น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง เพราะครรภ์เป็นพิษหรือเปล่า

undefined

น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง จะรู้ได้อย่างไรว่าใช่ภาวะครรภ์เป็นพิษหรือเปล่า วิธีสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษเบื้องต้นทำได้อย่างไร เราจะป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษนี้ได้อย่างไร

น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง เพราะครรภ์เป็นพิษหรือเปล่า

อาการของครรภ์เป็นพิษ ประกอบด้วยการที่คุณแม่ท้องมีน้ำหนักตัวที่ขึ้นเกินเกณฑ์ปกติ น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง หรือมากกว่า 12 กิโลกรัม และถ้าตรวจปัสสาวะ ก็มักจะพบโปรตีนหรือไข่ขาวร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การที่น้ำหนักขึ้นมากตอนท้องนั้น ไม่ได้แปลว่าจะมีภาวะครรภ์เป็นพิษเสมอไป คุณแม่ท้องควรปรึกษาคุณหมอที่ดูแลครรภ์จะดีที่สุด เพราะการคุณแม่ท้องมีน้ำหนักขึ้นมาก อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่แทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

และถ้าคุณแม่มีการตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ก็จะทราบว่า มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนตั้งครรภ์หรือไม่ และอาจตรวจกรองภาวะเบาหวาน เพราะเป็นเหตุนำของภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยเฉพาะในคุณแม่ที่มีอายุเกิน 35 ปี

วิธีสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษเบื้องต้น

คุณแม่สามารถสังเกตตัวเอง ว่ามีสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษเบื้องต้น ได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • มีอาการบวมมาก หรือมีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น รู้สึกว่ารองเท้าที่เคยใส่สบายเป็นประจำ กลับคับขึ้นมากจนผิดปกติ, นิ้วบวมไม่สามารถถอดแหวนที่ใส่อยู่ออกได้ หรือถ้าไม่ได้ใส่แหวนอยู่เป็นประจำ พอกลับมาใส่อีกก็ใส่ไม่ได้แล้ว
  • เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วพบว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม ในกรณีนี้ก็อาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ เพราะโดยปกติแล้วน้ำหนักตัวของคุณแม่ควรเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม
  • มีอาการปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว แน่นหน้าอก หรือแน่นบริเวณลิ้นปี่ร่วมด้วย

หากมีอาการดังที่กล่าวมา ก็ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพราะเป็นนี่อาการที่บ่งบอกว่าคุณแม่อาจจะมีภาวะครรภ์เป็นพิษ และคุณแม่อาจจะชัก หรือหมดสติ และอาจจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง

น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง

ครรภ์เป็นพิษ ป้องกันอย่างไร

ครรภ์เป็นพิษ เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ ถ้ามีการดูแลครรภ์ที่ถูกต้อง ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้ 100% แต่เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ด้วยวิธีการเหล่านี้

  • ฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น หรืออย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน
  • การออกกำลังกายที่ได้ผลนั้น ควรเป็นชนิดแอโรบิกคือ มีจังหวะในการออกกำลังสม่ำเสมอ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ และต่อเนื่องกันนานเกิน 20 นาทีขึ้นไป  3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ก็ต้องดูความเหมาะสมกับอายุครรภ์ด้วย
  • พยายามยกขาสูงเมื่อมีโอกาส เช่นเวลานั่งหรือนอน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะแคลเซียม สามารถป้องกันความดันโลหิตสูง และอาการแทรกซ้อนจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ปวดก้นกบตอนท้อง อันตรายไหม ทำอย่างไรให้หายปวด

ท้องแข็งถี่ อันตรายไหม ห้ามทำอะไร เมื่อมีอาการท้องแข็ง

คนท้องกินปลาอะไรดี กินถูกลูกฉลาด กินผิดระวังลูกพัฒนาการช้า

ลูกดิ้นมาก แข็งแรงจริงเหรอ ลูกดิ้นบ่อยมาก ผิดปกติไหม ทำไมแม่ต้องนับลูกดิ้น

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!