ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ แม่เป็น ธาลัสซีเมีย ลูกจะเป็นด้วยไหม

ธาลัสซีเมีย เป็นหนึ่งในโรคที่ใครหลายคนรู้จักและเคยได้ยินกัน โรคนี้อันตรายแค่ไหน หากคนท้องเป็นโรคนี้ หรือเป็น พาหะธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ลูกจะได้รับความเสี่ยงด้วยหรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thailand จะมาเล่า โรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ และ พาหะธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ให้ฟัง

 

โรคธาลัสซีเมีย พาหะธาลัสซีเมียอันตรายไหม คืออะไร

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือ ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของยีนและพันธุกรรม ผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีเม็ดเลือดแดงที่เปราะและแตกได้ง่าย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างฮีโมโกลบินได้ตามปกติ จนมีภาวะเลือดจางเรื้อรัง เป็นโรคที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเป็นกันได้ และสามารถถ่ายทอดได้ผ่านทางพันธุกรรม คนทั่วโลกเป็นกัน ซึ่งผู้ที่มียีนแฝง หรือเป็นพาหะของโรค มักจะไม่มีอาการของโรค และมีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่จะสามารถถ่ายทอดพาหะต่อให้ลูกได้

ธาลัสซีเมีย ชนิดที่รุนแรง พาหะธาลัสซีเมียอันตรายไหม

โรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ หรือ พาหะธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ธาลัสซีเมียชนิดที่ทำให้ผู้ป่วยและเด็กที่เกิดมามีอาการรุนแรง มี 3 ชนิด ดังนี้

  1. Hemoglobin Bart’s hydrops fetalis ถือเป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ซึ่งผู้ป่วยมักจะตัวซีด ตับม้ามโต มีรกขนาดใหญ่ เด็กมักเสียชีวิตในครรภ์หรือหลังเกิดได้ไม่นาน คนท้องที่เป็นโรคนี้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น ครรภ์เป็นพิษ หรือตกเลือดหลังคลอดเป็นต้น
  2. Homozygous β-thalassemia หรือ Beta-thalassemia major เด็กที่เป็นโรคนี้มักมีอาการซีดตั้งแต่ช่วงปีแรกที่เกิดมา ซึ่งต้องเข้ารับการถ่ายเลือดเป็นประจำ และยังอาจมีตับและม้ามที่โต ตัวเหลือง ตาเหลือง โตช้า และมีธาตุเหล็กในร่างกายสูงเกินไป
  3. β-thalassemia/Hemoglobin E disease ผู้ป่วยกลุ่มนี้บางราย มีอาการรุนแรงคล้ายผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 แต่ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงปานกลาง คือ ตัวซีด จนอาจต้องถ่ายเลือดเป็นประจำ

 

คนท้องเป็นพาหะธาลัสซีเมีย  ลูกในท้องจะมีความเสี่ยงไหม ธาลัสซีเมียอันตรายไหม

พาหะธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ หรือคนท้องที่เป็นพาหะของโรคหรือมียีนแฝง สามารถถ่ายทอดยีนแฝงต่อให้ลูกในท้องได้ เนื่องจากธาลัสซีเมีย คือ โรคทางพันธุกรรม ซึ่งการที่จะรู้ได้ว่าตัวเองมียีนแฝงของโรคหรือไม่นั้น จะต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยควรให้พ่อของเด็กเข้ารับการตรวจด้วย เพื่อดูว่าทั้งพ่อและแม่เด็ก มียีนแฝงหรือไม่ หากพบว่าคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะ ความเสี่ยงที่เด็กอาจจะเป็นธาลัสซีเมียนั้น จะมีอยู่ 25% ซึ่งแพทย์ก็จะช่วยหาวิธีแก้ไขและป้องกันต่อไป

บทความที่น่าสนใจ : ลูกเป็น โรคธาลัสซีเมีย​ ดูแลอย่างไร​ ต้องระวังเรื่องไหน​ เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ

 

ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์

 

พ่อแม่เด็กเป็นโรคธาลัสซีเมีย ลูกในท้องจะเป็นไหม

โรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ หากพ่อและแม่ของเด็กเป็นโรคธาลัสซีเมียทั้งคู่ โอกาสที่เด็กจะเป็นธาลัสซีเมียนั้นมี 100% แต่หากมีเพียงพ่อหรือแม่เด็กคนใดคนหนึ่งที่เป็นโรค โอกาสที่เด็กจะเป็นโรคก็จะลดหลั่นลงมา และเด็กก็จะกลายเป็นคนที่มีพาหะแบบ 100%

 

ธาลัสซีเมีย ในหญิงตั้งครรภ์ โรคธาลัสซีเมีย อันตรายต่อเด็กในท้องไหม

เด็กที่เกิดมาแล้วเป็นธาลัสซีเมีย อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น เกิดมาตัวซีดเหลือง หน้าผากมีลักษณะผิดแปลก โหนกแก้มสูง ฟันยื่น เตี้ย โตช้า เจ็บป่วยบ่อย ตาเหลือง  บวมน้ำ ซีด ตับและม้ามโต หรืออาจจะเสียชีวิตในครรภ์เนื่องจากครรภ์เป็นพิษได้

 

วิธีรักษาโรค ธาลัสซีเมีย และการดูแลตัวเองเมื่อเป็นธาลัสซีเมีย

คนที่เป็นเพียงพาหะธาลัสซีเมีย ยังสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อยู่ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีอาการของโรค ไม่ต้องทานยาใด ๆ แต่หากเป็นโรคธาลัสซีเมีย ก็ต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ ตามชนิดของโรคธาลัสซีเมียที่เป็น ซึ่งวิธีการรักษาที่ทำให้หายจากโรคได้ คือ การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก เพื่อช่วยลดแคลเซียมในร่างกาย ทั้งนี้ก็เพราะว่า ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย มักจะมีแคลเซียมในกระดูกสูงกว่าคนทั่วไป จนทำให้ตับแข็งและหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ ยังทำให้เป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ : อาการเส้นเลือดขอดช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่มีความเสี่ยงและอันตรายหรือไม่?

 

 

ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ 2

 

เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านระหว่างการรักษา ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผัก ผลไม้ นมถั่วเหลือง และไข่ ไม่ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างเลือด ตับ เครื่องใน นอกจากนี้ ควรงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

 

เมื่อทราบถึงความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมียและความเสี่ยงต่าง ๆ แล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดก่อนที่จะมีลูก เพื่อดูว่าตัวเองและสามี เป็นพาหะของโรคนี้หรือไม่ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์ก็จะได้ให้คำปรึกษา ว่าควรมีลูกหรือไม่ หรือมีวิธีใดที่ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกที่เกิดมาติดโรคได้หรือไม่นั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องมีเซ็กส์ได้ถึงกี่เดือน คนท้องเสร็จได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ตอนท้องแล้วเลือดออก ท่าเซ็กส์คนท้อง

คนท้องไม่สบาย โรคที่อันตรายกับคนท้อง คนท้องป่วยบ่อย ไม่สบาย อันตรายกับลูกในท้องไหม

ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อลูกในท้องไหม

ที่มา : rtcog , bccgroup , thairath

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!