12 อาหารที่แม่ลูกอ่อนห้ามกินอะไร ให้นมลูกห้ามกินอะไร เมนูไหนเป็นอาหารต้องห้าม
แม่ลูกอ่อนห้ามกินอะไร ให้นมลูกห้ามกินอะไร
การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์นั้น มีความสำคัญต่อคุณแม่ลูกอ่อนในช่วงให้นมลูกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอาหารที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มน้ำนมให้ไหลมาเทมา แต่อาหารบางอย่างก็จัดอยู่ในประเภทที่แม่ลูกอ่อนควรหลีกเลี่ยง แล้วสรุปว่า แม่ลูกอ่อนห้ามกินอะไร ให้นมลูกห้ามกินอะไร กันแน่ !
1. อาหารประเภทรสจัด
อาหารประเภทรสจัดเป็นอาหารที่คุณแม่ที่ให้นมลูกน้อยควรหลีกเลี่ยงมาก ๆ เพราะจะทำให้คุณแม่นั้นเกิดกรดหรือแก๊สทำให้รู้สึกไม่สบาย และจะทำการส่งผลให้ลูกน้อยที่กินนมแม่นั้นรู้สึกเกิดการไม่สบายไปด้วย อีกทั้งกลิ่นจากเครื่องเทศที่มาพร้อมกับความเผ็ด จะทำให้น้ำมนที่ลูกน้อยกินนั้นมีกลิ่นและรสชาติที่เปลี่ยนไป ทำให้ลูกน้อยไม่อยากที่จะดื่มนมแม่อีกได้
2. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต เป็นเครื่องดื่มที่คุณแม่นั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง หรืองดไปก่อนในช่วงที่ให้นมลูกน้อย เนื่องจากลูกน้อยจะได้รับสารจากเครื่องดื่มเหล่านี้จากการที่ดูดนมคุณแม่เหมือนกัน ซึ่งจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายของลูกหากลูกน้อยได้รับการสะสมภายในร่างกายในปริมาณที่มากจะทำให้ลูกนอนไม่หลับ แล้วคุณแม่ต้องเหนื่อยกล่อมให้เบบี๋นอนหลับมากขึ้นได้น่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 กาแฟกระป๋อง รสชาติดีพร้อมดื่ม หาซื้อง่ายไม่เสียเวลา
3. อาหารหมักดองทุกชนิด
อาหารหมักอาหารดอง เป็นอาหารที่คุณแม่ให้นมหลาย ๆ คนควรที่จะงด เพราะจะทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องเสียได้ และควรกินผลไม้สดที่ให้วิตามินได้ครบถ้วนดีกว่า
4. แอลกอฮอล์หรือยาดอง
แอลกอฮอล์ หรือยาดอง เป็นเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสมกีบคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่แล้ว และยังไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูกอีกด้วย เพราะส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ ซึ่งช่วงที่คุณให้นมลูกน้อยควรที่จะดื่มน้ำเปล่าอุ่น ๆ จะดีกว่า และต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ ถึงจะดีที่สุดต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยที่กำลังดื่มนมนั้นเอง
5. ดอกกะหล่ำ หรือผักสด
แม่ลูกอ่อนหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าดอกกะหล่ำหรือผักสดเหล่านี้เป็นผักที่มีแก๊สอยู่มาก เมื่อคุณแม่รับประทานผักสดหรือดอกกะหล่ำเข้าไปแล้ว แล้วต้องให้นมลูกน้อยต่อก็อาจจะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการปวดท้องได้ เพราะผักเหล่านี้จะทำการเปลี่ยนเป็นแก๊สและเข้าไปสะสมอยูในกระเพาะของลูกน้อยนั้นเอง
6. อาหารค้างคืน
อาหารค้างคืนเป็นอาหารที่คุณแม่ที่ให้นมลูกน้อยไม่ควรที่จะกิน แต่ถ้าหากว่าจำเป็นที่จะต้องรับประทานจริง ๆ คุณแม่ควรที่จะต้องตรวจดูว่าอาหารนั้นบูดหรือยัง และควรที่จะนำมาอุ่นก่อนทุกครั้งที่จะรับประทาน แต่ทางที่ดีคุณแม่ที่ให้นมลูกควรที่จะเลือกอาหารที่ได้ผ่านการปรุงสุกใหม่ ๆ จะดีที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยนะคะ
7. อาหารดิบ
ใครที่ชอบอาหารญี่ปุ่นอย่างชาซิมิ หรือสเต๊กแบบมีเดียม ควรที่จะพักไว้ก่อนนะคะ เพราะในช่วงที่คุณแม่ลูกอ่อนให้นมลูกน้อยอาจมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียและสารตะกั่วได้ และอาจจะสงผลเสียต่อลูกน้อยได้เช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ควรที่จะพักอาหารดิบเอาไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ เมื่อลูกน้อยเลิกนมคุณแม่แล้วก็สามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่เลยค่ะ
8. ยาบางชนิด
ยาบางตัวจะส่งผลผ่านทางน้ำนมสู่ลูกที่กินนมแม่ได้ ดังนั้น หากคุณแม่จำเป็นต้องรับประทานยาควรปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คว่าสามารถทานได้ไหม หรือมียาตัวไหนใกล้เคียงที่สามารถทานได้และไม่กระทบต่อการให้นมลูก
9. ผลิตภัณฑ์จากนมวัว
ในช่วงที่แม่ลูกอ่อนให้ลูกกินนมแม่นั้นควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด เช่น นม โยเกิร์ต ชีส ฯลฯ เพราะสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้สามารถแทรกซึมเข้าไปในน้ำนม ส่งผลทำให้เด็กบางคนอาจจะมีอาการแพ้นมวัวได้ ในขณะที่ให้นมลูกนั้นคุณแม่ควรสังเกตลูกด้วยว่ามีอาการแพ้นมวัวหรือไม่ เช่น การอาเจียน นอนไม่หลับ ผื่นแดง เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารคลีน สำหรับคนท้อง 20 เมนูอาหารคลีนคนท้องกินได้
10. ปลาบางชนิดที่มีสารปรอทปนเปื้อนเยอะ
เมื่อคุณแม่ได้รับประทานปลาบางชนิดที่มีสารปรอทปนเปื้อนเยอะ อาจจะทำให้สารปรอทในปลานั้นแทรกซึมเข้าไปในน้ำนมของคุณแม่ได้ ซึ่งปลาที่มีสารปรอทเยอะได้แก่ ปลาอินทรีย์ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลากระโทง เป็นต้น ทั้งนี้ องค์กร FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ยังได้ให้คำแนะนำมาอีกว่า แม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกอยู่นั้นสามารถรับประทานปลาได้อย่างน้อย 2 มื้อต่ออาทิตย์ แต่ควรที่จะเลือกรับประทานปลาหรืออาหารทะเทชนิดอื่น ๆ ที่มีสารปรอทจือปนน้อยด้วย เช่น กุ้ง แซลม่อน หรือปลาดุก เป็นต้น
11. ผักชี
ถ้าเป็นของโปรดของคุณแม่คนไหนควรเลี่ยงไว้ก่อน เพราะผักชีจัดเป็นอาหารต้องห้ามของแม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกเลย เนื่องจากผักชีเป็นเครื่องเทศที่ทำให้ปริมาณน้ำนมของคุณแม่นั้นลดลงได้หากทานในปริมาณมากหรือสูง แต่ก็สามารถทานได้นิด ๆ หน่อยถ้าเป็นผักชีที่ตกแต่งมาบนจานอาหาร
12. ของหวาน
มีแม่ให้นมบางคนชื่นชอบทานของหวานมาก ๆ บางไหมคะ ซึ่งของหวานจะส่งให้น้ำหนักตัวของคุณแม่นั้นลดลงได้ช้าลง เพราะขนมนั้นเต็มไปด้วยแป้งและน้ำตาล อีกทั้งยังอาจจะส่งผลให้ลูกมีอาการแพ้โปรตีนแปลกปลอม ซึ่งมันจะอยู่ในส่วนผสมของเบเกอรี่อย่างเช่น นมวัว ไข่ และแป้งสาลี ถ้าคุณแม่อยากทาน แนะนำให้ทานนิดหน่อยพอหายอยากจะดีกว่านะคะ
วิธีทำให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอและมีคุณค่าสูงสุด
- ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะดีที่สุด
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวัน 10 – 12 แก้ว
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายโดยการทำงานไม่หนักจนเกินไป เช่น ทำงานบ้าน
- ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด และปราศจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารหมักดองต่างๆ
- ควรงดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม
- ถ้ามีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
ถึงแม้ว่าหนึ่งในอาหารเหล่านี้จะเป็นเมนูโปรดของคุณแม่ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน เพราะการให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ผ่านน้ำนม จะส่งผลดีต่อสุขภาพและการพัฒนาสมองของลูกเป็นอย่างมาก อดใจไว้ซักนิดในระยะให้นมนะคะ
ที่มา : pormae.com รูป: mkunigroup , nonthavej
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
อาหารสำหรับแม่ลูกอ่อนในระยะให้นมลูก
ห้ามพลาด !! 5 สารอาหารที่สำคัญกับร่างกายแม่ช่วงให้นมลูก
แม่ให้นมต้องรู้ “กรดไขมันโอเมก้า 3” สำคัญมากกว่าที่คิด