จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ
เรื่องที่คนเป็นแม่ครั้งแรกมักมีความวิตกกังวล สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกดูดนมจากเต้า เรา จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม เพราะไม่มีมาตรวัดเหมือนปริมาณข้างขวด เจ้าตัวน้อยที่ดูดนมแม่อยู่ในขณะนี้จะกินนมพอหรือเปล่านะ
จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ
ปัญหาน่ากังวลของแม่ให้นม คือมักจะกลัวว่า นมของแม่ อาจจะไม่พอต่อลูกน้อย ให้ลูกดูดเต้าไปเรื่อย ๆ จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม และเพื่อให้ใจว่า น้ำนมยังมีหรือเปล่า ก็มักจะลองบีบเต้านมดู ปรากฎว่าก็มีน้ำนมไหลออกมานะ แต่จะบอกได้อย่างไรว่า ลูกน้อยได้รับนมแม่อย่างเพียงพอหรือเปล่า ? นี่คือสัญญาน ที่คุณแม่จะสังเกตได้ว่า “ลูกอิ่ม”
#1 หลังจากทารกกินนมแม่แล้วจะรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
หากคลายปากลูกออกจากเต้า แต่เจ้าตัวน้อยยังคงหงุดหงิดหรือร้องไห้ แสดงว่าอาจจะยังหิวอยู่ แต่นั้นก็อาจมีสาเหตุอื่นอีกด้วย เช่น ลูกน้อยไม่ยอมเรอ ทำให้มีอาการปวดท้อง หรือจะเป็นเพราะว่า ท่าให้นม ของคุณแม่นั้นยังไม่ถูกท่า ในขณะที่ให้นม คุณแม่ลองจัดท่าให้นั่งหลังตรง ตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง หาหมอนเล็ก ๆ ไว้หลายใบเพื่อรองหลัง รองแขนหรือวางบนตักรองรับตัวลูก ช่วยหนุนลูกให้สูงขึ้นมาถึงบริเวณเต้านม เมื่อหัวของตัวลูกเข้าหาแม่ ปากลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี ถ้าคุณแม่ถนัดให้นมอย่างถูกท่า ก็จะช่วยให้ลูกน้อยได้ดูดนมอย่างเต็มที่ ภายหลังกินนมอิ่ม ลูกก็จะอารมณ์ดี ดูมีความสุข และนอนหลับได้นานประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง
#2 เต้านมจะนิ่มลงหลังให้นม
ให้คุณแม่สังเกตเต้านมก่อน และหลังจากการให้นม เต้านมจะตึงคัดและนิ่มลง หลังลูกดูดนมไปแล้ว คุณแม่จะรู้สึกว่าเต้านมโล่งและเบาขึ้น
#3 ลูกจะฉี่อย่างน้อยวันละ 5 – 6 ครั้ง
สำหรับลูกที่กินนมมาโดยตลอด อาจ ไม่มีการถ่าย ได้หลายวันหรือบางรายนาน 2 – 3 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าปกติ ดังนั้นผ้าอ้อมที่เลอะอึ อาจไม่ได้เป็นหลักฐานว่า ลูกอิ่มเสมอไป แต่ถ้าคุณแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม จากการปัสสาวะของลูกวันละ 5 – 6 ครั้งขึ้นไป แปลว่าลูกน้อยได้กินนมอย่างเพียงพอค่ะ
#4 ได้ยินเสียงกลืนนม
ถ้าได้ยินเสียงลูกกลืนนมในขณะที่ดูดนม แสดงว่าลูกกินนมได้ดี และถ้าลูกคายหัวนมออกมาแล้ว แสดงว่า ลูกกินอิ่ม
นอกจากนี้ คุณแม่อาจดูว่าลูกกินนมอิ่ม ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอหรือไม่นั้น จากน้ำหนักตามเกณฑ์ ที่ควรเพิ่มขึ้นวันละ 30 กรัม / วัน และการที่ลูกร้องไห้งอแงบ่อย ๆ ก็อาจไม่ได้หมายความว่า ลูกจะหิวหรือกินนมไม่พอ แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ ทารกร้องไห้ ได้ เช่น ไม่สบายตัว อาจจะรู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป ง่วงนอน หรือต้องการความอบอุ่นจากคุณแม่ เป็นต้น ดังนั้นแม้เรื่องการ เอาลูกเข้าเต้า นั้นเป็นสิ่งที่ใหม่และยากสำหรับแม่มือใหม่ แต่มันก็เป็นสิ่งใหม่ และซับซ้อนสำหรับเจ้าตัวน้อยด้วยเช่นกัน ขอให้คุณแม่อย่าเพิ่งกังวล มุ่งมั่นตั้งใจในการให้นมลูกได้ดูด นมแม่ เพื่อเป็นการกระตุ้นนมแม่ให้มีไหลเพิ่มมากขึ้น เพราะธรรมชาตินั้น สร้างให้คุณแม่ทุกคนมีน้ำนม เพื่อป้อนให้ทารกตั้งแต่แรกเกิดอยู่แล้ว
แต่ถ้าคุณแม่ยังกังวลใจ ว่าลูกกินนมได้ไม่เพียงพอ หรือไม่เป็นไปตามสัญญาณข้างต้น สามารถไปปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับในการให้นม จากกุมารแพทย์ดูนะคะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
credit content : www.swaddlesnbottles.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
“หน้าอกขยาย” เลือกชุดชั้นใน ให้เหมาะสำหรับคนท้อง ในแต่ละไตรมาส อย่างไรให้พอดี
ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่า ลูกในท้องโตช้า
คลายกังวล WHO เผยที่ตรวจเจอ ไวรัสในนมแม่ เป็นแค่ชิ้นส่วนไวรัส ความเสี่ยงติดโควิดต่ำ
ฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด 19 เสริมภูมิคุ้มกัน แต่คนท้อง และแม่ให้นมบุตร ห้ามกิน!