100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 50 อาการธาลัสซีเมียในเด็ก
เมื่อลูกมีอาการป่วยแน่นอนอยู่แล้วว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องมีความกังวล วันนี้ขอนำบทความที่เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย อาการธาลัสซีเมียในเด็ก มาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน
เมื่อลูกมีอาการป่วยแน่นอนอยู่แล้วว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องมีความกังวลใจมาก ยิ่งถ้าเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคไข้หวัดธรรมดา พ่อแม่ก็ยิ่งกังวลไปอีก วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย อาการธาลัสซีเมียในเด็ก มาฝากเหล่าคุณพ่อคุณแม่กัน
โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร
โรคธาลัสซีเมีย คือ โรคโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ และแตกง่าย สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง และสภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น นิ่วในถุงน้ำดี การเจริญเติบโตน้อย มีภาวะเหล็กเกิน การทำงานของหัวใจและตับผิดปกติ เบาหวาน
โดยโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันทารกที่เกิดใหม่ในประเทศไทยประมาณ 12 คนในประชากรเกิดใหม่ 1000 คนเป็นโรคนี้ ซึ่งหมายความว่ามีประชากรเด็กเกิดใหม่ที่เป็นธาลัสซีเมียประมาณ 12,000 รายต่อปี จากการสำรวจล่าสุดพบว่าคนไข้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และต้องรับเลือดเป็นประจำมีมากถึง 3-4 แสนราย และเพื่อการรับมือได้อย่างถูกต้อง นี่คือคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จาก นพ.อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 2
ธาลัสซีเมียแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- อัลฟา – ธาลัสซีเมีย (a – thalassemia)
- เบต้า – ธาลัสซีเมีย (b – thalassemia)
ถ้าผู้ใดรับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา – ธาลัสซีเมีย หรือ เบต้า – ธาลัสซีเมีย มาจากบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียว ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นพาหะอัลฟาธาลัสซีเมีย พาหะฮีโมโกลบินคอนแสตนสปริงค์ พาหะเบต้าธาลัสซีเมีย หรือพาหะฮีโมโกลบินอี แต่ถ้าผู้ใดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา – ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา หรือชนิด เบต้า – ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นโรคธาลัสซีเมีย เช่น โรคฮีโมโกลบินเฮช โรคฮีโมโกลบินบาร์ท โรคเบต้าธาลัสซีเมีย หรือ โรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน เป็นต้น
อาการของโรคธาลัสซีเมีย
- ชนิดที่รุนแรงที่สุด คือ ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอดไม่นาน
- ชนิดปานกลาง และชนิดรุนแรงน้อย ตับม้ามโตไม่นาน ซีดไม่มากแต่เมื่อมีไข้จะซีดมากขึ้น
- ชนิดรุนแรง คือ แรกเกิดไม่มีอาการ จะสังเกตเห็นอาการชัดเมื่ออายุ 3-6 เดือน อาการที่สำคัญ คือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามโต ตับโต ตัวเล็ก เติบโตไม่สมอายุ มักซีดมากจนต้องได้รับเลือดเป็นประจำ
วิธีดูแลเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย
นพ.อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคเลือดและโรคมะเร็ง ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2ได้อธิบายเรื่องการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียไว้ว่า ในด้านสภาพแวดล้อมของเด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียไม่จำเป็นต้องดูแลมากเท่าไร แต่ต้องดูแลเรื่องการกินมาเป็นพิเศษ เพราะเด็กที่เป็นธาลัสซีเมียจะมีอาการซีด อาหารที่กินต้องครบ 5 หมู่ และกินให้ครบ 3 มื้อ และดูแลสุขภาพอนามัยเป็นอย่างดี ต้องกินวิตามินตามที่หมอสั่งให้ครบ ถ้าในรายที่รับเลือดเป็นประจำก็ต้องกินยาขับธาตุเหล็กให้สม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีชีวิตยืนยาวได้เท่าที่คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียเป็นได้
คุณหมอยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ในปัจจุบันทางการแพทย์มีการรักษาโรคธาลลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้หายขาดได้ด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell Transplantation) จากผู้บริจาคที่มีหมู่เนื้อเยื่อตรงกันหรือเข้ากันได้กับผู้ป่วย
Stem Cell นั้นจะได้มาจากไขกระดูก หรือเซลล์ในกระแสเลือดของผู้บริจาค หรือจากเลือดสายสะดือและรกของทารกแรกเกิดก็ได้ โดยมักต้องเริ่มหาจากพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ป่วยก่อน ซึ่งมีโอกาสตรงกันถึง 1 ใน 4 แต่ถ้าโชคไม่ดีก็ต้องแสวงหาผู้บริจาคจากการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครผู้ยินดีบริจาค stem cell
อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดควรกระทำตั้งแต่ผู้ป่วยอายุน้อยๆ ตับม้ามไม่โตมาก ได้รับเลือดมาจำนวนไม่มาก หรือได้เลือดมามาก แต่ได้รับยาขับเหล็กอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ จึงจะได้ผลสำเร็จดี
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : si.mahidol.ac.th , siphhospital.com , si.mahidol.ac.th , synphaet.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีสังเกตลูกเป็นไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร
14 ประกันสุขภาพเด็ก เปรียบเทียบประกันสุขภาพให้ลูก เลือกตัวไหนดี ตัวไหนคุ้ม