คนท้องต้องรู้ 3 ฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง? ที่คุณแม่ต้องรู้
ในช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่มีการงเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลต่ออารมณ์ที่แปรปรวนไม่คงที่ของคุณแม่ และร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง มาทำความรู้จักกับ “ฮอร์โมน” เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายในช่วงตั้งครรภ์นี้กันค่ะ
ในช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลต่ออารมณ์ที่แปรปรวนไม่คงที่ของคุณแม่ และร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยว “ ฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์ ” เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายในช่วงตั้งครรภ์นี้กันค่ะ
ทำความรู้จักฮอร์โมนคืออะไร
ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างไว้แล้วส่งไปตามกระแสเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์ ควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกายให้ทำงานปกติ ในขณะตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ ตั้งท้อง จนถึงช่วงหลังคลอด ซึ่งแต่ละไตรมาสคุณแม่จะพบกับความเปลี่ยนแปลงของตัวเองที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของฮอร์โมนแต่ละตัว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์
วิดีโอจาก : BabyandMom.co.th
1.ฮอร์โมน HCG
ฮอร์โมนตัวแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงคือ HCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกสร้างตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ จากเซลล์ในไข่ที่ถูกผสมและมาฝังตัวอยู่ที่มดลูก เพื่อที่จะกลายเป็นรกต่อไป ในช่วงแรกที่ไข่เริ่มผสมและรกยังเจริญไม่เต็มที่ ฮอร์โมน HCG จึงมีหน้าที่ไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ และเมื่อรกเจริญเต็มที่แล้ว รกก็จะทำหน้าที่เป็นผู้สร้างฮอร์โมนตัวอื่นแทนรังไข่ ฮอร์โมน HCG ที่ถูกสร้างมาเพื่อกระตุ้นรังไข่ก็จะลดน้อยลงไป
คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ในช่วงไตรมาสแรกเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน HCG ในร่างกายนี่เอง แม่ท้องบางรายที่มีอาการแพ้ท้องมาก ๆ อาจเป็นเพราะว่ามีฮอร์โมน HCG สูง ซึ่งต้องทำการตรวจเพิ่มว่าที่สิ่งผิดปกติหรือเปล่า เช่น การตั้งครรภ์แฝด หรือรกเจริญผิดปกติ
2.ฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen)
เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกกระตุ้นจากฮอร์โมน HCG เพื่อมาช่วยเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ให้อ่อนนุ่มขึ้น ยืดขยายได้ดีขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ดี และมีหน้าที่อื่น ๆ เช่น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น รับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ไข่ที่ผสมแล้วมาฝังตัวทำให้มดลูกของคุณแม่ขยายขนาดขึ้น ผนังมดลูกหนาขึ้น เสริมสร้างเนื้อเยื่อเซลล์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ในตอนท้องมดลูกจึงขยายใหญ่เป็นร้อย ๆ เท่าหรือเมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนดมดลูกจะขายจนมีความจุถึง 3-5 ลิตร จากก่อนตั้งครรภ์ที่มีความจุเพียง 10 มิลลิลิตร และมีส่วนทำให้ผนังช่องคลอดหนาตัวและยืดขยายได้ดีขึ้นด้วยเพื่อให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ในส่วนของช่องคลอด
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนเปลี่ยนเนื้อเยื่อให้ยืดขยายได้ จะไปทำให้เอ็น ข้อต่อหลวม โดยเฉพาะที่เชิงกราน เพื่อจะได้เหมาะแก่การคลอด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกปวดเมื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังช่วยกระตุ้นให้เลือดในร่างกายของแม่ท้องมีการไหลเวียนมากขึ้น ไปหล่อเลี้ยงที่มดลูกเพื่อนำอาหารและออกซิเจนไปให้แก่ลูกน้อยในครรภ์ และเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นให้ทารกในครรภ์มีการพัฒนา มีการสร้าง และการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ อีกด้วย
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังทำให้ผนังหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่ขึ้น ทำให้พวกสารน้ำต่าง ๆ ในระบบไหลเวียนเลือดมีการซึมออกมาที่เนื้อเยื่อข้างนอกได้ง่าย เป็นสาเหตุให้คุณแม่มีอาการบวมได้ง่ายเมื่อต้องเดินมาก ๆ หรือยืนนาน ๆ
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังทำให้เนื้อเยื่อของมดลูก ปากมดลูกนุ่มยืดขยายได้ง่ายขึ้น พร้อมที่จะหดรัดตัวได้ดีเมื่อคุณแม่เจ็บท้องคลอด และยังทำให้ภายในช่องคลอดของคุณแม่มีภาวะเป็นกรดมากขึ้น ช่วยทำให้ติดเชื้อต่าง ๆ ได้ยากขึ้นอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะสังเกตเห็นว่าผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรือเต้านมจะมีสีเข้มขึ้น บางคนอาจมีผื่นแดง ๆ ขึ้นได้ง่าย และมีผลทำให้ท้องอืดง่ายเนื่องจากส่งผลต่อระบบย่อยอาหารด้วย
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงตั้งครรภ์แล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้อารมณ์แม่ท้องแปรปรวนไม่คงที่ได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอดคือ ทำให้เต้านมขยายใหญ่ขึ้นทั้งมีการสร้างและขยายขนาดของท่อน้ำนมอีกด้วย
3. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนอกจากจะมีหน้าที่แบบเดี่ยว ๆ แล้ว ยังทำงานร่วมกันหรือประสานงานเป็นทีมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยกันสนับสนุนหรือไปยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวอื่นเพื่อไม่ให้ออกฤทธิ์ในช่วงที่ไม่จำเป็น เช่น
- ช่วยลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในกรณีเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปทำให้มดลูกขยายและพร้อมจะมีการหดรัดตัว แต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะไปยับยั้งอาการทำให้มดลูกยังไม่มีการหดรัดตัวมากเพื่อให้ทารกมาฝังตัวที่มดลูกได้ไม่แท้งออกไปและจะลดต่ำลงเมื่อใกล้คลอดเพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัว และคลอดทารกออกมาได้
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในการปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมแก่การฝังตัวด้วยคือทำให้หนาขึ้น มีเส้นเลือดมาเลี้ยงดีขึ้น ฯลฯ และยังทำให้แม่ท้องมีการสะสมไขมันมากขึ้นสำหรับใช้เป็นพลังงาน เป็นแหล่งของสารอาหารให้กับทารกในช่วงตั้งครรภ์
- ถึงแม้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยทำการยับยั้งเพื่อไม่ให้เกิดการสร้างน้ำนมของเต้านมในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ แต่ก็ได้ร่วมมือกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมให้ลูกหลังคลอด ช่วยขยายต่อมน้ำนมให้โตขึ้นและท่อน้ำนมให้มากขึ้น มีเซลล์ที่ช่วยสร้างน้ำนมได้เยอะขึ้นและให้ลูกกินได้ทันทีเมื่อแรกคลอด
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังมีส่วนที่ทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อยืดขยาย เป็นสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องปวดเมื่อยได้ง่าย ไม่ค่อยมีแรง ผลจากการกระตุ้นให้ร่างกายปรับตัวและหายใจเร็วขึ้นเพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดเยอะ ๆ เมื่อมีการแลกเปลี่ยนบ่อย ๆ ก็จะทำให้แม่ท้องเหนื่อยง่ายด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อหลังคลอดฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง เพราะว่าฮอร์โมนทั้งคู่นี้สร้างจากรก หลังคลอดเมื่อรกหลุดออกไปฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ก็เลยหายไปด้วย และทั้งหมดนี้ก็คือ ฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วย แอปพลิเคชัน The Asianparent (คลิก) นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอปพลิเคชันในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ละช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีหญิงตั้งครรภ์ ฉีดก่อนลูกน้อยในครรภ์ติดเชื้อ
อยากให้ลูกฉลาดต้องกินอะไร ? 7 อาหารบำรุงสมองลูก ให้ลูกกินบ่อย ๆ เเล้วฉลาด ความจำดี
ที่มาข้อมูล : iammomsociety.com