6 อาการใกล้คลอด หากเกิดอาการแบบนี้ เตรียมสตาร์ทรถไปโรงพยาบาลด่วน

ถ้ามี 6 อาการใกล้คลอดแบบนี้ เตรียมบอกสามีให้สตาร์ทรถไปโรงพยาบาลด่วนเลย อย่ามัวรอช้า

เมื่อเข้าสู่ช่วงระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจจะเกิดความรู้สึกกังวล ปนกับความรู้สึกตื่นเต้น ที่ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว เรามาดูอาการคลอดกัน 6 อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง

 

อาการใกล้คลอด อาการ คลอด อาการ คลอด อาการใกล้คลอด อาการ ของ คน จะ คลอด

6 อาการคนท้องใกล้คลอด อาการจะคลอดเป็นยังไง

 

1. อาการใกล้คลอด เจ็บท้อง

ในช่วงหลังจากเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องหลายคนมักจะรู้สึกว่ามดลูกบีบตัว หรือหดตัวเป็นระยะ ๆ ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่ การหดตัวของมดลูกก็จะถี่ และรุนแรงขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาการแบบนี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่หลายท่านสับสน และอาจจะนึกว่าเป็นการเจ็บท้องคลอดจริงๆ

แต่การเจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องหลอกนั้นเป็นสัญญาณว่า ขณะนี้มดลูกเตรียมพร้อมต่อการคลอดที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะคลอดวันนี้ พรุ่งนี้ แม่ท้องบางท่านอาจจะต้องรออีกนานเป็นเดือนกว่าจะคลอดเลยก็มี

เรามาดูกันว่าอาการแบบไหนคือ     อาการเจ็บท้องจริง หรืออาการเจ็บท้องหลอกกันแน่เพื่อจะได้เตรียมตัวไปโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

 

อาการเจ็บท้องหลอก หรือเจ็บท้องเตือน

  • ปวดท้องมากบ้าง น้อยบ้าง เดี๋ยวถี่ เดี๋ยวห่าง ไม่สม่ำเสมอ แม่ท้องบางท่านก็ปวดติด ๆ กันหลาย ๆ ครั้งแล้วก็หายปวด
  • เมื่อได้นอนพัก หรือเปลี่ยนท่าทาง อาการก็จะดีขึ้น
  • ความเจ็บปวดจะคล้ายๆ กับการปวดประจำเดือน
  • ไม่มีเลือด หรือมูกเลือดปนออกมาจากช่องคลอด
  • มักมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย

 

อาการเจ็บท้องจริง

  • มีอาการปวดอย่างสม่ำเสมอ และปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • ท้องแข็งตึง
  • แม่ท้องจะรู้สึกเริ่มเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนแล้วจึงเจ็บร้าวไปที่หลัง
  • หากเดิน หรือเคลื่อนไหวจะมีอาการเจ็บมากขึ้น
  • อาจมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดร่วมด้วย

หากคุณแม่ท้องมีอาการเจ็บทุก ๆ 10 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้าพบคุณหมอทันที

 

หากคุณแม่สงสัยว่า อาการใกล้คลอดเป็นอย่างไร สัญญาณใกล้คลอดแบบไหนต้องรีบไปหาหมอกันแน่ คุณแม่สามารถสอบถามอาการใกล้คลอดกับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ในคอมมูนิตี้ผ่านออนไลน์แชท หรือขอรับคำปรึกษาจากแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี ผ่าน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดาวน์โหลดเลย! 

 

2. อาการใกล้คลอด ลูกดิ้นน้อยลง

สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง  นั่นก็เป็นเพราะในช่วงนี้ ทารกในครรภ์นั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับขนาดของโพรงมดลูก และน้ำคร่ำที่สร้างขึ้นก็มีปริมาณที่จำกัด จึงทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวลำบาก

หากแม่ท้องรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงอย่างผิดปกติ หรือลูกไม่ดิ้นนานเกินไป แม่ท้องควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้

อาการใกล้คลอด อาการ คลอด อาการใกล้คลอด อาการ คลอด อาการ ของ คน จะ คลอด

3. ท้องลด

หากแม่ท้องสังเกตพบว่า ภายหลังจากการตั้งครรภ์ไปได้ 36 สัปดาห์ แล้วท้องอาจมีขนาดลดลง นั่นก็เป็นเพราะทารกในครรภ์ที่เคยอยู่ในมดลูกระดับเหนือช่องเชิงกราน เริ่มเคลื่อนต่ำลง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการคลอดที่กำลังจะตามมาในไม่ช้านี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว อาจจะสังเกตเห็นว่า ท้องลดช้ากว่าในท้องแรก ๆ ในขณะที่คุณแม่จำนวนไม่น้อย จวบจนใกล้คลอดแล้ว ท้องยังไม่ลด หรือไม่รู้สึกว่าท้องลดเลย จนกระทั่งถึงระยะเจ็บคลอดก็มี

 

4. มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด

ในช่วงการตั้งครรภ์นั้น บริเวณปากมดลูกจะมีเมือกที่เรียกว่า mucus plug เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ ในช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกเริ่มเปิด และบางลง เมือกนี้ก็จะหลุดออกมา และบางครั้งอาจมีเลือดผสมออกมาด้วย อาการแบบนี้ควรรีบพบแพทย์ได้แล้ว เพราะแสดงว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดเต็มทีแล้ว

 

5. อาการใกล้คลอด น้ำเดิน

ถ้าคุณแม่มีอาการน้ำเดินไม่ว่าจะมีอาการเจ็บท้องคลอด หรือไม่ก็ตาม ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที เพราะสายสะดือของทารกในครรภ์อาจถูกกดทับจากภาวะที่น้ำคร่ำน้อยลง หรือเกิดภาวะสายสะดือโผล่แลบ (Umbilical Cord Prolapes) ในกรณีที่ทารกในครรภ์ไม่ได้อยู่ในท่าที่เอาศีรษะลง หรือถ้าทิ้งให้น้ำเดินเป็นเวลานานหลายชั่วโมง (มากกว่า 18 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ เนื่องจากเชื้อโรคเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และโดยทั่วไปแม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง

 

อาการใกล้คลอด อาการ คลอด อาการใกล้คลอด อาการ คลอด

6. ปากมดลูกเปิด

ปกติแล้ว ปากมดลูกของคนท้องจะหนาเล็กน้อย และปิดค่อนข้างแน่นสนิท เพื่อช่วยปกป้องทารกในครรภ์จากอันตรายจากภายนอก แต่ร่างกายของคนท้อง จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมคลอด โดยปากมดลูกจะเริ่มอ่อนนุ่ม บางลง และสั้นลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเปิดขยายกว้างขึ้นเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้ทารกคลอดออกมาได้สำเร็จ

เมื่อใกล้ถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิด และขยาย ทำให้มูก และเลือดบริเวณปากมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก ซึ่งนั่นก็เป็น อาการใกล้คลอด ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลย

 

อาการอื่น ๆ ที่ควรรีบไปโรงพยาบาล

นอกจาก อาการใกล้คลอด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากแม่ท้องมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ก็ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอได้เลย

  • มีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บท้องคลอดก็ตาม
  • มีเลือดสด ๆ ออกมาทางช่องคลอด กรณีแบบนี้อันตรายมาก เพราะอาจจะไม่ใช่การเจ็บท้องคลอดธรรมดา แต่อาจจะมีรกเกาะต่ำ หรือรกขวางทางคลอดได้
  • อาเจียนไม่หยุด
  • น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่นๆนอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

 

เตรียมของไปคลอดมีอะไรบ้าง ?

เตรียมของไปคลอดลูก สำหรับทารก

  • ถุงเท้า: ทารกแรกเกิดมักจะภูมิคุ้มกันน้อย และยังไม่คุ้นชินกับสภาวะนอกมดลูกของแม่ ดังนั้น คุณแม่ต้องเตรียมถุงเท้าให้กับลูกน้อย
  • ผ้าห่ม: อย่าลืมเตรียมผ้าห่มสำหรับลูกน้อยที่มีผิวสัมผัสนุ่ม ไม่ระคายเคืองกับลูกน้อย
  • ผ้าอ้อม: คุณแม่อย่าลืมเตรียมผ้าอ้อมสำหรับทารกแรกเกิด อาจจะเตรียมไว้ประมาณ 20 – 30 ชิ้น สำหรับการพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล
  • กระดาษทิชชู่แบบแห้ง/แบบเปียก: กระดาษทิชชู่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะคุณแม่ต้องใช้เช็ดทำความสะอาดลูกน้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีทั้ง 2 แบบ คือ แบบเปียก และแบบแห้ง ที่สำคัญควรเลือกผิวสัมผัสที่มีความอ่อนโยนต่อเด็ก
  • เสื้อผ้า: สำหรับเสื้อผ้าสำหรับเด็ก แนะนำให้ใช้แบบไม่มีกระดุม เป็นแบบผูกได้ยิ่งดี เพื่อที่น้องจะได้ไม่รู้สึกเจ็บเวลาที่พลิกตัวไปมา
  • คาร์ซีท: จำเป็นมากสำหรับเด็ก เพราะจะช่วยประคองเด็กไว้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

บทความที่เกี่ยวข้อง  : 9 ของใช้เด็กอ่อน พ่อแม่มือใหม่เตรียมความพร้อม ต้องเตรียมอะไรบ้าง

 

ของที่ต้องเตรียมสำหรับคุณแม่ที่มีอาการใกล้คลอด

  • ถุงเท้า: คุณแม่ อาจเตรียมถุงเท้า ใส่เพื่อเพิ่มความอุ่นให้ กับ ร่างกายเนื่องจากโรงพยาบาลบางแห่งอาจมี เปิดแอร์แรง ทำให้คุณแม่รู้สึกหนาวได้
  • เอกสารสำคัญต่าง ๆ: จำพวกเอกสารที่ต้องใช้กับโรงพยาบาล บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประกัน หรือเอกสารใด ๆ ที่จำเป็นสำหรับการไปโรงพยาบาลเพื่อคลอดลูก ให้เตรียมให้เรียบร้อยไว้เลย
  • หมอน: หมอน ที่โรงพยาบาล อาจหนุนแล้ว ต่ำเกินไป หรือ สูงเกินไป ทำให้คุณแม่ นอนแล้ว รู้สึกไม่สบายตัว ดังนั้นพกหมอน ที่รู้สึกว่าหมอนเราสบาย ที่สุดไปด้วย หรือ อาจจะเอาไปหนุน แก้ปวดเมื่อย ก็ได้
  • ชุดชั้นใน: เตรียมชุดชั้นในสำหรับให้ นมลูกไปให้พอดี กับจำนวนวันที่ นอนค้าง ที่โรงพยาบาล
  • แผ่นซับ น้ำนม: สำหรับคุณแม่ ที่มีน้ำนมออกมาก แนะนำให้เตรียมไปด้วย
  • อุปกรณ์ อาบน้ำ: อุปกรณ์อาบน้ำ ควรเตรียมไปให้พร้อม
  • รองเท้าแตะ: คุณแม่อาจหารองเท้าที่ใส่สบาย ๆ ระหว่างอยู่โรงพยาบาลด้วย เวลาลุกไป ห้องน้ำ หรืออาบน้ำ
  • โทรศัพท์มือถือ และสายชาร์จ: อุปกรณ์ต่าง ๆ สายชาร์จ มือถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย
  • เสื้อผ้า ชุดวันกลับ: เสื้อผ้าวันกลับ แนะนำ ให้คุณแม่เลือกเสื้อผ้าที่ ใส่สบายหน่อย อาจเป็นชุดคลุมท้อง ก็ได้เพราะว่าท้อง คุณแม่บางคนยังไม่ยุบค่ะ

 

คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น รับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยก็จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาลให้พร้อม เพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกเมื่อถึงเวลาจริงนะครับ

 

ที่มา medthai, momjunction

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องนอนท่าไหน ไม่ให้ปวดหลังและปวดเอว

วิธีเร่งคลอดธรรมชาติ ทำอย่างไรให้ปากมดลูกเปิด

วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด จะคลอดเองหรือผ่าคลอด ก็ฟื้นตัวเร็วได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!