แจกฟรี!! ตารางความถี่ให้นมลูก การให้นมเด็กแรกเกิด - 12 เดือน

undefined

ตารางความถี่ให้นมลูก สำหรับลูกน้อยที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด – 12 เดือน พร้อมวิธีการเริ่มอาหารเสริมของเด็กที่คุณแม่สามารถใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกได้ และเทคนิคการปั๊มนมให้ลูก ปั๊มยังไงให้มีนมเพียงพอให้ลูกจนครบ 6 เดือน โดยที่น้ำนมไม่ลดลง เด็ก 1 เดือนกินนมกี่ออน มาดูกันเลย

 

ตารางให้นมลูก แรกเกิด – 12 เดือน

ลูก 1 เดือน กินครั้งละกี่ออนซ์ ปริมาณนมที่เด็ก 1 เดือนต้องกิน

  • สูตรคำนวณ : (น้ำหนัก x 150 ซีซี)/30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี
    • เช่น น้ำหนักลูก 3 กก.: (3 x 150)/30 = 15 ออนซ์ต่อวัน
  • ตารางการให้นม : ควรแบ่งเป็น 6 มื้อ
    • เช่น คำนวณออกมาแล้วได้ 15 ออนซ์ต่อวัน : 15/6 = 2.5 ออนซ์หรือ 75 ซีซีต่อมื้อ
  • วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม :
    • ควรปล่อยให้ลูกเข้าเต้า ดูดนมได้นานตามที่เขาต้องการค่ะ เมื่อเกลี้ยงเต้าแล้วจึงเปลี่ยนข้างได้
    • ในสัปดาห์แรก : ลูกอาจจะฉี่หรืออึ ประมาณ 10-12 ครั้ง
    • ในสัปดาห์ที่ 2-6 : ควรให้ลูกกินนมจากเต้า ประมาณ 20-30 นาที ขึ้นอยู่กับน้ำนมของคุณแม่ และการดูดของลูก
  • ทริคตารางเวลาการให้นม :
    • ป้อน 6 ครั้ง : เวลา 6.00 / 10.00 / 14.00 / 18.00 / 22.00 / 02.00 น.
    • ป้อน 7 ครั้ง : เวลา 6.00 / 7.00 / 12.00 / 15.00 / 18.00 / 21.00 / 24.00 น.

บทความที่เกี่ยวข้อง  : คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

 

ตารางความถี่ให้นมลูก เด็กอายุ 1-4 เดือน

  • สูตรคำนวณ : (น้ำหนัก x 120 ซีซี)/30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี
    • เช่น น้ำหนักลูก 3.6 กก. แต่ขอปัดเป็น 4 กก. : (4 x 120)/30 = 16 ออนซ์หรือ 480 ซีซีต่อวัน สามารถให้ลูกกินได้มากถึง 24 ออนซ์หรือ 720 ซีซีต่อวัน ไม่ควรกินเกินกว่านี้
  • วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม :
    • ก่อนกินพุงแฟบ หลังกินพุงป่อง
    • อึ 2-3 ครั้ง/วัน
    • ฉี่ 6-9 ครั้ง/วัน
    • หากสังเกตุเห็นว่าก่อนกินพุงลูกป่องอยู่แล้ว หลังกินพุงก็ป่องมากยิ่งขึ้น มีการอึฉี่มากขึ้น แสดงว่าให้ลูกกินมากเกินไป
  • ทริคตารางเวลาการให้นม :
    • ป้อน 6 ครั้ง : เวลา 06.00 / 10.00 / 14.00 / 18.00 / 22.00 / 02.00 น.

 

ตารางความถี่ให้นมลูก 22

เด็กอายุ 5-6 เดือน

  • วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม :
    • โดยเฉลี่ยแล้วสามารถให้ลูกกินได้มากถึง 24 ออนซ์หรือ 720 ซีซีต่อวัน บวกลบ 4 ออนซ์หรือ 120 ซีซี
  • เด็กในวัยนี้จะห่วงกิน ทำให้กินได้น้อยลง
  • ทริคตารางเวลาการให้นม :
    • ป้อน 5 ครั้ง : เวลา 5.00 / 10.00 / 14.00 / 19.00 / 24.00 น.

 

ตารางความถี่ให้นมลูก เด็กอายุ 6-12 เดือน

  • สูตรคำนวณ : (น้ำหนัก x 110 ซีซี)/30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี
    • เช่น น้ำหนักลูก 6.5 กก. : (6.5 x 110)/30 = 24 ออนซ์หรือ 720 ซีซีต่อวัน
  • วิธีให้อาหารเสริมลูกอย่างเหมาะสม : สำหรับเด็ก 6 เดือน : ข้าว 1 มื้อ มื้อละ 5-8 ช้อนโต๊ะ, เด็ก 9 เดือน : ข้าว 2 มื้อ และสำหรับเด็ก 12 เดือน : ข้าว 3 มื้อ
  • ทริคตารางเวลาการให้นม :
    • ป้อน 4 ครั้ง : เวลา 7 – 8.00 / 11.30 – 12.00 / 15.30 – 16.00 / 20.00 น.

 

ตารางความถี่ให้นมลูก 44

แจกฟรี!! ตารางความถี่ให้นมลูก การให้นมเด็กแรกเกิด - 12 เดือน


ตัวอย่างตารางป้อนนม และอาหารเสริมเด็กของป้าแนท

  • เด็กแรกเกิด : ให้นม 60 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6-7 ครั้ง/วัน
  • เด็กอายุ 3 เดือน : ให้นม 90 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6 ครั้ง/วัน
  • เมื่ออายุ 4 เดือน : ให้นม 120 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6 ครั้ง/วัน
    • อายุ 3.5 – 4 เดือน ให้ลองป้อนผลไม้วันละครั้ง เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามอายุ ดังนี้: 1/4, 1/2, 3/4, 1 เช่น อายุ 3.5 เดือน ลองเริ่มให้ชิมกล้วยก่อนประมาณ 1/4 ใบ แล้วจดบันทึกว่าน้องพอใจชอบหรือไม่ และแพ้หรือเปล่า
  • อายุ 4.5 เดือน : ให้นม 135 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6 ครั้ง/วัน
  • จนอายุ 5 เดือน : ให้นม 150 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 5 ครั้ง/วัน
    • ช่วงอายุนี้ให้ลองผสมข้าวโอ๊ต หรือซีเรียล (Nestum) ลงในนม
    • สามารถเริ่มให้น้องลองมันฝรั่งบด + ผักชนิดต่างๆ เเล้วจดบันทึกว่าน้องพอใจชอบหรือไม่ และแพ้หรือเปล่า เช่น
      • มันฝรั่งบด +แครอท + น้ำซุป, มันฝรั่งบด + ดอกกะหล่ำ + น้ำซุป หรือมันฝรั่งบด + เเตงกวาญี่ปุ่น + น้ำซุป
      • *ห้ามเด็ดขาด กะหล่ำปลี หัวหอม พริกหวาน เพราะอาจติดคอได้
  • 5.5 เดือน : ให้นม 165 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 5 ครั้ง/วัน
  • 6 เดือน : ให้นม 180 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
  • 6.5 เดือน : ให้นม 195 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
  • 7 เดือน : ให้นม 210 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม  4 ครั้ง/วัน
  • 7.5 เดือน : ให้นม 225 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
  • 8 เดือน : ให้นม 240 ml.ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
    • เมื่ออายุ 7 – 8 เดือนให้ลองป้อนไข่แดงสุก (ไม่เอาไข่ขาว) 1 ฟอง/ อาทิตย์

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหิวแล้ว

ลูกน้อยเวลาหิว มักจะมีสัญญาณแสดงให้คุณแม่ได้เห็น ดังนี้นะคะ

  • ดูด เวลาที่คุณแม่แตะแก้มลูกเบา ๆ ลูกจะรีบหันมาดูดทันที แปลว่าเขาหิวแล้ว
  • อ้าปากพะงาบ ๆ หาเต้านมของคุณแม่
  • สะกิดหรือทุบคุณแม่ที่เต้านมหรือแขน
  • จับเสื้อผ้าของคุณแม่ไม่ยอมปล่อย
  • ดูด หรือเลียบริเวณปากของตัวเอง
  • ดูดแขน นิ้วเท้า หรือเสื้อผ้าของตัวเอง
  • และถ้าหิวสุด ๆ ลูกจะร้องไห้งอแงค่ะ

 

ตารางความถี่ให้นมลูก

 

วิธีสังเกตว่าลูกกินนมอิ่มแล้ว

ง่าย ๆ เลยค่ะ เวลาที่ลูกกินอิ่มแล้วเขาจะดูดช้าลง หรือความแรงลดลง บางครั้งก็อาจจะหลับคาเต้านมของคุณแม่ไปเลย สำหรับวิธีการให้ลูกออกเต้าก็แค่ดึงเต้าออกจากปากลูก แล้วก็สอดมือเข้าไปกดที่เต้านมตัวเองแล้วค่อย ๆ ถอนออกมาค่ะ

 

ปั๊มนมให้ลูกแค่ไหนกำลังดี

คุณแม่ควรปั๊มนมให้ได้วันละ 30-35 ออนซ์ และไม่ควรใช้นมสต๊อกไม่เกินชั่วโมงละออนซ์ เพื่อให้ลูกเก็บท้องไว้รอเต้า เช่น ถ้าคุณแม่ไม่อยู่ 10 ชม. ลูกควรกินนมสต๊อก 5-10 ออนซ์ ถ้าลูกกินนมสต๊อกมากกว่านี้ จะทำให้เวลาที่แม่กลับมาแล้วลูกไม่อยากดูดเต้าค่ะ แต่ถ้าลูกกินนมสต๊อกน้อยกว่านี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

 

สำหรับคุณแม่ที่ต้องปั๊มนมให้ลูก แนะนำให้ปั๊มนมห่างกันทุก 3 ชม. ทั้งกลางวันและกลางคืน ช่วงกลางวันอาจยืดเป็น 4 ชม.ได้ค่ะ เพราะหากปล่อยห่างมากไปจะทำให้น้ำนมของคุณแม่ลดน้อยลงนั่นเอง

 

ตารางความถี่ให้นมลูก 1

 

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 ผ้าคลุมให้นมที่ดีที่สุด ใช้งานง่าย สวมใส่สบายทั้งแม่ทั้งลูก

ป้อนนมแม่จากถ้วย วิธีป้อนนมจากถ้วย ลูกกินจากแก้ว ให้ลูกดูดหลอด

ให้นมลูกนอกบ้าน รวมเทคนิคเตรียมตัว และการเลือกสถานที่

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการให้นมลูก ได้ที่นี่!

วิธีการให้นมลูก ต้องให้บ่อยแค่ไหนคะ ถึงจะถูกวิธี

ที่มา : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจgo2pasa.ning

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!