ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก ก่อนคิดว่านมแม่ไม่พอ

การที่ลูกแรกเกิดตื่นบ่อย ขยับปากตลอดเวลา วางไม่ได้เลย แปลว่านมแม่ไม่พอหรือเปล่า ก่อนจะเสริมนมให้ลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเรื่องขนาดกระเพาะทารกก่อนนะคะ เพราะทารกแรกเกิดนั้นมีความจุกระเพาะอาหารทารกที่น้อยนิดเดียวเอง

ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก ก่อนคิดว่านมแม่ไม่พอ

ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก, ความจุกระเพาะอาหารทารก ก่อนจะคิดว่าลูกกินไม่อิ่ม น้ำนมแม่มีไม่พอ จนกังวลไปหมด ก่อนแม่ให้นมจะนอยด์ไปกว่านี้ มาอ่านรายละเอียด กระเพาะอาหารทารก ตั้งแต่แรกเกิด ขนาดและความจุในท้องของหนู มีเท่าไหร่กันนะ

ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิด

ในวันแรกหลังคลอด น้ำนมของคุณแม่เริ่มมาแล้ว คุณแม่จะสังเกตได้ว่าน้ำนมมีสีเหลือง เรียกว่าโคลอสตัม จะเป็นน้ำนมส่วนที่อุดมไปด้วยคุณค่ามหาศาลต่อลูกน้อย อย่างไรก็ตาม น้ำนมของคุณแม่ยังออกไม่มากนัก หากคุณแม่ปั๊มนมแล้วได้น้ำนมติดก้นขวด ไม่ต้องตกใจ เพราะขนาดกระเพาะทารกแรกเกิดในวันแรก ก็เล็กจ้อยเกินกว่าจะรับน้ำนมแม่มาก ๆ ได้

ขนาดกระเพาะทารก

ขนาดกระเพาะทารก

กระเพาะของลูกน้อยในวันแรก

ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิดในวันแรก มีขนาดเท่าลูกแก้ว หรือเพียง 1 – 1.4 ช้อนชา เท่านั้น ร่างกายของคุณแม่จึงผลิตน้ำนมออกมาในปริมาณเท่าที่ลูกน้อยต้องการนั่นเอง

ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิด 3 วันหลังคลอด

ในวันที่ 3 หลังคลอด กระเพาะของลูกน้อยค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีขนาดเท่าลูกปิงปอง การให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ปั๊มบ่อย ๆ จะทำให้น้ำนมแม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารของทารกที่ค่อย ๆ เริ่มทำงาน คุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้ทารกกินนมในปริมาณมาก ๆ เพื่อให้กระเพาะขยายไว ๆ เพราะปริมาณนมที่กระเพาะเขาจะรับได้ อยู่ที่ .75 – 1 ออนซ์เท่านั้น

หากคุณแม่ให้นมลูกมากเกินไปจะกลายเป็น overfeeding ทำให้ลูกงอแง แหวะนม หรืออาเจียนออกมา เพราะว่านมล้นกระเพาะค่ะ

นมล้นกระเพาะ #Overfeeding

การกินนมมากเกินไปจนนมล้นกระเพาะ เรียกกันว่า overfeeding อาการที่แม่ต้องสังเกตคือ ลูกสำรอกบ่อยและท้องป่อง

อ่าน ขนาดกระเพาะทารก ความจุกระเพาะอาหารทารก ต่อหน้าถัดไป

ความจุกระเพาะอาหารทารก

ความจุกระเพาะอาหารทารก

ทารกเริ่มโตขนาดกระเพาะยิ่งขยาย

ปริมาณนมที่ทารกต้องการต่อการกินนมหนึ่งครั้งในเดือนแรกหลังคลอด จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามขนาดกระเพาะที่ค่อย ๆ ขยายขึ้นดังนี้

  • 1 วัน ขนาดเท่าลูกแก้ว ควรได้รับนม 5 – 7 ซีซี หรือ 1 – 1.4 ช้อนชา
  • 3 วัน ขนาดเท่าลูกวอลนัท ควรได้รับนม 22 – 27 ซีซี หรือ .75 – 1 ออนซ์
  • 7 วัน ขนาดเท่าผลแอปปริคอต ควรได้รับนม 45 – 60 ซีซี หรือ 1.5 – 2 ออนซ์
  • 30 วัน ขนาดเท่าไข่ไก่ ควรได้รับนม 80 -150 ซีซี หรือ 2.5 – 5 ออนซ์

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า เนื่องจากขนาดของกระเพาะทารกแรกเกิดมีขนาดเล็ก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทารกแรกเกิดจึงต้องกินบ่อยๆ และคุณแม่ควรมีความมั่นใจว่า ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของทารกแน่นอน ซึ่งวัดจากจำนวนครั้งของอึ 2 ครั้ง/วัน ฉี่ 6 ครั้ง/วัน ไม่ใช่ดู จากการที่ลูกตื่นบ่อย ขยับปากตลอดเวลา วางไม่ได้เลย แปลว่านมไม่พอ

ขนาดกระเพาะทารก

ขนาดกระเพาะทารก

จะเห็นได้ว่า การที่ลูกร้องบ่อย ๆ นั้นไม่ได้หมายความว่านมไม่พอ แต่เป็นเพราะว่า ขนาดกระเพาะของลูกน้อยยังมีขนาดเล็กนั่นเอง คุณแม่จึงต้องให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง ยิ่งดูดบ่อย ร่างกายคุณแม่ก็จะยิ่งผลิตน้ำนมมากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

เฟซบุ๊ค สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

breastfeedingthai.com

ภาพประกอบ

https://letmommysleep.com/

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เนื้อแนบเนื้อ Kangaroo care และน้ำนมแม่ สิ่งที่ทารกคลอดก่อนกำหนดต้องการ

ไม่เห็นหน้าอาย!! ถ้าจะ ให้นมแม่ในที่สาธารณะ คุณแม่สะดวกแบบนี้

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการย่อยอาหารของลูก ได้ที่นี่!

การตรวจสอบการย่อยอาหารของลูก จะรู้ได้ยังไงว่าลูกกินอิ่มหรือเปล่าค่ะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!