Giant Congenital Melanocytic Nevus พบได้แค่ 1 ใน 20,000 ราย
กรณีของหนูน้อย Dylan Little วัย 4 ขวบ ถูกพบว่าเป็นโรค Giant Congenital Melanocytic Nevus ตั้งแต่กำเนิด อาการก็คือ มีไฝและปานกระจายอยู่ทั่วทั้งตัว แต่ที่ใหญ่ที่สุดคือ บริเวณแผ่นหลังที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณหู คอ หลัง จนถึงก้น
Kara ผู้เป็นแม่เล่าว่า ตอนที่ Dylan เกิดมา ก็พบว่า ร่างกายของลูกเต็มไปด้วยไฝ ขนาดเล็กและใหญ่ อยู่ทั่วร่างกายมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ บริเวณหลังของ Dylan ถูกปกคลุมไปด้วยสีดำ และมีเลือดไหลอยู่ตลอด ส่วนไฝก็ขึ้นทั้งหน้า แขน ขา เต็มไปหมด
ที่ใหญ่ที่สุดคือเหนือใบหู ยาวลงมาจนถึงบริเวณก้น เรียกได้ว่าทั่วทั้งหลัง ถูกปกคลุมด้วยสีดำ ส่วนขนาดของไฝทั้งตัวหนูน้อยก็มีตั้งแต่ขนาดใหญ่เท่าเหรียญ จนถึงเล็กเท่ารอยจุดของปากกา
แต่ไม่ใช่แค่นั้นนะ! ไฝและปานที่ขึ้นอยู่ทั่วทั้งตัวยังสามารถกลายเป็นมะเร็ง ทำให้ทั้งพ่อและแม่ของ Dylan ต้องรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางป้องกัน
เต้านมเทียม ช่วยลูกไว้ได้
วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ไฝจำนวนมากในร่างกาย กลายเป็นมะเร็ง คือการยืดขยายผิวหนังด้วยการใส่น้ำเกลือ (saline) ไว้ใต้ผิว เป็นวิธีคล้ายกับการทำเต้านมเทียม หรือการทำหน้าอก
โดยแพทย์ได้ใส่ Expanders ไว้ใต้ผิวหนังซึ่งบรรจุน้ำเกลือเอาไว้ เพื่อทำให้ผิวหนังของ Dylan ยืดขยาย เหมือนกับมีบอลลูนน้ำอยู่ใต้ผิวของ Dylan หลังจากนั้น 3 เดือนก็นำ Expanders ออกมา แล้วผิวหนังที่ขยายก็จะถูกใช้ปกปิดพื้นที่ที่แพทย์ผ่าตัดเอาปานออก
สำหรับการผ่าตัดนั้น Dylan ถูกผ่าตัดทั้งหมด 26 ครั้ง สามารถนำส่วนที่มีปัญหาออกไปได้กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้มาก
อย่างไรก็ตาม Dylan ต้องทำ MRI 2 ครั้งต่อปี เพื่อมอนิเตอร์ความเสี่ยงของมะเร็ง ที่อาจเกิดเป็นเนื้อร้ายในสมองและที่อื่นๆ โดยครอบครัวของ Dylan พยายามอย่างเต็มที่ ที่จะดูแลเขาให้ดีที่สุด
โรค Giant Congenital Melanocytic Nevus คืออะไร
Congenital melanocytic nevus เป็นชนิดของ Melanocytic nevus หรือ ไฝดำ พบมากในทารกแรกเกิด ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ จากทารกทั่วโลก ส่วนใหญ่แล้ว ไฝและปานจะเกิดบริเวณหัวและลำคอถึง 15 เปอร์เซ็นต์ สำหรับเด็กแรกเกิดจะออกสีค่อนข้างแดง แล้วจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลจนดำ ส่วนพื้นผิวเป็นได้ทั้งเรียบๆ หรือนูนขึ้นมา อาจมีขนปน ส่วนขนาดก็มีทั้งใหญ่และเล็กปะปนกัน
สำหรับปานและไฝที่เกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ในทางการแพทย์จึงมักตัดสินใจให้เอาออก ถ้าบริเวณนั้นดูมีความเสี่ยง และต้องตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับกรณีของ Dylan
ที่มา : ph.theasianparent.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อาการยิ่งแย่! เมื่อลูกที่เคยเป็นผื่นแพ้ติดโรคมือเท้าปาก