ลูกไม่กลับหัวน่ากลัวกว่าที่คิด แม่ท้องต้องระวัง

undefined

ลูกไม่กลับหัวน่ากลัวกว่าที่คิด ช่วงไตรมาส 3 จะมีร้อยละ 5 ของคนท้องที่ลูกไม่ยอมกลับหัวเพื่ออยู่ในท่าเตรียมคลอด นั่นหมายความว่าทารกยังอยู่ในท่านั่งและตำแหน่งของเท้าอยู่ช่วงเชิงกราน

ลูกไม่กลับหัวน่ากลัวกว่าที่คิด  แม่ท้องต้องระวัง

ลูกไม่กลับหัวน่ากลัวกว่าที่คิด ช่วงไตรมาส 3 จะมีร้อยละ 5 ของคนท้อง ที่ลูกไม่ยอมกลับหัว เพื่ออยู่ในท่าเตรียมคลอด นั่นหมายความว่าทารกยังอยู่ในท่านั่ง และตำแหน่งของเท้าอยู่ช่วงเชิงกราน โดยปกติแล้วก่อนที่เด็กจะคลอด หัวของเด็กจะลดต่ำลง และกลับหัวมาอยู่บริเวณเชิงกรานของว่าที่คุณแม่ในช่วงสัปดาห์ที่ 34

 

รู้ได้อย่างไรว่า ลูกไม่กลับหัว

โดยทั่วไปแล้ว เด็กในครรภ์จะยังไม่นับว่าเป็นทารกท่าก้น (ทารกท่าก้น คือ เด็กทารกในครรภ์ที่หันก้น หรือ ขา ส่วนใดส่วนหนึ่งไปทางด้านล่างของมดลูก ในขณะที่ศีรษะของเด็ก อยู่ตรงส่วนบนของมดลูก) จนกระทั่งอายุครรภ์ราว 35 – 36 สัปดาห์ เมื่อเด็กหันศีรษะลง จึงเป็นสัญญาณว่า ใกล้ถึงเวลาคลอดเต็มที ในช่วงก่อน 35  สัปดาห์นั้น นับว่าเป็นปกติที่เด็กจะหันศีรษะลง หรือตะแคงข้าง แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น เมื่อนั้นเจ้าตัวน้อยในครรภ์จะไม่เหลือพื้นที่มากพอให้กลับตัว ลงมาอยู่ในท่าที่พร้อมสำหรับการคลอด

ทำไมลูกไม่กลับหัว

มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดทารกท่าก้น เช่น มีการตั้งท้องมาแล้วหลายครั้ง มีประวัติคลอดยากในท้องก่อน ๆ การตั้งครรภ์แฝด คุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำที่มาก หรือ น้อยเกินไป การมีเนื้องอกมดลูก หรือ มดลูกที่รูปร่างผิดปกติ ภาวะรกเกาะต่ำ และการคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าแพทย์จะไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดว่า ทำไมทารกจึงไม่กลับหัว แต่ก็สามารถบอกท่าของทารกในครรภ์ ให้กับคุณแม่ได้ โดยการตรวจทางหน้าท้อง เพื่อคลำท่าของทารก และยืนยันท่าของทารก ด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตร้าซาวน์ ในกรณีที่ตรวจพบว่าทารกยังคงอยู่ในท่าก้น ที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ สูติแพทย์อาจทำการหมุนเปลี่ยนทารกจากท่าก้น ให้เป็นท่าศีรษะจากภายนอก (external cephalic version) ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป ก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอด น้ำเดิน หรือไม่มีข้อห้ามใด ในการคลอดทางช่องคลอด

ลูกไม่กลับหัวน่ากลัวกว่าที่คิด

ลูกไม่กลับหัวน่ากลัวกว่าที่คิด

ทำอย่างไรให้ลูกกลับหัว

 แช่น้ำอุ่น

ลงไปนอนแช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างอาบน้ำเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกกลับหัว แต่ถ้าคุณไม่มีอ่างอาบน้ำ ก็ให้ใช้สระว่ายน้ำแทน คุณสามารถว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายเบา ๆ ในน้ำ เพื่อให้ลูกกลับหัวก็ได้เช่นกัน

breech-baby

 

นอนราบบนหลังแล้วยกสะโพกขึ้น

นอนราบบนหลัง แล้วยกสะโพกขึ้น ให้สูงกว่าระดับหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้ลูกค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกจากเชิงกราน และกลับตัว คุณสามารถใช้หมอนรองสะโพก เพื่อช่วยให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้น นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้หมอนรองบนพื้น และยกขาพาดเตียงได้เช่นกัน

ใช้แสงและเสียงดนตรีเบา ๆ กระตุ้น

ผลการวิจัยพบว่า เด็กเคลื่อนตัวไปหาความอบอุ่น แสงสว่าง และเสียง เนื่องจากประสาทการรับรู้ของลูกนั้น พัฒนาเต็มที่แล้ว คุณสามารถกระตุ้นให้ลูกกลับตัวได้ ผ่านการใช้เสียงเพลง และส่องไฟฉายไปบริเวณหัวหน่าว

ประคบเย็นบริเวณเหนือมดลูก

วิธีการนี้ คุณแม่สามารถใช้ร่วมกัน กับวิธีที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ได้ คุณสามารถใช้ถุงน้ำแข็ง ถั่วลันเตาแช่แข็ง หรือ อะไรก็ตามที่เย็น ๆ มาห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ ผ้าเช็ดจาน แล้วนำมาวางบนท้อง วิธีนี้น่าจะเพียงพอ ที่จะทำให้ลูกเคลื่อนตัวต่ำลง เพื่อไปหาบริเวณที่อุ่นกว่า คุณสามารถใช้วิธีนี้ช่วย ขณะนอนแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำก็ได้

เคลื่อนไหวร่างกาย

พยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉง อย่างน้อยวันละ 30 นาที สามารถช่วยให้เด็กกลับหัวได้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างการเดิน หรือโยคะ

หากมีความกังวลเกี่ยวกับการคลอดทารกท่าก้น คุณแม่ควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงท่าทางของทารกในครรภ์ รวมทั้ง ปรึกษาวิธีการคลอดที่เหมาะสม ความเสี่ยง ผลข้างเคียง โอกาสในการผ่าคลอด และวิธีการเตรียมตัวสำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึง

breech-baby

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

อ้างอิง: https://www.healthline.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท่ายืดกล้ามเนื้อเตรียมคลอด คนท้องเตรียมฝึกเอาไว้ จะได้คลอดลูกง่ายขึ้น

ท้องแรกเตรียมพร้อมก่อนคลอด อย่างไร

อาหารบำรุงน้ำนมก่อนคลอด แม่ท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!