ยาที่ควรเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ ยาอะไรบ้างที่ไม่ควรกินตอนท้อง

undefined

แต่ละปีจะมีเด็กทารกราวหนึ่งคนในทุก ๆ 33 คนเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติแต่กำเนิด เชื่อว่าราวร้อยละ 2 ถึง 3 ในจำนวนนี้เป็นผลจากการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์

ยาที่ควรเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์

แต่ละปีจะมีเด็กทารกราวหนึ่งคนในทุก ๆ 33 คนเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติแต่กำเนิด เชื่อว่าราวร้อยละ 2 ถึง 3 ในจำนวนนี้เป็นผลจากการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ผู้หญิงต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาใด ๆ ก็ตามในช่วงสัปดาห์ที่ 8-10 ของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นระยะที่ลูกน้อยของคุณกำลังพัฒนาสมอง หัวใจและปอด ฤทธิ์ของยาอาจนำไปสู่ความบกพร่องในอวัยวะเหล่านี้ได้ ยาที่ควรเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

ยาที่ควรเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์

ยาที่ควรเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาจริง ๆ กรุณาหลีกเลี่ยงยา / ขั้นตอนทางการแพทย์ดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความบกพร่องต่อตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ของคุณได้

  • แอสไพริน – ยาแก้ปวดศีรษะและไมเกรน
  • คาร์บามาซิพีน (Carbamazepine) – ยารักษาโรคลมชัก
  • แคปโตพิล (Captopil) – ยารักษาความดันโลหิตสูง
  • ดิสทิลโบเอสตรอล (Distilboestrol) – ฮอร์โมนชนิดเม็ด
  • ฟลูโอซิทีน (Fluoxetine) – ยารักษาอาการซึมเศร้า
  • ลิเธียม (Lithium) – ยารักษาอาการอารมณ์แปรปรวน
  • มาลาโรน (Malarone) – ยาป้องกันโรคไข้จับสั่น
  • พอนสแตน (Ponstan)- ยาแก้ปวด
  • ฟีไนโทอิน (Phenytoin) – ยารักษาโรคลมชัก
  • โร-แอคคิวเทน (Ro-accutane) – ยารักษาสิว
  • ซินเฟล็กซ์ (Synflex) – ยาแก้ปวดศีรษะและไมเกรน
  • เตตราไซคลิน (Tetracycline) – ยาปฏิชีวนะใช้รักษาโรคติดเชื้อในช่องอกและช่องคลอด
  • ธาลิโดไมด์ (Thalidomide) – ยาแก้อาการแพ้ท้อง
  • วิตามินเอปริมาณมาก – ปริมาณที่แนะนำในช่วงตั้งครรภ์คือ 8,000 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน
  • วาร์ฟาริน (Warfarin) – ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • เอ็กซ์-เรย์ – โดยเฉพาะหากร่างกายจะได้รับรังสีมากกว่า 5 R (หน่วยของปริมาณรังสีที่ได้รับ)

ท้ายที่สุดนี้ขอให้พึงระลึกอยู่เสมอว่าคุณกำลังตั้งครรภ์และไม่ควรใช้ยาใด ๆ ทั้งสิ้นโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับคนท้อง

5 อาหารควรเลี่ยงขณะตั้งครรภ์

ประโยชน์ของน้ำมันปลากับคนท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!