น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?

undefined

โดยปกติแล้ว “น้ำเดิน” เป็นภาวะอาการของแม่ท้องเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะใกล้คลอด แต่ภาวะ “น้ำเดินก่อนกำหนด” คือการที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นตามได้

น้ำเดินก่อนกำหนด

น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร? โอกาสที่แม่ท้องจะมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ความถี่ของโรคพบได้ร้อยละ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้แม่ท้องมีอาการน้ำเดินก่อนกำหนด เช่น การสูบบุหรี่ มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์ เกิดจากการกระแทกจากอุบัติเหตุ แม่ท้องเคยมีประวัติอาการน้ำเดินก่อนกำหนดมาก่อน หรือเคยมีประวัติตกเลือดขณะตั้งครรภ์มาก่อน เป็นต้น

 

จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อแม่ท้องน้ำเดินก่อนกำหนด

การที่ถุงน้ำคร่ำแตกหรือน้ำเดินก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อทารกคือ

  • มีเชื้อโรคเล็ดลอดทำให้ทารกและแม่มีการติดเชื้อ ทำให้ลูกไม่แข็งแรง หรืออาจจะรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต
  • มีการลอกของรกก่อนกำหนด
  • การกดสายสะดือทำให้ทารกขาดเลือด ขาดออกซิเจน ซึ่งอาจจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • การคลอดก่อนกำหนดในอายุครรภ์น้อย ๆ อาจทำให้เกิดความพิการของปอดและสมองของทารกได้
น้ำเดินก่อนกำหนด

น้ำเดิน

แม่ท้องมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?

การรักษาแม่ท้องที่มีน้ำเดินก่อนกำหนดต้องดูช่วงอายุครรภ์ว่ามีการตั้งครรภ์กี่สัปดาห์ เพราะอายุครรภ์จะบอกได้ว่าทารกในครรภ์สามารถโตพอที่จะคลอดออกมาแล้วมีชีวิต

อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์

แม่ท้องที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาหฺ์และมีน้ำเดินก่อนกำหนด มักจะเกิดการคลอดภายใน 1 สัปดาห์ และทารกที่คลอดออกมาจะมีความผิดปกติของโรคปอด มีความพิการของสมอง ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Potter’s syndrome

น้ำเดินก่อนกำหนด

ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด

อายุครรภ์ 24-31 สัปดาห์

ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์อาจจะมีโอกาสพิการหรืออาจจะเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากแม่ท้องมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว แพทย์จะพยายามให้อายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์จึงจะให้คลอด และจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ยา steroid เพื่อเร่งให้ปอดทารกแข็งแรง ในระหว่างนี้แพทย์จะทำการเจาะเลือดคุณแม่เป็นระยะว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และคอยติดตามเฝ้าระวังการบีบตัวของมดลูก อาการปวดท้องของคุณแม่หากปวดมากขึ้นแสดงว่าอาจจะมีปัญหา

น้ำเดินก่อนกำหนด

ความเสี่ยงของภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด

หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้จำเป็นต้องการทำเร่งคลอด

  • คุณแม่มีไข้มากกว่า 38 องศา แพทย์จะทำการเร่งคลอดเพราะนั่นหมายถึงมีการติดเชื้อของมดลูก
  • ติดตามการเต้นของหัวใจแม่และทารกในครรภ์ หากพบว่าหัวใจของทารกเต้นเร็วหรือช้า มีสัญญาณชีพไม่ปกติแสดงว่าเริ่มจะมีปัญหาจำเป็นต้องเร่งคลอด

อายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์

ทารกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ซึ่งปอดเริ่มจะแข็งแรงสามารถคลอดออกมาได้ในภาวะคลอดก่อนกำหนด แต่ก็จะต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อมาพิสูจน์ว่าปอดทารกแข็งแรงพอสามารถคลอดออกมาได้

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป

หากอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดเพื่อที่จะได้ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ดังนั้นหากพบว่ามีภาวะน้ำเดินแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยเร็วที่สุดนะคะ

ที่มา : siamhealth

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
“น้ำเดิน” เป็นอย่างไร เรื่องควรรู้ของแม่ใกล้คลอด
น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!