ไขข้อข้องใจ รู้ได้อย่างไรว่าลูกกลับหัวแล้ว อาการลูกกลับหัว เป็นแบบไหน ?

undefined

อาการลูกกลับหัว เป็นหนึ่งในอาการที่คนท้องท้องแก่ มักจะมีสัญญาณใกล้คลอดเตือนให้คุณแม่รู้อยู่เสมอ แต่ว่าอาการเหล่านั้นจะค่อย ๆ มาตามพัฒนาการของการตั้งครรภ์ค่ะ อาการกลับหัวของทารกก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่เตรียมความพร้อมว่าลูกน้อยใกล้ที่จะออกมาพบคุณพ่อคุณแม่แล้ว แต่ว่า อาการลูกกลับหัว เป็นยังไง แบบนี้คนท้อง รู้ได้อย่างไรว่าลูกกลับหัวแล้ว ถ้าลูกไม่กลับหัวอันตรายหรือไม่ วันนี้ TAP มีคำตอบให้

เมื่อลูกเริ่มกลับหัว จะรู้สึกยังไงกันนะ ?

คุณแม่บางคนอาจจะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงว่าลูกน้อยในท้องค่อย ๆ ที่จะกลับหัวแล้วนะ แต่คนแม่บางคนก็ไม่ทันได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นเลยแม้แต่น้อย วิธีการสังเกตตัวเองง่าย ๆ เลยก็คือ หน้าท้องของคุณแม่ที่ลดลง เพราะทารกได้เลื่อนลงไปสู่ตำแหน่งที่ต่ำกว่าอุ้งเชิงกรานไปอีก ทำให้คุณแม่มีพื้นที่ในช่องท้องมากขึ้น แต่จะรู้สึกหน่วง ๆ ที่บริเวณระหว่างขา เหมือนมีลูกหรืออะไรบ้างอยู่ช่วงนั้นค่ะ เราลองมาดูกันดีกว่าว่า สัญญาณลูกกลับหัว มีอะไรบ้าง

 

ทำไมลูกน้อยถึงเอาหัวลง ?

การที่ลูกน้อยกลับหัว เอาหัวลงนั้น จะทำให้คุณแม่สามารถคลอดได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากศีรษะของลูกน้อยมีความอ่อน และนิ่มกว่าส่วนอื่น ๆ และด้วยลักษณะที่กลม ช่วยขยายปากมดลูกของแม่ท้องเพื่อทำการคลอดต่อไปได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อศีรษะของทารกออกมาได้สำเร็จแล้ว ส่วนอื่น ๆ ก็จะตามออกมาเองโดยที่แม่ท้องไม่จำเป็นต้องพยายามเบ่งมากเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีทำให้ลูกกลับหัว ทำตอนไหน อย่างไร ถ้าลูกไม่กลับหัวอันตรายแค่ไหน

 

10 สัญญาณและ อาการลูกกลับหัว มีอะไรบ้าง ?

 

อาการลูกกลับหัว

1. พุงลด

เมื่อศีรษะของลูกกลับลง หน้าท้องของคุณแม่จะหายไป หรือที่เรียกกันว่า ท้องลดต่ำลง คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าท้องของตัวเองเล็กลง นั่นก็เป็นเพราะว่าลูกกลับหัวแล้ว บริเวณหัวของลูก จะไปอยู่ระหว่างกระดูกเชิงกรานนั่นเอง อีกหนึ่งข้อสังเกตคือระยะห่างระหว่างช่วงบริเวณหน้าอก และช่วงท้องมีขนาดที่ห่างกันมากขึ้นอีกด้วย

 

2. ปวดกระดูกเชิงกรานมากขึ้น

ปกติคุณแม่จะรู้สึกปวดกระดูกเชิงกรานอยู่แล้ว แต่เมื่อท้องลด ลูกเคลื่อนต่ำลงอาการปวดก็จะมีมากขึ้น เนื่องจากลูกน้อยเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้กระดูกเชิงกรานต้องทำการรับน้ำหนักตัวของทารกแทนช่วงอกของแม่ท้อง ทำให้เกิดความดันบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นตาม ทำให้คุณแม่เริ่มเดินได้ลำบากมากขึ้นอีกด้วย

 

3. ปวดอุ้งเชิงกราน

อาการปวดอุ้งเชิงกรานเป็นอาการต่อเนื่องมาจากการปวดกระดูกเชิงกราน นั่นเป็นเพราะว่าศีรษะของลูกน้อย เคลื่อนที่ต่ำลงจนไปทับบริเวณเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดตึงตลอดเวลา และจะรู้สึกปวดบ่อยมากขึ้นเมื่อศีรษะลูกลงต่ำไปอีก

 

4. การหายใจดีขึ้น

ช่วงก่อนหน้านี้คุณแม่คงจะรู้สึกว่าตัวเองหายใจลำบาก หายใจไม่ค่อยออกอยู่บ่อย ๆ นั้นเพราะว่ามดลูกไปดันเอาพวกอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ อย่างเช่นปอด แต่พอลูกเคลื่อนลงต่ำ ทำให้คุณแม่มีพื้นที่ในการหายใจมากขึ้นค่ะ

 

5. ริดสีดวง

ในช่วงนี้คุณแม่มีโอกาสที่จะเป็นริดสีดวงง่ายมาก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยของคนท้อง สาเหตุก็ไม่ใช่อะไร มาจากการที่ลูกลดศีรษะลงและไปดันเอาเส้นประสาทแถวกระดูกเชิงกรานและลำไส้ตรง เป็นอาการที่ต่อเนื่องเมื่ออุ้งเชิงกรานต้องรับน้ำหนักลูกน้อยทั้งหมด ทำให้คุณแม่เป็นโรคริดสีดวงบ่อย ๆ บางคนกว่าจะหายขาดก็ต้องรอให้คลอดลูกก่อนค่ะ ดังนั้นในช่วงนี้แม่ท้องควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย และดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก

 

6. สังเกตได้ถึงมูกใส ๆ มากขึ้น

คุณแม่ไม่ต้องตกใจนะคะ ถ้าพบว่าตัวเองมีมูกใส ๆ ออกมาจากบริเวณช่องคลอด ขณะทำความสะอาด เนื่องจากเป็นอาการที่พบเห็นได้ทั่วไปของแม่ท้อง ซึ่งอาการนี้เป็นผลมาจากการที่ทารกเคลื่อนที่ไปใกล้ปากมดลูกมากขึ้น โดยประโยชน์ของมูกที่ออกมาจากปากมดลูก คือ มันสามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรีย สิ่งสกปรก หรือสิ่งแปลกปลอม ไม่ให้เข้าสู่มดลูกได้

 

7. ปัสสาวะบ่อย

แน่นอนว่าเมื่อท้องลดต่ำลง มดลูกเคลื่อนลงมาข้างล่างอวัยวะที่มีผลกระทบคือกระเพาะปัสสาวะค่ะ ทำให้ในช่วงใกล้คลอดคุณแม่จะรู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยมากขึ้นทั้ง ๆ เพิ่งเข้าห้องน้ำไปได้ไม่นาน นั่นก็เป็นเพราะว่า ลูกน้อยเคลื่อนที่ลงไปใกล้ จนกดทับกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นนั่นเองค่ะ

 

8.อาการปวดหลัง

ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้คุณแม่จะรู้สึกปวดหลัง แต่อาการปวดหลังยังคงอยู่และมีจะเพิ่มขึ้นไปอีก โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างเพราะทารกเคลื่อนตัวไปกดเอากล้ามเนื้อหลังส่วนหลังล่าง แต่อาการเหล่านี้ สามารถบรรเทาได้ด้วยท่ายืด หรือโยคะเบา ๆ สำหรับคนท้อง จะทำให้แม่ท้องรู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ

 

9.รู้สึกหิวบ่อย

เมื่อก่อนคุณแม่อาจจะกินได้น้อยแต่อาศัยการกินบ่อย ๆ เพราะว่าพื้นที่กระเพาะน้อย แต่ตอนนี้พื้นที่กระเพาะคุณแม่มีมากขึ้น ทำให้คุณแม่ทานอาหารได้เยอะขึ้นค่ะ

 

10. เจ็บท้องหลอก

หลาย ๆ ครั้งที่แม่ท้องรู้สึกได้ถึงการหดรัดตัวของมดลูก และสงสัยว่าตัวเองกำลังจะคลอดหรือเปล่า คำตอบคือ ยังไม่คลอดนะคะ เนื่องจากเมื่อลูกน้อยลดตัวต่ำลงแล้ว เป็นหนึ่งในการเตรียมตัวสำหรับการคลอดที่จะเกิดขึ้นต่อไป อาการเจ็บท้องหลอกก็เช่นกัน เป็นการเตรียมร่างกายของแม่ท้องให้พร้อมคลอดให้อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : จะรู้ได้ไงว่าลูกกลับหัว วิธีสังเกตสำหรับคนท้อง อาการแบบไหนลูกกลับหัวใกล้คลอด

 

อาการลูกกลับหัว เกิดขึ้นเร็ว จะคลอดก่อนกำหนดจริงหรือ ?

 

อาการลูกกลับหัว

 

สำหรับคุณแม่ท่านใด ที่กังวลว่า ลูกของเรา กลับหัวเร็วเกินไปหรือไม่ ? ใช่สัญญาณอันตรายหรือเปล่า ? โดยปกติทารกจะสามารถเริ่มกลับหัวที่สัปดาห์ที่ 34 แต่ก็สามารถกลับหัวตั้งแต่สัปดาห์ที่ 27 เป็นต้นไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณแม่ท้องสังเกตตัวเองแล้วว่ามีสัญญาณของลูกกลับหัวในระยะนี้ ไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะคลอด ไม่ใช่สัญญาณว่าคุณแม่จะคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด เป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเห็นกันได้อยู่บ่อยครั้งค่ะ

 

ลูกไม่ยอมกลับหัว อันตรายหรือไม่ ?

เป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมากเมื่อลูกไม่กลับหัว เพราะจะทำให้การคลอดธรรมชาตินั้น เป็นไปได้ยาก ด้วยความที่ส่วนหัวลงมาจนถึงส่วนลำคอของทารก ยังเป็นส่วนที่มีความอ่อน และไม่แข็งเท่าส่วนอื่น ๆ อย่างแขนและขา ดังนั้นเมื่อทารกเอาแขนและขาออกมาก่อน โอกาสที่หัวของทารกจะติดอยู่ที่ช่องคลอดมีมาก และไม่สามารถดึงแรงได้เนื่องจากส่วนหัวนั้นบอบบางมาก ๆ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตขณะคลอด เนื่องจากปากมดลูกอาจไปบีบรัดคอทารก หรือกดทับทำให้ทารกไม่สามารถรับออกซิเจนได้ แต่ก็ยังมีหนทางแก้ปัญหาทารกไม่กลับหัวอยู่บ้าง โดยถ้าหากทารกไม่ยอมกลับหัวจริง ๆ เมื่อถึงเวลาคลอดแล้ว คุณหมออาจพิจารณา ผ่าคลอดต่อไป เพื่อรักษาชีวิตลูกน้อยนั่นเองค่ะ

 

มาฟังคุณหมอพูดกัน !

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ 10 สัญญาณว่าลูกน้อยในท้องกลับหัวแล้ว คุณแม่ท่านไหนลองสังเกตตัวเองตามแล้วบ้าง สรุปลูกน้อยของคุณแม่กลับหัวหรือยังนะ ? อาการลูกกลับหัว นั้นเป็นสิ่งที่แม่ท้องทุกคนควรทำความเข้าใจไว้แต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าหากคอยสังเกตก็แล้ว เช็กตัวเองก็แล้ว ลูกน้อยก็ยังไม่ยอมกลับหัวสักที นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตราย ที่คุณแม่ต้องรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เพื่อหาหนทางแก้ปัญหาต่อไปค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

อาการผิดปกติของคนท้อง แต่ละไตรมาส วิธีสังเกตอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ที่แม่ต้องไปโรงพยาบาล

เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง อาการใกล้คลอด ที่คนท้องไตรมาสสุดท้ายต้องรู้

9 อาการปวดแม่ท้องแบบไหนปกติ แบบไหนอันตราย อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ ปวดแบบนี้ ฉุกเฉินไหม

ที่มา: medicalnewstoday

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!