ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

ทารกกินอาหารเสริมก่อนวัย 6 เดือน ทำให้ลำไส้เน่าระะบบทางเดินอาหารไม่ดีจริงหรือ ทำไมเด็กบางคนลำไส้เน่าเข้าผ่าตัด ทำไมบางคนไม่เป็นอะไร

ป้อนอาหารเสริมทารกก่อน 6 เดือน

สาเหตุที่ไม่ควร ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน

  1. ช่วงอายุ 6 เดือนแรกทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตจากน้ำนมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก
  2. ทารกอายุก่อน 6 เดือน ยังไม่พร้อมสำหรับสำหรับการย่อยอาหารอื่นนอกจากนม เนื่องจากยังมีน้ำย่อยสำหรับย่อยแป้ง โปรตีน และไขมันยังไม่เพียงพอ น้ำย่อยดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 4-5 เดือน
  3. ทารกอายุก่อน 4-6 เดือน ยังมีพฤติกรรมห่อปากและเอาลิ้นดุนอาหารออกมา ทำให้ไม่สามารถใช้ลิ้นช่วยตวัดเพื่อกลืนอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้
  4. ไตของทารกแรกเกิดยังไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ โดยอัตราการกรองของไตจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนเท่าผู้ใหญ่ที่อายุ 2 ปี

ดังนั้นควรเริ่มให้อาหารตามวัยเมื่อทารกอายุ 6 เดือน เนื่องจากนมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก และทารกมีความพร้อมที่จะรับอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้

บทความแนะนำ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

ยิ่งไปกว่านั้นอาจเกิดผลเสียแก่ทารกหากได้รับอาหารอื่นก่อนวัยที่เหมาะสม  และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา เช่น ภาวะลำไส้อุดตันจากอาหารในทารก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดและติดเชื้อตามมาได้

ดังตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไปนี้

เด็กผู้หญิงอายุ 3 เดือน มาโรงพยาบาลด้วยอาการท้องอืด อาเจียน ไม่ดูดนม ตรวจร่างกายพบ มีภาวะขาดน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตรวจเลือดพบเกลือแร่ต่ำ ผลเอกซเรย์ช่องท้องพบกระเพาะอาหารขยายใหญ่ ได้รับการรักษาโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารพบมีสิ่งแปลกปลอมอุดกลั้นทางเดินอาหารบริเวณรอยต่อของกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก ทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน หลังส่องกล้องท้องอืดและอาเจียนดีขึ้น และหายในวันต่อมา หลังจากซักประวัติอาหารเพิ่มเติมจึงทราบว่า 1 วันก่อนมีอาการผู้ปกครองได้ป้อนมันฝรั่งบดแก่ทารก

พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์

พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์

กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก

ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3

เอกสารอ้างอิง

  1. Lebenthal E. Impact of digestion and absorption in weaning period on infant feeding practices.
    Pediatrics 1985;75(suppl):207-13.
  2. Lebenthal E, Lee PC. Development of functional response in human exocrine pancreas. Pediatrics 1980;66:556-60.
  3. สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ, เกศรา อัศดามงคล. การพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของไต. ใน: วันดี วราวิทย์, เกศรา
  4. World Health Organization. Complementary feeding : family foods for breastfed children. Geneva: World Health Organization; 2000.
  5. Chao HC, et al. Intestinal Obstruction Caused by Potato Bezoar in Infancy: A Report of Three Cases. Pedneo 2012; 53 (2): 151-3.

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

โซเชี่ยลแชร์! เด็กโดนป้อนกล้วยตายอายุเพียง 1 เดือนเศษ

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!