เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก เพื่อให้ลูกนอนเป็นเวลา และมีพัฒนาการที่ดี

undefined

เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ เพราะปัญหาใหญ่ที่สุด และเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนมากกังวลกัน ตั้งแต่ลูกยังไม่คลอดออกมาเลย นั่นก็คือ การยอมรับความเป็นจริงให้ได้ว่า เมื่อคลอดลูกแล้ว โอกาสที่พ่อแม่มือใหม่จะได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเป็นสุขจะหายากขึ้น เพราะทารกแรกเกิดจะยังไม่รู้วันเวลา ไม่รู้เช้า กลางวัน เย็น ดึก เขาจะตื่นบ่อย ๆ และตื่นตอนกลางดึกด้วย

แค่คิดก็เครียดแล้วใช่ไหมคะ เรามักได้ยินประสบการณ์จากคุณพ่อคุณแม่ที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ยังไม่ได้นอน” ขอบตาเป็นหมีแพนด้า เหน็ดเหนื่อยกับการรับมือกับเด็กทารก ที่ไหนจะร้องไห้ เปลี่ยนผ้าอ้อม กินนม ตื่นมาก็ร้องโยเย จนส่งผลต่อสุขภาพและการทำงานของคุณพ่อคุณแม่เอง เพราะจัดสรรเวลาไม่ถูก ทั้งงานในบ้าน งานนอกบ้าน ดังนั้น เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการอดนอน ที่คุณพ่อคุณแม่จะได้รับ เราจึงสรรหา เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก มาให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกน้อย และจะได้บริหารเวลาได้ดียิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก

เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารกเพื่อให้ลูกนอนเป็นเวลา

เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก

1. ช่วงปรับตัว

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกท่าน ควรจะเข้าใจก่อนว่าในช่วงประมาณหนึ่งถึงสองเดือนแรกหลังคลอด เด็กทารกจะยังไม่รู้จักกลางวัน และกลางคืน จริงอยู่ว่าเด็กทารกเกิดใหม่ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่านม และการนอนหลับในช่วงสัปดาห์แรก ๆ แต่การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นช่วง ๆ ของลูกก็สร้างความปวดหัวให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องตื่นทุก ๆ สามหรือสี่ชั่วโมงกลางดึกเพื่อเลี้ยงลูก

ถึงแม้ว่าคุณจะทำอะไรได้ไม่ค่อยมากนัก สำหรับเรื่องความต้องการพื้นฐานของลูก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยทำให้ลูกเข้าใจ ถึงความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืนได้ โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกให้มากในช่วงกลางวัน และลดการทำให้ลูกตื่นตัวลงในช่วงกลางคืน พยายามสร้างบรรยากาศที่สงบ เงียบ มืดสลัว การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจว่ากลางวันเป็นเวลาสำหรับกิจกรรมเสียงดังต่าง ๆ ส่วนกลางคืนเป็นเวลาสำหรับพักผ่อนและอยู่เงียบ ๆ

2. ลดการสัมผัสกับลูกในช่วงกลางคืน

การเห่อลูกนั้นเป็นกันทุกครอบครัว แต่หากคุณพ่อคุณแม่สามารถปรับได้ ก็ควรลดการสัมผัสกับลูกในช่วงกลางคืน เพื่อให้ลูกได้รู้สึกเป็นตัวของตัวเอง เด็กทารกนั้นแทบจะนอนหลับอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากร่างกายต้องการการพักผ่อน พฤติกรรมบางประการ เช่น การโยก การกอด และการให้นม ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้นก็จริง แต่จะไปทำให้เด็กพึ่งพาสิ่งเหล่านี้เพื่อให้หลับได้ หากเราหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อ “ช่วย” ลูกได้ ลูกก็จะค่อย ๆ เชื่อมโยงการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับการเข้านอนได้เอง การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ ยังช่วยป้องกันนิสัยการนอนหลับยากในอนาคตซึ่งจะเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก

คุณอาจไม่เห็นผลของการปฏิบัติในทันที แต่การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกเงียบลงในช่วงเย็น และลูกก็จะค่อย ๆ พร้อมสำหรับเวลาเข้านอน โดยไม่มีการกรีดร้องเรียกหาความสนใจจากคุณ

 

ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง

3. จัดการเรื่องตารางนอนเป็นเวลาของทารกด้วยมือคุณเอง

หากลูกน้อยวัยแรกเกิดของคุณ กลายเป็นเด็กที่นอนตลอดกลางวันและตื่นตลอดกลางคืนล่ะก็ คุณจำเป็นต้องใช้การควบคุมเข้าช่วยบ้าง เรามีขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทารกเกิดใหม่ตัวน้อยของคุณ นอนเป็นเวลา และนอนหลับได้ในตอนกลางคืน ดังนี้

– ทำให้ลูกตื่นตัว โดยการพูดคุยและเล่นกับลูกในระหว่างกลางวัน และลดเวลานอนพักตอนกลางวันลงให้เหลือน้อยกว่าสองชั่วโมง การทำเช่นนี้จะทำให้ลูกเหนื่อยก่อนที่ตะวันตกดิน และลูกจะหลับไปเกือบตลอดคืน ลูกอาจจะตื่นมาร้องหิวนมบ้าง แล้วก็จะกลับไปหลับปุ๋ยต่อทันที หลังจากคุณทำซ้ำ ๆ เช่นนี้ลูกก็จะเคยชินกับการนอนหลับติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมงในตอนกลางคืน แทนที่จะหลับในตอนกลางวัน

– ใช้เคล็ดลับปลอบโยนต่าง ๆ เช่น การนวด หรือ เพลงกล่อมเด็ก เพื่อช่วยให้ลูกผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น และนอนเป็นเวลาขึ้นในตอนกลางคืน แต่กิจวัตรทั้งหมดต้องเสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 15 นาที และทุกอย่างต้องจบลงหลังจากกิจวัตรต่าง ๆ เสร็จสิ้น มิฉะนั้น เจ้าลูกตัวน้อยจะอยากให้คุณโอ๋ตลอดไปทั้งคืนแล้วคุณก็ต้องบอกลาการนอนหลับที่ตัวคุณเองต้องการไปได้เลย

– วางลูกไว้ในจุดที่มีเสียงดังระหว่างวัน เช่น ในห้องนั่งเล่น เพื่อให้ลูกหลับสั้น ๆ และลูกจะได้ตื่นเพราะเสียงต่าง ๆ ได้ง่าย และป้องกันไม่ให้ลูกนอนหลับมากเกินไป แต่ในทางกลับกัน ในตอนกลางคืน คุณควรวางลูกไว้ในห้องที่มีแสงทึม ๆ เงียบ ๆ มีการรบกวนน้อยที่สุด การทำเช่นนี้ยึดหลักวงจร “กลางวันและกลางคืน” ตามที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้

4. ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

กุญแจสำคัญที่สุดในการสร้างตารางนอนทารกที่ดี คือคุณต้องมีความคงเส้นคงวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรก ๆ เมื่อคุณจัดการรูปแบบการนอนได้ ลูกน้อยก็จะปรับตัวได้มากพอที่จะรับการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การเข้านอนในเวลาที่ดึกมากขึ้น

นับเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องชมลูกที่ลูกพยายามหลับเองได้ การได้รับคำชมทุกเช้าว่าเป็นเด็กที่โตแล้ว จะช่วยเสริมความมั่นใจให้ลูกและส่งเสริมให้ลูกพยายามอีกครั้งในตอนกลางคืน นับเป็นเรื่องสำคัญอีกเช่นกันที่คุณต้องบอกให้ลูกรู้ว่า การนอนหลับตอนกลางคืนเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ลูกเติบโตและแข็งแรง เหตุผลเหล่านี้มักจะพอที่จะช่วยให้ลูกพยายามด้วยตัวเอง ในขณะที่คุณเองก็ได้ตารางนอนแบบเดิม ๆ ของคุณกลับคืนมา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิจัยเผย ทารกนอนพัดลม ลดความเสี่ยงที่ลูกจะเป็น SIDS ประโยชน์ของพัดลม

เพลงกล่อมลูก พื้นบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 100

15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!