แม่ป้อนลูกหรือลูกหยิบกินเอง แบบไหนเสี่ยงติดคอ?
คุณแม่อาจเคยเห็นบางครอบครัวให้ลูกเบบี๋วัยเริ่มหม่ำหยิบอาหารกินเองแทนการป้อนอาหารทารก และสงสัยว่า ไม่กลัวอาหารติดคอลูกหรือ? งานวิจัยใหม่เผย ให้ลูกหยิบอาหารกินเอง ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงอาหารติดคอลูก
แม่ป้อนลูก หรือ ให้ลูกหยิบอาหารกินเอง แบบไหนเสี่ยงติดคอ?
ให้ลูกหยิบอาหารกินเอง (Baby-led weaning) เป็นวิธีหนึ่งในการเริ่มรู้จักอาหารที่เป็นของแข็ง โดยการให้ลูกกินอาหารด้วยตัวเอง แทนการใช้ช้อนป้อน แม่รู้ไหมว่า การให้ลูกหยิบอาหารกินเองนั้นได้ประโยชน์หลายอย่าง อาทิ ช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สนุกกับการกิน และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน
บทความแนะนำ ให้ทารกหยิบอาหารกินเองดีรึเปล่า?
แต่ถึงอย่างนั้นก็มีข้อกังวลเกี่ยวกับการให้ลูกหยิบอาหารกินเองว่า จะเพิ่มความเสี่ยงอาหารติดคอลูกหรือเปล่า? แต่งานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารกุมารแพทย์เปิดเผยว่า ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการให้ลูกหยิบอาหารกินเองกับการสำลักอาหาร
Rachael Taylor นักวิจัยอาวุโสและทีมนักวิจัยจาก University of Otago ในประเทศนิวซีแลนด์ได้ขอให้คุณแม่จำนวน 206 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเริ่มให้ลูกน้อยกินอาหารเสริมโดยใช้ช้อนป้อน ส่วนอีกกลุ่มให้ลูกหยิบอาหารกินเอง พบว่า เด็กที่หยิบอาหารกินเองไม่ได้มีแนวโน้มที่จะสำลักอาหารมากไปกว่าการใช้ช้อนป้อนเลย
เรียนรู้วิธีให้ลูกหยิบอาหารกินเองอย่างปลอดภัย คลิกหน้าถัดไป
ก่อนที่ Taylor จะเริ่มทำงานวิจัยชิ้นนี้ เธอและทีมงานได้ให้ข้อมูลวิธีการให้ลูกหยิบอาหารกินเองอย่างปลอดภัย แก่กลุ่มคุณแม่ที่ต้องให้ลูกหยิบอาหารกินเอง ดังนี้
- เจ้าตัวน้อยของคุณควรจะสามารถนั่งได้แล้ว หรืออย่างน้อยควรมีอายุ 6 เดือนก่อนเริ่มต้นให้ลูกกินอาหารเสริมสำหรับทารก
- อาหารที่เหมาะสำหรับการให้ลูกหยิบกินเองควรจะเป็นอาหารที่นุ่ม เช่น แอปเปิลต้ม แครอทต้ม ไม่ใช่ แอปเปิลและแครอทดิบ และต้องแน่ใจว่าไม่มีอาหารติดอยู่ที่เพดานปากของลูก
- ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกกินตามลำพัง
บทความแนะนำ อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป
อย่างไรก็ตาม ยังพบด้วยว่า ทารกทั้งสองกลุ่มได้รับอาหารที่เสี่ยงต่อการติดคอ เช่น ผักดิบและแครกเกอร์ ซึ่งทีมวิจัยจำเป็นต้องย้ำกับคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กถึงการเริ่มต้นให้ลูกกินอาหารที่ปลอดภัย และในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมถึงพ่อแม่ควรได้รับการสอนในเรื่องวิธีการรับมือเมื่ออาหารติดคอลูกต่อไป
ที่มา ph.theasianparent.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเด็กสำลักอาหารฉบับการ์ตูน เข้าใจง่าย! มีคลิป