เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

undefined

เจ็บเต้านม เรียกได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ของผู้หญิงเลยก็ว่าได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บเต้านม หรือคัดเต้านมนั้นก็มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีบรรเทาอาการเจ็บเต้านมในแบบฮับง่าย ๆ ที่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

สาเหตุของอาการเจ็บเต้านม

การเจ็บเต้านม หรือคัดเต้านม จะมีลักษณะอาการเจ็บปวดตุบ ๆ เจ็บแปลบ รู้สึกแน่น ๆ หรือแสบร้อนที่หน้าอก และสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นก็เกิดจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อาการเจ็บเต้านมตอนมีประจำเดือน, ภาวะเต้านมอักเสบ หรือภาวะคัดเต้านมหลังคลอด เป็นต้น

 

เจ็บหน้าอกหลังคลอด

มักเป็นอาการปวดทั้ง 2 ข้าง เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่มาก แต่ไม่สามารถระบายออก หรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อนผิวแดงเป็นมัน เจ็บ บริเวณลานเต้านมตึงแข็ง น้ำนมไหลไม่ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจ็บเต้านม ส่งสัญญาณอาการเต้านมอักเสบ

 

เจ็บเต้านม

 

อาการที่สังเกตได้ง่าย ๆ 

  • บวม มีน้ำนมเยอะ
  • เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เต้านมแข็งตึง เจ็บ และร้อนมากขึ้น
  • ลานหัวนมตึงแข็ง น้ำนมไหลไม่ดี
  • หัวนมหดสั้นลง ลูกดูดไม่ได้
  • อาจจะมีไข้แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • อาการเต้านมคัดมักจะเป็นทั้ง 2 ข้าง
  • ถ้ามีน้ำนมค้างในเต้านมนาน จะทำให้น้ำนมหยุดไหลชั่วคราว

 

สาเหตุการเจ็บหน้าอกหลังคลอด

  • ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน
  • ทิ้งช่วงในการให้นมลูกนานเกินไป ทำให้มีน้ำนมสะสมในเต้ามาก
  • ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้ระบายไม่ดีเท่าที่ควร
  • ให้นมลูกผ่านขวดนมมากกว่าการให้ลูกดูเต้า
  • ลูกมีแรงดูดน้อย ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้เต็มที่
  • คุณแม่มีความเครียด อ่อนเพลีย หรือมีภาวะโลหิตจาง
  • หัวนมเป็นแผล

 

หัวนมไม่แตกแต่เจ็บแก้อย่างไร

กรณีคุณแม่เจ็บหัวนมมาก ให้ลูกงดดูดนมแม่สัก 1-2 วัน และบีบน้ำนมทาบริเวณแผลแม่สามารถรับประทานยาบรรเทาปวด พาราเซตามอลได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง ครั้งละ 2 เม็ด ระหว่างงดดูดนม ให้บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง และป้อนนมด้วยถ้วย หรือช้อนไปก่อน ไม่ควรให้ลูกดูดจากขวดนม เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสับสนและติดการดูดจุกนมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : หัวนมแตกป้องกันได้ ครีมทาหัวนมแตก ครีมทาแก้หัวนมแตก

 

วิธีลดอาการปวดหัวนม 

  • ลดการดูดลง 

ควรให้ลูกลดการดูดเต้าลงเมื่อมีอาการเจ็บที่เต้านม หรือพักการดูดข้างที่มีอาการเจ็บไปก่อน พออาการดีขึ้นแล้วค่อยให้ลูกดูดใหม่

 

เจ็บเต้านม

 

  • ให้ลูกดูดน้ำนมให้ไหล 

ถ้ามีอาการปวดเต้านม ส่วนใหญ่คุณแม่จะไม่อยากให้นมลูกมากนัก เพราะกลัวปวด แต่ถ้าลูกดูดจนน้ำนมของแม่ไหล อาการปวดจะบรรเทาลง ยิ่งน้ำนมไหลดี อาการปวดก็จะลดลง

 

  • กระตุ้นเต้านมก่อนให้นมลูก 

นวดคลึงก่อนให้นมลูก เพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดเต้านม ไม่ให้ปวดก่อนการให้นมลูก และเพื่อให้ระบบหมุนเวียนเลือดไหลดีขึ้น

 

  • ให้นมลูกบ่อย ๆ 

ควรให้ลูกดูดนมทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือให้มากกว่านั้นตามที่คุณแม่สะดวก การให้ลูกดูดนมจะช่วยลดอาการหย่อนยานของเต้านม ไม่ทำให้เต้านมคัดและเจ็บทรมาน

 

  • ไม่ปล่อยให้หัวนมแห้ง 

เมื่อลูกกินนมเสร็จไม่ต้องเช็ดให้แห้ง ควรมีน้ำนม1-2 หยด เพื่อให้หัวนมชุ่มชื่น เพื่อลดอาการแตกของหัวนม หรือแผลที่หัวนมค่ะ

 

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ลดความแห้งตึงของหัวนม 

เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดอาการแห้งตึง และต้องเช็ดออกทุกครั้งก่อนให้นมลูก

 

  • สวมเสื้อในสบาย ๆ 

สวมเนื้อในแบบผ้าฝ้าย เพื่อลดอาการเจ็บของหัวนม เลี่ยงการใส่ชุดชั้นในยกสูง เพราะจะทำให้เบียดแล้วกดทับกัน

 

  • ครอบหัวนมเวลาให้นมลูก 

คุณแม่ที่น้ำนมไหลดี ๆ สามารถใช้ที่ครอบนมได้ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะรำคาญ ไม่ถนัด แต่นาน ๆ ไปคุณแม่จะชินเองค่ะ

 

  • รับประทานยาแก้ปวด 

รับประทานยาแก้ปวดตามความจำเป็น เช่น พาราเซตามอล

 

ท่านวดเต้านมหลังคลอด

  • ท่าที่1 : บีบ-นวด ขยับไหล่ ให้คุณแม่นั่งหรือยืนในท่าสบาย ๆ ใช้มือทั้งสองข้างนวดบริเวณบ่า ขยับไหล่ให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • ท่าที่2 : โกยเต้านม นำฝ่ามือทาบบริเวณรักแร้ลงน้ำหนักลงที่ปลายนิ้ว ไล่จากรักแร้มาที่บริเวณลานนม นำฝ่ามือทั้งสองทาบบริเวณหน้าอกไล่ลงมาที่ลานนม และวางฝ่ามือวางที่กึ่งกลางระหว่างอกทั้งสองข้าง จากนั้นจดไล่มาถึงลานนม 
  • ท่าที่3 : ตบ ใช้ปลายนิ้วช้อนใต้เต้านม ตบไล่จากล่างขึ้นบน
  • ท่าที่4 : คลึง ใช้ปลายนิ้ว นวดวนเป็นวงกลม โดยรอบเต้านม หากพบก้อนตึง ๆ ให้ค่อย ๆ นวดคลึงเบา ๆ
  • ท่าที่5 : ยืด วางนิ้วชี้ของมือทั้งสองลงบนหน้าอก กดลงบนเต้านมพร้อม ๆ กับลากนิ้วทั้งสองออกจากกัน ทำเช่นนี้โดยรอบเต้านม
  • ท่าที่6 : รูด ใช้นิ้วโป้ง และ นิ้วชี้ของมือทั้งสอง โอบรอบเต้านมกดมือทั้งสองเข้าหากัน
  • ท่าที่7 : จิ้ม ใช้ปลายนิ้วชี้กด และ คลึงเบา ๆ ลงบนขอบลานนมโดยรอบ
  • ท่าที่8 : บีบ วางนิ้วโป้ง และ นิ้วชี้บนขอบลานนมให้หัวนมอยู่ตรงกลาง ใช้นิ้วทั้งสองกดเข้าหาลำตัว แล้วบีบนิ้วมือทั้งสองเข้าหากันเพื่อระบายน้ำนม

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีนวดกระตุ้นน้ำนม ไม่พอด้วยวิธีนี้ เทคนิคนวดเต้าสยบปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน

 

คัดและปวดมากจนแตะไม่ได้ควรทำอย่างไร ? 

  • แช่เต้าในกะละมังใส่น้ำที่อุ่นจัดพอทนได้
  • กระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยนวดเต้านมเบา ๆ
  • กระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยใช้หลังนิ้วลูบเบา ๆ ที่เต้านมจากรอบนอกมาทางลานนม
  • แช่เต้าในกะละมังอีกครั้งค่อย ๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับวิธีบรรเทาอาการเจ็บเต้านมที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อาการเจ็บเต้านม หรือคัดเต้านมหลังคลอดเรียกได้ว่าเป็นอาการที่พบได้เรื่อย ๆ สำหรับในช่วงหลังคลอด แต่ละคนก็จะมีอาการที่แตกต่างกันไป  ดังนั้น เราจึงควรที่จะรู้วิธีที่บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรงจะดีที่สุดนะคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

แม่ให้นมลูก ไม่ต้องซี๊ดซ๊าด หัวนมแตกป้องกันได้!

ที่มา : vichaiyut

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!