ท้องแต่มีประจำเดือน มีประจําเดือนแต่ท้อง เมนส์มาแต่ท้องอยู่ เป็นไปได้หรือ ?
ท้องแล้วประจำเดือนจะมาไหม ท้องแต่มีประจำเดือน เป็นไปได้จริงหรือ ท้องแล้วมีประจำเดือนได้อย่างไร ทำเอาหลายคนสงสัย ว่าการที่เลือดออกนั้นผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาแล้วยังท้อง มีประจำเดือนแต่ท้อง ท้องแต่มีประจำเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร วันนี้เราได้รวบรวมทุกข้อสงสัย มาให้แม่ท้องได้รู้กัน
ท้องแต่มีประจำเดือน ประจำเดือนมาแล้วยังท้อง เป็นไปได้หรือ?
ประจำเดือน จะเกิดจากเยื่อบุผนังของมดลูกที่หลุดออกมา เนื่องจากไข่ที่ตกลงมานั้นไม่ได้เกิดการผสมเชื้อ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ เมื่อไม่มีการผสมกันก็จะหลุดลอกออกมาทำให้เกิดประจำเดือน แต่ในกรณีที่ประจำเดือนไม่มานั้น อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญก็คือ การตั้งครรภ์ เมื่อมีการตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนก็จะหายไป แต่ในบางรายกลับพบว่า มีเลือดออกมาแบบประจำเดือน แต่กลับมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
มีอาการเลือดออกคล้ายประจำเดือน ทั้ง ๆ ที่ตั้งครรภ์ โดยอาการข้างต้นนี้เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในคนท้อง ส่วนใหญ่คนมักจะเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก มีเลือดออกจากช่องคลอดเปื้อนกางเกงใน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าประจำเดือนมา ซึ่งจะเป็นอยู่แค่ 1 – 2 วันเท่านั้น อาการดังกล่าวก็จะหายไป
อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ?
เลือดล้างหน้าเด็ก เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อน ที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 5-7 หลังจากที่ไข่ได้รับการผสมเชื้อ การฝังตัวอาจทำให้เกิดเลือดออกในเยื่อบุโพรงมดลูกได้ และอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ปกติ ไม่เป็นอันตราย ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เมื่อคุณแม่ตรวจครรภ์แล้วหากทราบว่าตั้งครรภ์ ก็สามารถเริ่มดูแลสุขภาพได้ทันที
เป็นประจำเดือน 2 รอบ ท้องไหม ท้องแต่มีประจำเดือน ได้ไหม ?
มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นเรื่องจริงได้หรือ ? การมีประจำเดือน 2 ครั้งในรอบเดือน อาจไม่ใช่เลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ แต่เป็นการที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน การรับประทานยา หรือการกินอาหารบางชนิด ความผิดปกติของการตกไข่ การออกกำลังกายหนัก ความเครียด การทำงานของไทรอยด์ที่ผิดปกติ
มีประจำเดือนแต่ท้อง ส่วนในเรื่องของการตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับว่า มีการป้องกันมากน้อยแค่ไหน เช่น หากทำการหลั่งนอก ก็มีโอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์ได้ เพราะระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ก็จะมีอสุจิปะปนออกมา แม้ในปริมาณที่น้อย แต่ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน ส่วนในกรณีของการมีประจำเดือน 2 รอบ เป็นเรื่องที่คาดเดายาก เนื่องจากประจำเดือนมาไม่ปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม และรักษาอย่างถูกต้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร ไขข้อสงสัยแบบไหนถึงเรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก
เลือดล้างหน้าเด็ก กับ ประจำเดือน แตกต่างกันอย่างไร ?
เลือดล้างหน้าเด็กจะมีปริมาณที่น้อยกว่าประจำเดือนมาก ส่วนสีเลือดก็จะมีความจางกว่าเลือดประจำเดือนปกติทั่วไป และมักจะหมดภายในไม่กี่วัน โดยจะออกมาทางช่องคลอดในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะมาก่อน 1 สัปดาห์ เมื่อถึงวันที่ประจำเดือนมา แต่ประจำเดือนกลับไม่มา ถ้าหากอยากจะแยกแยะให้ชัดเจนไปเลย ควรใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ร่วมด้วย ถ้าผลออกมาว่า ตั้งครรภ์ เลือดที่ไหลออกมาช่องคลอดนั้นคือเลือดล้างหน้าเด็ก หากไม่พบว่าตั้งครรภ์เลือดที่ออกมานั้น คือประจำเดือนที่คลาดเคลื่อนตามภาวะปกติของการมีประจำเดือน
รอบเดือน ผิดปกติหรือไม่สังเกตจากอะไร ?
ผู้หญิงส่วนมากจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมประจำเดือนเลื่อน มาไม่ตรง หรือบางครั้งก็ไม่มาเลย โดยวิธีสังเกตประจำเดือน หรือรอบเดือน มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้
- รอบเดือนแต่ละรอบ ห่างกันเกิน 35 วัน หรือห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 1 – 2 ชั่วโมง
- ในแต่ละรอบเดือน มีประจำเดือนมากกว่า 7 วัน
- เวลาเป็นประจำเดือน มักปวดหน่วง ๆ รุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- เมื่อคุณอายุน้อยกว่า 11 ปี แต่มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน
สาเหตุที่ มีประจำเดือนแต่ท้อง อาการผิดปกติที่อาจเป็นไปได้มีอะไรบ้าง ?
-
การแท้งคุกคาม
มีเลือดออกจากช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออกมากหรือน้อยแตกต่างกันไป อาจจะมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยในบางราย ส่วนใหญ่มักจะพบเมื่อตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรก ถ้าในช่วงแรกการที่มีเลือดออกจากช่องคลอด อาจเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่เยื่อบุโพรงมดลูก ที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการแท้งคุกคาม การแท้งคุกคาม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ความพิการของทารกตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์
-
การตั้งครรภ์โดยไม่พบตัวอ่อน
การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า ท้องลม เป็นการตั้งครรภ์โดยผิดปกติ ที่เกิดจากการฝังไข่กับอสุจิ ผสมกันเป็นตัวอ่อน ฝังตัวในระยะแรก แต่ส่วนของตัวเด็กฝ่อไปเหลือเพียงแต่ถุงการตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ฝ่อ จึงต้องมีการขูดออก หรือในบางราย ก็อาจเกิดการแท้งธรรมชาติหลุดออกมาในช่วง 6 สัปดาห์แรก หรือหลัง 12 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุหลัง ๆ ที่ทำให้ตั้งครรภ์โดยไม่พบตัวอ่อนก็คือ ความผิดปกติของมดลูก ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีผลต่อการฝังตัว
-
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
ที่พบได้บ่อย คือ ภาวะที่ตัวออกไปฝังตัวนอกโพรงมดลูก จะมีอาการปวดท้องน้อย และมีเลือดออกทางช่องคลอด หากถุงการตั้งครรภ์แตกก็อาจจะทำให้เกิดการตกเลือดในช่องท้อง คนไข้อาจมีอาการซีด ความดันต่ำ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
-
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ออกมามากเหมือนประจำเดือน แพ้ท้องมาก ครรภ์เป็นพิษ มีอาการบวม และเลือดออกจากช่องคลอด คล้ายกับอาการแท้ง เมื่อตรวจพบจะต้องทำการขูดมดลูกเพื่อ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 40 ภาวะแท้งคุกคาม อันตรายไหม?
หากมีเลือดออกในช่วงอายุครรภ์ที่ เกิน 20 สัปดาห์ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
- รกเกาะต่ำ ในสตรีตั้งครรภ์ปกติรกจะเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของมดลูก หากรกเกาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมมาถึงปากมดลูก เรียกว่า ภาวะรกเกาะต่ำ
- รกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีเลือดออก และมีก้อนเลือดใต้รก จึงทำให้มีอาการปวดท้อง เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด
- การฉีกขาดของหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มรกพบน้อย
การรักษาเลือดออกตอนท้อง
การรักษาขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัย และให้การรักษาเฉพาะตามโรคที่เป็น หากเป็นการตั้งครรภ์ปกติให้คำแนะนำและนัดตรวจติดตามอาการหรือคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อยืนยันการมีชีวิตของทารกในครรภ์ สตรีตั้งครรภ์บางรายอาจไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์จนกระทั่งลูกดิ้น โดยเฉพาะในรายที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ สตรีวัยรุ่น รูปร่างอ้วน ไม่ได้คุมกำเนิด เป็นต้น
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เมื่ออาการแพ้ท้องของคุณแม่หายไป การรับประทานอาหารของคุณแม่จะดีขึ้น แต่ไม่ควรกินอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ขนมหวาน ไขมันมากเกินไป รวมถึงไม่กินอาหารดิบ ๆ สุก ๆ ของหมักดอง ผงชูรส และไม่ควร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย กลางคืนควรนอนพักให้เต็มอิ่ม ควรนอนวันละ 8 – 10 ชั่วโมง และหาเวลานอนช่วงกลางวันอีกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
-
การออกกำลังกาย
ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดี ร่างกายแข็งแรง ไม่ได้ทำให้เกิดการแท้งแต่อย่างใด เพียงแต่อย่าออกกำลังกายหักโหมมากเกินไปจนทำให้อ่อนเพลีย หรือกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์
-
การรักษาความสะอาด
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ อุณหภูมิของร่างกายจะร้อนขึ้น มีเหงื่อออกมาก ควรอาบน้ำให้ร่างกายสดชื่น หากรู้สึกหนาวเย็นก็ควรอาบน้ำอุ่น รวมถึงทาโลชั่นบำรุงผิวเพื่อบำรุง
-
ดูแลปากและฟัน
หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มักฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย ควรแปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และบ้วนน้ำยาทำความสะอาด หากมีปัญหาช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ
-
การดูแลเต้านม
ขณะตั้งครรภ์เต้านมจะมีการขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมสร้างน้ำนมให้เจ้าตัวน้อย บางรายอาจจะมีน้ำนมไหลออกมาก่อนคลอด ถือเป็นเรื่องปกติ เวลาอาบน้ำล้างเต้านมให้สะอาด ไม่ควรใช้สบู่ถูเนื่องจากจะทำให้ผิวแห้งเกินไป เมื่อผิวแห้ง หรือหัวนมสั้น หัวนมบอด ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลก่อนที่จะคลอด ไม่งั้นอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เลือดออกแบบไหนปกติ? เลือดออกแบบไหนให้ไปหาหมอดีกว่า
ตั้งครรภ์มีเลือดออกอันตรายไหม อาการเลือดออกแบบไหนที่บอกว่าแท้งลูก
การนับอายุครรภ์ ลูกกี่สัปดาห์แล้วนะ? คุณแม่ทั้งหลายมารู้วิธีการนับอายุครรภ์กัน
ที่มา : paolohospital , navamin9
ร่วมแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับรอบเดือน และการท้องแต่มีประจำเดือน ได้ที่นี่!
ท้องแต่มีประจำเดือน ได้ไหมคะ มีใครเคยเป็นบ้าง แล้วอันตรายไหมคะ
รอบเดือน มาไม่ปกติ แถมมีสีคล้ำกว่าปกติ จะเป็นอันตรายไหมคะ