติมเต็มความรู้สึกเหล่านั้นได้ อย่างไรก็ตาม ความผูกพันที่ถูกพัฒนาขึ้นระหว่างคุณกับเด็กยังพิเศษและมีค่าเช่นกัน และจะกลายเป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะพิเศษในแบบของมันเอง
-
อย่าคาดหวังความรักแบบทันทีทันใด
หลังจากคุณแต่งงานและมีลูกเลี้ยง ไม่ได้หมายความว่าลูกเลี้ยงคุณจะหันมารักและชื่นชมคุณโดยอัตโนมัติ คิดไว้ว่าลูกเลี้ยงคุณอาจต้องใช้เวลาซักพักกว่าจะเข้ากับคุณได้ เพราะฉะนั้น จงอดทน ปล่อยให้ความเบิกบานในตัวคุณได้ทำงานแล้วคุณจะค่อย ๆ ได้ใจเด็ก ๆ เอง ความรักที่จริงใจไม่สามารถเกิดขึ้นได้แบบเร่งรีบมันจะค่อย ๆ เติบโตอย่างช้า ๆ จากข้างใน เพราะฉะนั้นพ่อแม่ (เลี้ยง) จงมั่นใจว่า ความรักจะค่อย ๆ เติบโตทีละน้อยแต่มั่นคง
-
การแบ่งปัน คือ ความใส่ใจ
คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแชร์คนรักของคุณกับลูกเลี้ยง และในเกือบทุกสถานการณ์ลูกเลี้ยงคุณจะต้องสำคัญกว่าเสมอ คุณไม่ควรให้สิ่งเหล่านี้มาทำให้คุณไม่พอใจ เพราะมันเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ ควรทำความเข้าใจว่า ความรักแบบคู่รักกับความรักของพ่อแม่ เป็นความรักคนละรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
-
ทำตัวให้สม่ำเสมอและเชื่อถือได้
ลูกเลี้ยงคุณอาจสร้างภาพเกี่ยวกับตัวคุณ รวมถึงสิ่งที่คุณจะเป็นสำหรับเค้าขึ้นมาเอง มันอาจเป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้น แต่คุณควรพยายามอย่างต่อเนื่อง ในการที่จะเป็นคนที่ลูกเลี้ยงคุณไว้ใจและเชื่อใจ อย่าทำดีแบบไม่สม่ำเสมอหรือทำบ้างไม่ทำบ้าง เพราะมันจะทำให้ดูเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและไม่น่าไว้วางใจ
-
คุณไม่สามารถวางแผนให้กับทุกสิ่งทุกอย่างได้
ไม่มีอะไรที่สามารถคาดเดาได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์บางอย่างก็อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิด ไม่มีเหตุผลที่จะวางแผนสำหรับสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ คุณสามารถเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่อาจแย่ที่สุด แต่อย่าตีตนไปก่อนไข้จะดีที่สุดเพราะอย่างน้อยมันก็ช่วยบรรเทาอาการเครียดได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : วางแผนการศึกษาเพื่อลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากอะไรบ้าง
-
สิ่งที่มาพร้อมกับความเป็นพ่อแม่
เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับช่วงเวลาที่ทั้งยอดเยี่ยมและย่ำแย่ การเป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง อาจเหมือนได้รางวัลชีวิตแต่ก็แฝงไปด้วยความเครียด แต่ลองคิดดูดี ๆ สิ พ่อแม่ทั่วไปก็มีทั้งช่วงเวลาที่ดี และแย่เหมือนกันล่ะน่า
-
ลูกเลี้ยง เปิดใจคุยกัน
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนมองโลกในแง่ดีซักแค่ไหน ก็คงไม่ได้มีแต่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในชีวิตจริงหรอก ในช่วงเวลาที่มีปัญหาหรือว้าวุ่นใจ คุณควรจะเปิดอกเปิดใจพูดคุยกับคู่ชีวิตและลูกเลี้ยงอย่างตรงไปตรงมา
รับมืออย่างไรกับความเจ็บปวด จากคำพูดที่โดนเสียดสี
เรามีเคล็ดลับแนะนำสำหรับแม่เลี้ยงและพ่อเลี้ยงในการรับมือกับช่วงเวลายากลำบาก ความเกลียดชัง หรือคำพูดที่เสียดแทงนั้นควรรับมือยังไงดีนะ ?
-
ขั้นที่ 1
อดทนไว้และปล่อยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ว่าสิ่งที่พวกเค้าพูดนั้นไม่จำเป็นและทำให้เจ็บปวด ทำให้พวกเด็ก ๆ รู้ว่าคุณพยายามอย่างบริสุทธิ์ใจที่จะรักและทำดีกับพวกเค้าอย่างเต็มความสามารถ
-
ขั้นที่ 2
ถ้าปฎิบัติการขั้นแรกล้มเหลว คุณอาจลองทำเป็นหูทวนลมให้กับคำหยาบคายที่ได้ยิน ลองพูดประโยคอย่าง “จากที่เราเคยคุยกันแล้วว่า ความคิดเห็นของหนูทำให้คนฟังรู้สีกไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ของเรา เพราะฉะนั้นชั้นจะไม่สนใจคำพูดของหนู”
-
ขั้นที่ 3
ถ้าคำพูด หรือการกระทำที่หยาบคายยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ อย่าเพิ่งท้อ ควรขอให้สามีหรือภรรยาของคุณ เข้ามาช่วยพูดคุยกับลูก ๆ แต่การพูดคุยนั้น ไม่ควรเป็นไปในลักษณะตำหนิ หรือตัดสินแต่อย่างใด ทำให้เด็ก ๆ เห็นว่าความรู้สึกหรือความคิดของแกมีคุณค่าแต่อย่าลืมที่จะชี้ให้ลูกเห็นว่า ยังมีทางอื่นที่ดีกว่าการใช้คำหยาบคาย หรือการกระทำที่แข็งกระด้างรับมือกับอารมณ์โกรธ หงุดหงิด หรืออารมณ์ด้านลบทั้งหลาย
เปิดใจพูดคุยกับคู่สามีหรือภรรยาของคุณและช่วยกันหาทางแก้ไข คู่ชีวิตคุณควรบอกลูกไม่ให้ใช้อารมณ์โกรธเกรี้ยวกับคุณ แต่ทั้งคุณและลูกเลี้ยงสามารถลองช่วยกันหาทางออกที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับและมีความสุขร่วมกันได้ และถ้าพ่อหรือแม้ที่แท้จริงของลูกเลี้ยงคุณเต็มใจที่จะช่วยเหลือด้วยล่ะก็ ปัญหานี้ก็จะแก้ไขได้ง่ายขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีเลี้ยงลูกด้วยการคิดบวกช่วยพ่อแม่รู้จัก “อดทน” มากขึ้น
-
ที่พึ่งสุดท้าย
หากทุกคำเสนอแนะไม่เป็นผล ในช่วงเวลานี้ คุณอาจต้องหยุดลองวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา แล้วลองให้คู่สมรสคุณวางแผนสำหรับการที่จะใช้เวลากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกิจจะลักษณะในเวลาอยู่ที่คุณไม่อยู่ หรือคุณอาจทำตัวให้ยุ่ง โดยการหากิจกรรมทำในเวลาที่สามีหรือภรรยาคุณใช้เวลาอยู่กับเด็ก ๆ
ถ้าคุณอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ก็ควรมีพื้นที่ ที่ทั้งคุณและลูกเลี้ยงของคุณสามารถใช้พื้นที่นั้น ๆ ได้อย่างอิสระในช่วงเวลาที่กำหนด แต่วิธีนี้ ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว เพราะฉะนั้น คุณควรหาผู้เชี่ยวชาญหรือคนให้คำปรึกษาทางด้านครอบครัว เพื่อช่วยแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คุณสามารถมีครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขได้ เพียงแค่ให้เวลาและใส่ใจที่จะสร้างครอบครัวในแบบที่คุณต้องการขึ้นมา
บทความที่คุณอาจจะสนใจ :
คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว vs คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว กับวิธีเลี้ยงลูกที่ต่างกัน
ความสุขจากการ รับทารกเป็นลูกบุญธรรม ต้องแลกกับอะไร??
ฝึกลูกอย่างไรให้มีความอดทน รู้จักรอคอย ไม่กลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง!
ที่มา : 1