วิธีเล่นกับลูกในท้อง ยิ่งเล่น ลูกยิ่งฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์นะจ๊ะ

undefined

การเล่นกับลูกในท้องนั้น นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวแล้ว ยังช่วยในเรื่องพัฒนาการต่างๆของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย เรามีวิธีเล่นกับลูกในท้อง ที่คุณแม่สามารถทำตามได้อย่างไม่ยาก อีกทั้งยังสนุก และช่วยลดความเครียดของแม่ท้องได้ มาฝากกันครับ

วิธีเล่นกับลูกในท้อง ยิ่งเล่น ลูกยิ่งฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์นะจ๊ะ

มีข้อสังเกตว่า ทารกที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาแล้วจะเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี ฉลาด หัวไว เรามาดูกันว่า วิธีเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการแบบง่ายๆ มีอะไรบ้าง

วิธีเล่นกับลูกในท้อง

 

#1. คุยกับลูกในท้อง

ทราบหรือไม่ครับว่า ทารกสามารถได้ยินเสียงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งระบบการได้ยินของลูก จะเริ่มพัฒนาเมื่ออายุครรภ์ได้ 24 – 26 สัปดาห์ขึ้นไป โดยลูกน้อยจะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจ และเสียงของคุณแม่ และเริ่มจดจำเสียงของคุณแม่ได้ เพราะฉะนั้น การคุยกับลูกตั้งแต่ที่เค้ายังอยู่ในท้องจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย

หากตั้งชื่อลูกไว้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเริ่มเรียกชื่อลูก หรือหากยังไม่ได้ตั้งชื่อ ก็อาจจะเรียกเค้าว่า เจ้าตัวเล็ก หรือเบบี๋ก็ได้ พูดกับลูกว่าคุณกำลังทำอะไร อยากโชว์อะไรให้ลูกรู้ก็พูดได้เลยครับ และเมื่อลูกเกิดมา ลูกก็จะจำเสียงของคุณแม่ได้ และรู้สึกถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่น ที่เกิดจากการพูดคุย อีกทั้งยังจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยิน และช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกได้อีกด้วย แต่อย่าไปเล่า หรือพูดเรื่องเครียดๆอย่างเช่น ไม่มีเงิน หรือถูกหวยกินให้ลูกฟังนะครับ เดี๋ยวลูกจะพลอยเครียดตามไปด้วย

#2. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ตั้งแต่เค้ายังอยู่ในท้อง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกในท้อง คุณแม่อาจจะอ่านหนังสือนิทาน พร้อมทำท่า หรือใช้นิ้วทำท่าปูไต่ หรือใช้นิ้วทำท่าคนเดินบนหน้าท้องเพื่อเล่นกับลูก โดยอาจจะอ่านออกเสียงให้ลูกได้ยิน เพื่อที่เค้าจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆไปในตัว

วิธีเล่นกับลูกในท้อง

#3. เปิดเพลงฟัง ฮัมเพลงไปกับลูก

ลองเปิดเพลงเบาๆ แล้วร้องเพลง หรือฮัมเพลงคลอไปกับเสียงเพลง หรือคุณแม่อาจจะนั่งลงพร้อมใส่หูฟังที่ท้อง และเปิดเพลงให้ลูกฟัง ซึ่งเพลงที่เปิดนั้นไม่ใช่แค่เพียงเพลงกล่อมเด็ก หรือเพลงคลาสสิคเท่านั้น แต่คุณแม่สามารถเปิดเพลงปกติที่คุณแม่ชอบฟัง เพื่อให้ลูกได้ฟังไปด้วยก็ได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพลงป๊อป เพลงลูกทุ่ง หรือเพลงสากลก็ได้ และคุณแม่ก็อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นตามจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน แถมยังช่วยคลายเครียดให้กับแม่ท้องได้อีกด้วย

#4. เล่นกับลูกด้วยการลูบท้อง

ในช่วงใกล้คลอดนั้น แม่ท้องมักจะชอบลูบคลำท้องเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการลูบท้องนั้น จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของทารกในครรภ์ ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในเวลาที่คุณพ่อ หรือคุณแม่ ลูบหรือสัมผัสทารกในครรภ์ผ่านทางหน้าท้องนั้น ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก และบางครั้งแม่ท้องอาจจะรู้สึกได้ว่า ลูกน้อยเคลื่อนไหวโต้ตอบ หรือลูกมีการขยับตัวไปตามมือที่ลูบท้อง หรืออาจจะรู้สึกว่าลูกเตะขาเพื่อโต้ตอบ เหมือนลูกกำลังเล่นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่

นอกจากนั้นแล้ว การลูบหน้าท้อง ยังเป็นการส่งผ่านความรู้สึกไปยังลูกในท้อง ซึ่งวิธีการลูบท้องนั้น อาจจะลูบเป็นวงกลม จากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้นะครับ ที่สำคัญ อย่าลืมใช้หัวใจและความรู้สึกส่งผ่านมือตอนที่ลูบไปด้วยนะครับ

วิธีเล่นกับลูกในท้อง

#5. เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกโดยใช้ไฟฉาย

นี่คือเกมที่อาจจะสนุกที่สุด ที่คุณแม่สามารถเล่นกับลูกในท้องได้! โดยคุณแม่อาจจะใช้ไฟฉาย ส่องไฟลงไปบริเวณหน้าท้อง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น โดยการเล่นแบบนี้จะยิ่งได้ผลดีเมื่อลูกเริ่มดิ้นในท้อง แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเล็งให้แสงเข้าตรงกับลูกตาของลูกนะครับ เพียงแค่ส่องให้ลูกรู้ว่ามีแสงส่องเข้ามาก็พอแล้ว

เวลาที่เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกโดยใช้ไฟฉาย หลายครั้งลูกจะเคลื่อนไหวตามแสงไฟ หากลูกน้อยมีการตอบสนอง เช่น เตะ หรือดิ้น นั่นก็หมายความว่าเค้าสามารถรับรู้ได้ และเกิดการตอบสนองนั่นเองครับ

สำหรับไฟฉายนั้น ควรเป็นแบบ 2 ท่อน หรือ 3 ท่อน หลอดธรรมดา ห้ามใช้แบบหลอดแรงสูงเด็ดขาด เพราะแสงที่จ้าเกินไป แทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับจะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาของทารกได้

วิธีเล่นกับลูกในท้องดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะช่วยในเรื่องพัฒนาการต่างๆของทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์แล้ว ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกในท้องได้อีกด้วยนะครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก disneybaby.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

6 นิสัยคุณแม่ก่อนคลอด ที่ทำให้ลูกเกิดมาฉลาด

วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยแม่ท้องสบายก่อนเบ่งเจ้าตัวน้อย

ควรจะคลอดสัปดาห์ที่เท่าไรเด็กจึงจะแข็งแรงเต็มที่ แล้วมีวิธีคำนวณวันคลอดอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!