ตารางบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร บันทึกอย่างไร แบบไหนผิดปกติ

undefined

ตัวอย่าง ตารางบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น

นอกจากการเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์เดือนละครั้ง เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์แล้ว อีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่จะสามารถสังเกตความแข็งแรง และประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ นั้นก็คือ การนับลูกดิ้น วันนี้เรามีตัวอย่าง ตารางบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้นมาฝากกัน

 

นับลูกดิ้นอย่างไร

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการดิ้นของทารกในครรภ์ไว้ว่า โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอจะแนะนำให้เริ่มนับลูกดิ้นหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ เพราะลูกจะมีการดิ้นที่สม่ำเสมอ เนื่องจากระบบสมอง และเส้นประสาทพัฒนาดีแล้ว โดยสิ่งที่นับเป็นการดิ้นได้แก่ การเตะ ต่อยถีบ กระทุ้ง หมุนตัว ดัน และโก่งตัว เว้นแต่ในกรณีที่ทารกในครรภ์สะอึก ซึ่งการสะอึกเป็นการบ่งบอกว่าทารกเริ่มฝึกการหายใจแล้ว แบบนี้จะไม่นับเป็นการดิ้น

เวลาที่คุณแม่นับลูกดิ้นนั้น การดิ้น 1 ครั้ง จะนับเป็น 1 ครั้ง แต่หากลูกดิ้นเป็นชุด หรือดิ้นต่อเนื่องติดกันหลายครั้ง จะนับป็น 1 ครั้งเช่นกัน

 

ตารางบันึกลูกดิ้น

ลูกดิ้นตอนไหน

โดยปกติแล้ว ทารกในครรภ์จะนอนหลับนาน 20-40 นาที และอาจนอนนานได้ถึง 75-90 นาที ดังนั้น โดยเฉลี่ยทุก ๆ 2 ชั่วโมง คุณแม่ควรรู้สึกได้ถึงการดิ้นของทารกหลังจากทารกตื่นขึ้น นอกจากนี้ ทารกมักจะดิ้นเยอะหลังคุณแม่ทานอาหารอิ่มแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง

 

วิธีการนับลูกดิ้น ที่นิยมจะมี 2 วิธี

1. วิธีของ Cardiff (count-to-ten)

  • นับการดิ้นหลังจากตื่นนอน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า จนครบ 12 ชั่วโมง
  • ถ้านับการดิ้นได้ น้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 12 ชั่วโมง แปลว่าผิดปกติ ให้พบแพทย์

2. วิธีของ Sadovsky

  1. นับการดิ้นหลังทานอาหารแต่ละมื้อ (เช้า, กลางวัน, เย็น) โดยนับการดิ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร
  2. ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง แปลว่าปกติ
  3. ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง ภายใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีกจนครบ 4-6 ชั่วโมง
  4. ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป แปลว่าปกติ และติดตามการดิ้นหลังมื้ออาหารถัดไป
  5. ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง แปลว่าผิดปกติ ให้พบแพทย์
  6. ถ้านับการดิ้นทั้งหมดได้ น้อยกว่า 12 ครั้ง ต่อวัน แปลว่าผิดปกติ ให้พบแพทย์

ตัวอย่างตารางบันทึกการดิ้นของลูก

 

ตารางบันทึกลูกดิ้น

ตัวอย่างตารางบันทึกการนับลูกดิ้นจาก guruobgyn

 

นับลูกดิ้น

ช้าก่อน! วันนี้คุณแม่สามารถใช้วิธีที่สะดวกยิ่งขึ้นในการนับลูกดิ้น กับแอปพลิเคชั่น theAsianparent ที่มีโหมดช่วย นับลูกดิ้น อ่านวิธีใช้งาน ที่นี่

< ดาวน์โหลดแอป คลิกทางนี้เลยค่ะ >

https://theasianparent.page.link/tapTHsocial 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการท้องแข็งเกิดจากอะไร ท้องแข็งแบบไหนอันตรายใกล้คลอด

6 สัญญาณเตือน โค้งสุดท้ายใกล้คลอด คุณแม่เตรียมตัวได้เลย

คนท้องกินสมุนไพรได้ไหม สมุนไพรที่เป็นอันตรายต่อคนท้อง VS สมุนไพรสําหรับคนท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!