ภรรยาท้อง สามีห้ามทำอะไรบ้าง ชวนคุณพ่อมือใหม่ มาเอาใจคุณแม่ท้องกัน!
ตลอดช่วงที่คุณแม่ตั้งท้อง ภรรยาท้อง สามีห้ามทำอะไรบ้าง เรื่องไหนที่ควรทำ เรื่องไหนที่ไม่ควรทำบ้าง? เรามาดูกันเลย
คุณพ่อมือใหม่ยกมือขึ้น! เราจะมาชวนคุณพ่อดูแลคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ มาเรียนรู้หลากหลายเรื่องราวที่ต้องรับมือตลอดช่วงที่คุณแม่ตั้งท้อง ภรรยาท้อง สามีห้ามทำอะไรบ้าง เรื่องไหนที่ควรทำ เรื่องไหนที่ไม่ควรทำบ้าง? เรามาดูกันเลย
ภรรยาท้อง สามีห้ามทำอะไรบ้าง!
ตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้น สามีที่ดีไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้
- พูดจาบั่นทอนจิตใจ คำพูดธรรมดา บางครั้งอาจทำให้คุณแม่ที่มีอารมณ์อ่อนไหวจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปช่วงตั้งครรภ์นั้น การพูดแบบนี้อาจทำให้ภรรยารู้สึกไม่มั่นคงทางอารมณ์
- ปล่อยให้คุณแม่ไปฝากครรภ์คนเดียว การฝากครรภ์ครั้งแรกนั้นคุณพ่อจำเป็นต้องไปด้วย เพราะต้องตรวจเลือดฝั่งพ่อด้วย เพื่อหาโรคที่แฝงในพันธุกรรม หลังจากนั้น ก็ควรไปเป็นเพื่อนคุณแม่เพื่อตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ ไปเป็นกำลังใจและหากเกิดความผิดปกติ คุณแม่จะได้มีเพื่อนคู่คิดช่วยตัดสินใจ
- ปล่อยปละละเลยงานบ้าน คุณพ่อควรช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน หรือการดูแลบ้านบ้าง เพราะคุณแม่ท้องอาจทำงานบางอย่างไม่ไหว
- ไม่ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน ถึงแม้ว่าคุณแม่จะอยากกินอะไรมากมาย และบางอย่างก็อาจจะแปลกสักหน่อย คุณพ่อก็ควรช่วยเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ และเตือนให้คุณแม่กินวิตามินหรืออาหารเสริมสำหรับคนท้องด้วย
- ไม่ควบคุมอารมณ์ตนเอง โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการกำลังใจและการสนับสนุนอย่างมาก
บทความที่เกี่ยวข้อง : งานบ้านที่ควรเลี่ยงขณะตั้งครรภ์ เพราะบางอย่าง อาจส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องได้
คุณพ่อมือใหม่ เตรียมตัวอย่างไร
ในการเป็นคุณพ่อมือใหม่ คุณพ่อควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อดูแลคุณแม่ในการเตรียมคลอด และการดูแลลูกน้อย นี่คือเช็คลิสต์สำหรับคุณพ่อ
- เตรียมหาข้อมูลต่างๆ ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลต่างๆ จากเว็บไซต์แม่และเด็ก หรือจากหนังสือ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวถูกหากคุณแม่กำลังประสบกับอาการระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น การรับมือกับอาการแพ้ท้อง การทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้ทำให้เข้าใจคุณแม่ได้มากขึ้น
- เตรียมรักษาสุขภาพให้ดี หากคุณพ่อยังสูบบุหรี่ ก็ควรเลิกได้แล้ว เพราะควันบุหรี่มือสองนั้นร้ายกว่าที่คิด
- ให้เวลาให้เพียงพอ ให้เวลากันและกันให้มากที่สุด เพราะลูกน้อยคลอดมา จะเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้เวลาลูกอย่างเต็มที่แล้ว
- จัดการเรื่องบ้านและรถยนต์ เป็นสิ่งที่คุณพ่อทำได้เลย เช่น จัดบ้านให้พร้อมสำหรับเจ้าตัวเล็ก มุมวางเปล เตียง หรือห้องเด็ก รวมถึงปรับปรุงพื้นที่ในบ้านให้เหมาะกับสมาชิกใหม่กันด้วย หรือเรื่องของคาร์ซีทที่ต้องติดตั้งในรถยนต์
- ศึกษาเรื่องการเลี้ยงดูลูก เพราะการเลี้ยงดูลูกน้อยไม่ใช่เรื่องของคุณแม่คนเดียว คุณพ่อก็จำเป็นเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วย เพื่อสลับกันให้คุณแม่ได้พักผ่อน เรื่องที่ควรเรียนรู้ เช่น ให้อาหารทารก เรียนรู้วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อม ลองหานิทานสำหรับเด็ก เพื่อเอาไว้อ่านให้ลูกฟัง อาจจะเริ่มจากหนังสือเรื่องที่คุณพ่อชอบตอนเด็กๆ ก็ได้
คุณพ่อดูแลดี คุณแม่แฮปปี้ตลอด 9 เดือนไม่ใช่เรื่องยาก
-
เดือนที่ 1 เดือนนี้ต้องปรับตัว
คุณพ่อสามารถช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย ให้คุณแม่พักผ่อนมากขึ้น จัดอาหารที่ชอบและให้ทานครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งเพื่อลดการคลื่นไส้ บางคนอาจจะแพ้กลิ่นคุณพ่อ ก็ขอให้ทำใจ เพราะอาจจะเป็นเรื่องของฮอร์โมนทำให้การรับกลิ่นของคุณแม่เปลี่ยนไป
ไปฝากครรภ์พร้อมกัน ยิ่งเฉพาะคุณแม่ท้องแรก การได้มีคุณพ่อยู่ข้างๆ เมื่อไปฝากครรภ์และเห็นเจ้าตัวเล็กผ่านการอัลตราซาวด์ไปพร้อมกัน จะทำให้คุณแม่อบอุ่นมาก คุณพ่อจึงควรไปกับคุณแม่ทุกครั้งไม่เฉพาะครั้งแรกที่คุณพ่อต้องไปตรวจเลือดเท่านั้น
-
เดือนที่ 2 คุณแม่แพ้ท้องหนัก
ช่วยทำงานบ้านบ้าง เพราะช่วงเดือนที่ 2 คุณแม่อาจจะแพ้ท้องมาก จนไม่มีแรงทำงานบ้าน คุณพ่อก็ควรรับหน้าที่พ่อบ้าน ทำความสะอาด เตรียมอาหารง่ายๆ
-
เดือนที่ 3 หงุดหงิดง่าย ปวดตัวไปหมด
ช่วงนี้คุณแม่อาจจะอารมณ์เสียง่าย ขี้ร้อนผิดปกติและปวดเมื่อยเนื้อตัวบ่อย คุณพ่ออาจจะช่วยนวดเบาๆ และพาคุณแม่ออกกำลังกายง่ายๆ ให้ได้ขยับตัวเพื่อลดอาการท้องผูกด้วย
-
เดือนที่ 4 ไม่แพ้ท้องแล้ว หิวตลอดเวลา
ช่วงนี้คุณแม่เริ่มท้องโตขึ้นจนเห็นได้ชัด จะปัสสาวะบ่อยและคัดเต้านม คุณพ่อต้องระวังเรื่องอาหาร ให้คุณแม่ทานเพิ่มขึ้นได้ แต่ต้องมีประโยชน์และครบ 5 หมู่ รวมถึงวิตามินเสริมด้วย ลองเรียนนวดขาและหลังง่ายๆ ช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้ดีเลย
-
เดือนที่ 5 น้ำหนักเพิ่มขึ้นแล้ว
ช่วงนี้อยากให้พาคุณแม่ไปเที่ยวพักผ่อนบ้าง เป็นสถานที่ธรรมชาติ แต่เดินทางง่าย ไม่ต้องปีนป่ายจะดีมาก ระหว่างทางลองเปิดเพลงให้ลูกในท้องฟังด้วย คุณพ่ออย่าลืมลูบท้องและคุณกับลูกน้อยด้วยนะ
-
เดือนที่ 6 รูปร่างที่เปลี่ยนไป
ลองพาคุณแม่ไปเข้ากลุ่มคุณแม่ด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราว ลดความกังวลเรื่องการเจ็บท้องคลอด จัดการเรื่องการนอนและช่วยให้คุณแม่ออกกำลังกายเบาๆ
-
เดือนที่ 7 เตรียมตัวฝึกคลอด
ต้องเริ่มให้คุณแม่เข้านอนแต่หัวค่ำ พักผ่อนให้เพียงพอ คุณพ่อต้องเตือนให้คุณแม่นับลูกดิ้นด้วย และนวดให้คุณแม่หน่อย เท่านี้ก็ได้ผ่อนคลายแล้ว
-
เดือนที่ 8 ปวดฉี่บ่อยจัง
คุณพ่อต้องทำงานบ้านแบบเต็มตัวแล้ว เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนมากขึ้น และลดความเสี่ยงอุบัติเหตุลื่นล้ม เสร็จแล้วก็วางแผนพาคุณแม่ไปพักผ่อนบ้าง เจ้าตัวเล็กก็จะได้อารมณ์ดีไปด้วย
-
เดือนที่ 9 เราจะเจอกันแล้ว
คุณพ่อต้องช่วยจัดกระเป๋าเตรียมคลอดได้แล้ว เดือนนี้ต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา เคลียร์ตัวเองให้ว่าง พร้อมไปส่งคุณแม่และอยู่ให้กำลังใจในวันคลอด
เท่านี้ก็เตรียมพร้อมเป็นคุณพ่อมือใหม่ ที่ได้ใจคุณแม่ และเตรียมรับอีกหนึ่งชีวิตที่กำลังจะมาเป็นสมาชิกใหม่ในอีกไม่นานกันได้เลย
ที่มา : โรงพยาบาลสมิติเวช , HelloKhunmor , UNFPA
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อยากกินแต่สงสัย! คนท้องกินน้ำมะพร้าว ดีหรือไม่? ท้องอ่อนกินน้ำมะพร้าวได้ไหม
คนท้องกินอะไรลูกฉลาด อาหารเสริมสมองลูก ที่แม่ตั้งครรภ์ห้ามพลาด !
14 ข้อห้ามคนท้อง พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง ของแม่ตั้งครรภ์ ห้ามทำแบบนี้